ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศยูเครน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'อนุรักษ์นิยม'→'อนุรักษนิยม'
บรรทัด 163:
 
== นโยบายต่างประเทศ ==
{{โครง-ส่วน}}
ยูเครนดำเนินนโยบายมุ่งสู่ตะวันตกมาโดยตลอด ในช่วงแรกหลังการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต โดยตั้งเป้าที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาของทวีปยุโรปและแยกตัวออกจากกรอบความสัมพันธ์กับรัสเซียและประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แต่ต่อมา ยูเครนได้ปรับทิศทางของนโยบายต่างประเทศให้สมดุลมากขึ้น โดยหันมาให้ความสำคัญกับรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) ด้วย ในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า นโยบายต่างประเทศของยูเครนอยู่บนพื้นฐานของการสร้างดุลยภาพระหว่างการบูรณาการกับตะวันตกและการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความผูกพันทางเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์การเมือง
 
เส้น 173 ⟶ 172:
 
===ความสัมพันธ์กับรัสเซีย ===
{{กล่องข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ|ยูเครน – รัสเซีย|ยูเครน|รัสเซีย|map=Ukraine Russia Locator.png}}
ช่วงแรก
ในช่วง 10 ปีแรก หลังการแยกตัวจากสหภาพโซเวียต ยูเครนดำเนินนโยบายมุ่งสู่ตะวันตก หันไปให้ความสำคัญกับสหรัฐ ฯ และประเทศตะวันตก และพยายามหลีกหนีอิทธิพลของรัสเซีย ในขณะที่รัสเซียก็ไม่สามารถยอมรับการเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ของยูเครนได้ เนื่องจากยูเครนหรือ Little Russia ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซียมาโดยตลอด พร้อมกันนี้ ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวยูเครนกับชาวรัสเซียที่อาศัยอยู่ในยูเครนได้ปะทุขึ้นภายหลังจากที่ยูเครนประกาศเอกราชจากรัสเซีย ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียกับยูเครนหลายครั้ง อาทิ การแย่งชิงแหลมไครเมีย และปัญหากรรมสิทธิกองเรือของรัสเซียในทะเลดำ เป็นต้น ทั้งนี้ ความพยายามลดการพึ่งพารัสเซียทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดได้แก่ การที่ยูเครนพยายามแสวงหาแหล่งน้ำมันและพลังงานจากแหล่งอื่นๆ นอกเหนือจากรัสเซีย เช่น อิหร่าน และดินแดนปกครองตนเองในรัสเซีย
บรรทัด 190:
 
=== ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มเครือรัฐเอกราช ===
{{โครง-ส่วน}}
ยูเครนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับโปแลนด์ และมีบทบาทสำคัญในกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) รองจากรัสเซีย รวมทั้งมีบทบาทนำในองค์กรในระดับอนุภูมิภาค อาทิ กลุ่ม GUUAM (Georgia-Ukraine-Uzbekistan-Azerbaijan-Moldova) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศ CIS ที่นิยมตะวันตกและสนับสนุนให้ CIS รวมตัวเฉพาะทางเศรษฐกิจเท่านั้น กลุ่ม Organization for Black Sea Economic Cooperation และอยู่ในกลุ่มความร่วมมือ Common Economic Space (CES) ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างรัสเซีย ยูเครน เบลารุส และคาซัคสถาน นอกจากนี้ ยูเครนยังมีแผนที่จะร่วมมือกับอาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย และมอลโดวา ในการสร้างท่อลำเลียงน้ำมันจากริมฝั่งทะเลสาบแคสเปียนโดยไม่ผ่านดินแดนของรัสเซียเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจและอิทธิพลรัสเซียในภูมิภาคนี้ เนื่องจากปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ผูกขาดการขนส่งน้ำมันจากทะเลสาบแคสเปียนไปยังตลาดตะวันตกแต่เพียงผู้เดียว
เส้น 199 ⟶ 200:
 
==== สหรัฐอเมริกา ====
{{กล่องข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ|ยูเครน – สหรัฐอเมริกา|ยูเครน|สหรัฐอเมริกา|map=Ukraine United States Locator.png}}
ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับสหรัฐอเมริกาดำเนินภายใต้โครงการความช่วยเหลือ Freedom for Russia and Emerging Eurasian Democracies and Open Markets Support Act ซึ่งผ่านการรับรองจากรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1992 โดยมียอดเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในบรรดาประเทศอดีตสหภาพโซเวียต ยูเครนได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากสหรัฐฯ มากที่สุด โดยในปี ค.ศ. 2000 ยูเครนได้รับเงินช่วยเหลือ 168 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากยอดรวม 216 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกำหนดที่จะให้ประเทศ CIS ทั้งหมด นอกจากนี้ ยูเครนยังได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐฯอีก จำนวน 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใต้โครงการ Western NIS Enterprise Fund ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือแก่วิสาหกิจเอกชนของยูเครน แต่ภายหลังที่มีข่าวเรื่องยูเครนขายอาวุธให้แก่อิรักแล้ว มีรายงานข่าวว่า ในปี ค.ศ. 2003 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ปฏิเสธการให้เงินช่วยเหลือจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่รัฐบาลยูเครน และจะโอนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่หน่วยงานหรือกลุ่มผู้รณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนในยูเครนแทน อย่างไรก็ดี ยูเครนได้ส่งทหารจำนวน 1,600 นาย เข้าไปร่วมกับกองกำลังของพันธมิตรในการฟื้นฟูบูรณะอิรัก เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2003 ซึ่งคาดว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความพยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับสหรัฐ อันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้ยูเครนได้เข้าเป็นสมาชิก NATO ได้ในอนาคต อนึ่ง ยูเครนเข้าร่วมใน OSCE ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 เป็นสมาชิกของ North Atlantic Cooperation Council และเป็นสมาชิก Partnership for Peace ในกรอบนาโต อย่างไรก็ดี นโยบายที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ของนาง Tymoshenko อาจถูกต่อต้านจากฝ่ายค้านและประชาชนจำนวนมากที่ให้การสนับสนุนพรรคฝ่ายค้าน