ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท 3"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bookkru007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Jay63 (คุย | ส่วนร่วม)
ใครมันแก้เอาอิหม่ายมาใส่วะ = =
บรรทัด 1:
{{Infobox VG
นายc and c red alert 3
| title = คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท 3
| image = [[ไฟล์:CnC-RA3-win-cover.jpg|256px|ปกเกมสำหรับรุ่นวินโดวส์]]
| developer = [[อีเอ ลอสแอนเจลิส]]
| publisher = [[อิเลคโทรนิค อาร์ต]]
| series = ''[[คอมมานด์ & คองเคอร์]]'' (หลัก)<br />''[[คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท ซีรีส์|เรดอเลิร์ท]]'' (ย่อย)
| engine = [[RNA engine|RNA]]<ref>{{cite web |url=http://www.cncgames.com/ra3_features.shtml
| title=Red Alert Den |publisher=Den Games Network |accessdate=2008-03-18 }}</ref>
| version = 1.12 (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552)
| released = '''วินโดวส์:'''<br>
{{vgrelease|NA=28 ตุลาคม พ.ศ. 2551<ref name="EAReleas">{{cite web|url=http://www.ea.com/redalert/news-detail.jsp?id=90|title=Command & Conquer: Red Alert 3 Goes Gold|date=October 14, 2008|publisher=Command & Conquer: Red Alert 3 official site|accessdate=2008-10-15}}</ref><ref>{{cite web|url=http://pc.ign.com/articles/919/919721p1.html|title=Red Alert 3 Goes Gold|last=Thang|first=Jimmy |date=October 14, 2008|publisher=[[IGN]]|accessdate=2008-10-15}}</ref>}}
{{vgrelease|EU=31 ตุลาคม พ.ศ. 2551<ref name="RA3relesdate-EuroG">{{cite web|url=http://www.eurogamer.net/article.php?article_id=255870|title=EA cements Red Alert 3 dates |last=Purchese|first=Rob|date=October 9, 2008|publisher=[[Eurogamer]]|accessdate=2008-10-29}}</ref><ref>{{cite web|url=http://palgn.com.au/article.php?id=13072|title=Updated Australian Release List|last=Capone|first=Anthony |date=October 24, 2008|publisher=[[PALGN]]|accessdate=2008-10-24}}</ref>}}
'''เอกซ์บอกซ์ 360:'''<br>
{{vgrelease|NA=11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551<ref name="EAReleas"/><ref>{{cite web|url=http://www.shacknews.com/onearticle.x/55323|title=Red Alert 3 PC Goes Gold, Arrives October 28; Xbox 360 Version Coming in November|last=Ellison|first=Blake |date=October 14, 2008|publisher=[[Shacknews]]|accessdate=2008-10-15}}</ref>|EU=[[14 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2551|2008]]<ref name="RA3relesdate-EuroG"/>}}
'''เพลย์สเตชัน 3''':<br>
{{vgrelease|EU=27 มีนาคมอ พ.ศ. 2552|NA=23 มีนาคม พ.ศ. 2552<ref name="ps3version" />}}
'''แมคโอเอส''':<br>
{{vgrelease|NA=มีนาคม พ.ศ. 2552<ref name="macversion">{{cite web|url=http://www.macworld.com/article/138673/2009/02/redalert3.html|title=Command & Conquer Red Alert 3 coming to Mac}}</ref>}}
| genre = [[วางแผนการรบเรียลไทม์]]
| modes = [[ผู้เล่นคนเดียว]], [[Cooperative gameplay|ร่วมมือ]], [[ผู้เล่นหลายคน]]
| platforms = [[ไมโครซอฟท์ วินโดวส์|วินโดวส์]], [[เอกซ์บอกซ์ 360]], [[เพลย์สเตชัน 3]], [[แมคโอเอสเท็น|แมคโอเอส]]
| media = [[ดีวีดี]], [[บลูเรย์|บลูเรย์ดิสก์]], , [[Steam (content delivery)|สตรีม]]
| ratings = {{vgratings|ESRB=T|PEGI=16+|BBFC=12}}
| requirements = '''Minimum''': Windows XP SP2, AMD Athlon 3000+/Intel P4 2.2GHz or equivalent, 1GB of RAM, 6GB free on HD, nVidia GeForce 6 series/ATI X1800 or better, DX9c or 10 compatible sound.<br>'''Recommended''': Windows Vista SP1, AMD Athlon X2 (3500+)/Intel Core 2 Duo (2.6GHz) or equivalent, 2GB of RAM, 10GB free on HD, nVidia GeForce 6800 or better/ATI X1900 or better.<br>An internet connection is required to activate for online gaming.
| input = [[เมาส์]], [[คีย์บอร์ด]], [[ไมโครโฟน]], [[เกมเพด]]
}}
'''''คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท 3''''' เป็นเกมวางแผนการรบเรียลไทม์ ใน[[คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท ซีรีส์|ซีรีส์เรดอเลิร์ท]] ประกาศเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551<ref name="pressrelease">{{cite web|url=http://www.ea.com/redalert/press_release.jsp|title=EA rewrites history in Command & Conquer: Red Alert 3 |date=2008-02-14 |publisher=[[Electronic Arts]]|accessdate=2008-02-14}}</ref> พัฒนาโดย [[อีเอ ลอสแอนเจลิส]] วางจำหน่ายแพลตฟอล์ม [[ไมโครซอฟท์ วินโดวส์|วินโดวส์]]
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และวางจำหน่ายในยุโรปเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวอร์ชันคอนโซล ได้แก่เครื่อง [[เอกซ์บอกซ์ 360]] และ [[เพลย์สเตชัน 3]] ซึ่งในเวอร์ชันของเครื่องเพลย์สเตชัน 3 นั้นวางจำหน่ายช้ากว่าเครื่องอื่นๆ เนื่องจากระบบสถาปัตยกรรมของเครื่องเพลย์สเตชัน 3 ต่างจากเครื่องอื่นๆ<ref name="ps3version">{{cite web|url=http://www.videogamer.com/news/04-11-2008-9840.html|title=EA: PS3 Red Alert 3 back on|last=Yin-Poole |first=Wesley|date=November 4, 2008|publisher=[[VideoGamer.com]]|accessdate=2008-11-04}}</ref> ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552 อีเอได้ประกาศอย่างเป็นทางการสำหรับการวางจำหน่ายของ ''คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท 3 - อัลติเมต อิดิชัน''<ref>{{cite news |first=David |last=Scammell |title=Red Alert 3 coming to PS3 in March |url=http://www.dpadmagazine.com/2009/01/21/red-alert-3-coming-to-ps3-in-march/ |publisher=D+PAD |date=21 January 2009 |accessdate=21 January 2009 }}</ref> ซึ่งเวอร์ชันของเครื่องเพลย์สเตชัน 3 โดยจะประกอบไปด้วยโบนัสต่างๆมากมาย มากกว่าในเวอร์ชันของเอกซ์บอกซ์ 360 และ พีซี โดยวางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 จากนั้นก็ยังประกาศเวอร์ชันของเครื่องแมคโอเอสอีกด้วย ซึ่งพอร์ตโดย [[TransGaming]]<ref name="macversion" /> และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ทาง [[อีเอ ลอสแอนเจลิส]] ได้ประกาศเกมภาคเสริมของ เรดอเลิร์ท 3 โดยใช่ชื่อว่า ''[[คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท 3 – อัพไรซิง]]'' โดยวางจำหน่ายสำหรับแพล์ตฟอร์ม [[ไมโครซอฟท์ วินโดวส์|วินโดวส์]] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ในรูปแบบดิจิตอลดาวน์โหลด<ref name="EAAnnounceUprising">{{cite web|url=http://www.commandandconquer.com/portal/site/cnc/article/detail;jsessionid=934A15469873CD62BDB0FD2838115402.ea-e-h-p-del1-2?contentId=a205dd7a313be110VgnVCM100000100d2c0aRCRD|title=Command & Conquer Red Alert 3: Uprising|date=2009-01-08|publisher=Command & Conquer.com|accessdate=2009-01-10}}</ref>
== เนื้อเรื่อง ==
เมื่อสหภาพโซเวียตได้เข้าสู่ภาวะวิกฤตใกล้จะล่มสลาย ทำให้ผู้นำแห่งโซเวียตได้ใช้วิธีลับเพื่อให้มีอำนาจเหนือพันธมิตรอีกครั้ง คือการย้อนเวลาไปหาไอน์สไตน์ เพื่อให้เขาเป็นพวกเดียวกันกับโซเวียต แต่ความบังเอิญทำให้ไอน์สไตน์หายไปจากกาลเวลา จึงไม่มีใครสร้างเทคโนโลยีให้แก่พันธมิตร หลังจากได้กลับมาจากการย้อนเวลาทำให้สหภาพโซเวียตกลับมามีอำนาจอีกครั้ง แล้วบุกยึดยุโรปจนเหลือสหราชอาณาจักร ทางด้านพันธมิตรที่ได้ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯคนใหม่เริ่มใช้นโยบายใหม่ในการปราบปรามสหภาพโซเวียต ในขณะเดียวกันก็ได้ผู้เข้าร่วมสงครามนั่นก็คือ จักรวรรดิแห่งแดนอาทิตยอุทัย ที่ต้องการจะยึดครองโลกและคิดกำจัดทั้งพันธมิตรและสหภาพโซเวียต แล้วใครจะได้เป็นจ้าวแห่งโลก สหภาพโซเวียตหรือพันธมิตรหรือจักรวรรดิฯ
 
== นักแสดงและตัวละคร ==
นาย c and c red alert 3อิหม่ามประจำมัสยิดกลางปัตตานี บุคคลสำคัญทางศาสนาเป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านศาสนา มากมาย ดังนี้
=== สหภาพโซเวียต ===
ผลงานและรางวัลที่ได้รับ
{{main|ตัวละครฝ่ายโซเวียตในคอมมานด์ & คองเคอร์}}
* ผู้นำ อนาโตลี เซอร์เดนโก (Premier Anatoly Cherdenko) - แสดงโดย '''[[Tim Curry]]'''
* นายพล นิโคไล ครูคอฟ (General Nikolai Krukov) - แสดงโดย '''[[Andrew Divoff]]'''
* ดร. กรีเกอร์ เซลินสกี้ (Dr. Gregor Zelinsky) - แสดงโดย '''[[Peter Stormare]]'''
* ดาชา เฟโดโรวิช (Dasha Fedorovich) - แสดงโดย '''[[Ivana Miličević]]''' <sub>[UR]</sub>
* สไนเปอร์ นาตาชา วอลโควา (Sniper Natasha Volkova) - แสดงโดย '''[[Gina Carano]]'''
* Sergei - แสดงโดย '''[[Stelio Savante]]'''
* ผู้บัญชาการ โอเลก วอดนิค (Commander Oleg Vodnik) - แสดงโดย '''[[Dimitri Diatchenko]]''' <sub>[UR]</sub>
* ผู้บัญชาการ นิโคไล มอสควิก (Commander Nikolai Moskvin) - แสดงโดย '''[[Gene Farber]]''' <sub>[UR]</sub>
* ผู้บัญชาการ ซานา อากอนสกายา (Commander Zhana Agonskaya) แสดงโดย '''[[Vanessa Branch]]'''
 
=== สัมพันธมิตร ===
๑. โล่รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ด้านศาสนา ระดับประเทศ ประจำปี ๒๕๕๒
{{main|ตัวละครฝ่ายสัมพันธมิตรในคอมมานด์ & คองเคอร์}}
๒. รางวัลพระราลทาน ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายใต้ ปี ๒๕๓๖
* ประธานาธิบดี โฮวาร์ด ที.อาคเคอร์แมน (President Howard T. Ackerman) - แสดงโดย '''[[J.K. Simmons]]'''
๓. รางวัลพระราชทาน ผู้ดำเนินรายการวิทยุดีเด่น สมาคมนักวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยปี ๒๕๓๕
* จอมพล โรเบิร์ต บิงแฮม (Field Marshall Robert Bingham) - แสดงโดย '''[[Jonathan Pryce]]'''
๔.รางวัลพระราชทาน โครงการคัดเลือกผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นของจังหวัดชายแดนภาคใต้ สาขาการพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์
* สายลับพิเศษทันย่า (Special Agent Tanya) - แสดงโดย '''[[Jenny McCarthy]]'''
๕. วิทยากรบรรยายศาสนธรรม ตามสถานีวิทยุทั้งในกรงเทพฯ และปริมณฑล
* ร้อยโท อีวา แมคเคนนา (Lieutenant Eva McKenna) - แสดงโดย '''[[Gemma Atkinson]]''' <sub>[UR]</sub>
๖. ตัวแทนประเทศไทย ในการสร้างวามเข้าใจกับสถานการณ์ความไม่สงบ แก่คณะ (OIC) องค์กรมุสลิมโลก องค์กรสันนิบาตโลกมุสลิม (รอบิเฏาะห์) องค์กรมุสลิมประเทศออสเตรเลีย,ตุรกี,สหรัฐอาหรับเอมิเรต,สภาคองเกรซ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ
* ผู้บัญชาการ วาเรน ฟูลเลอร์ (Commander Warren Fuller) แสดงโดย '''[[Randy Couture]]'''
๗. ผู้ทรงคุณวุฒิ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)จังหวัดปัตตานี
* ผู้บัญชาการ ไกลส์ ไพรซ์ (Commander Giles Price) แสดงโดย '''[[Greg Ellis (actor)|Greg Ellis]]''' <sub>[UR]</sub>
* ผู้บัญชาการ ลิสเซ็ตตี้ ฮันเลย์ (Commander Lissette Hanley) - แสดงโดย '''[[Autumn Reeser]]'''
 
=== จักรวรรดิแห่งแดนอาทิตย์อุทัย (จักรวรรดิญี่ปุ่น) ===
{{main|ตัวละครฝ่ายจักรวรรดิในคอมมานด์ & คองเคอร์}}
* จักรพรรดิโยชิโระ (Emperor Yoshiro) - แสดงโดย '''[[George Takei]]'''
* เจ้าชายทัตสึ (Crown Prince Tatsu) - แสดงโดย '''[[Ron Yuan]]''' <sub>[UR]</sub>
* เจ้าหน้าที่ข้อมูลและสื่อสาร สึกิ โทยามะ (Intelligence Officer Suki Toyama) - แสดงโดย '''[[Kelly Hu]]'''
* ผู้บัญชาการ ชินโซ นางามะ (Commander Shinzo Nagama) - แสดงโดย '''[[Bruce Asato Locke]]''' <sub>[UR]</sub>
* ผู้บัญชาการ เคนจิ เทนซาอิ (Commander Kenji Tenzai) - แสดงโดย '''[[Jack J. Yang]]''' <sub>[UR]</sub>
* ผู้บัญชาการ นาโอมิ ชิราดะ (Commander Naomi Shirada) - แสดงโดย '''[[Lydia Look]]'''
* [[ยูริโกะ โอเมกะ]] (Yuriko Omega) - ให้เสียงโดย '''[[Lisa Tamashiro]]''' <sub>[UR]</sub>
 
※ '''[UR]''' หมายถึงตัวละครที่ปรากฏอยู่ใน ''[[เรดอเลิร์ท 3: อัพไรซิง]]'' ด้วย
 
== อ้างอิง ==
 
 
{{รายการอ้างอิง|2}}้
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.ea.com/redalert/index.jsp เว็บไซค์หลักของ คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท 3]
{{Command & Conquer series}}
[[หมวดหมู่:เกมในเครื่องเล่นเอกซ์บอกซ์ 360]]
[[หมวดหมู่:เกมสำหรับวินโดวส์]]
[[หมวดหมู่:คอมมานด์ แอนด์ คองเคอร์]]
 
{{โครงเกม}}
 
 
เบื้องลึกลอบยิงครูสาวตาดีกา สะท้อนสารพัดปัญหาสุมไฟชายแดนใต้
เหตุร้ายรายวันหลายๆ เหตุการณ์ที่ชายแดนใต้ โดยเฉพาะเหตุยิงด้วยอาวุธปืนนั้น ถ้าเป้าหมายไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐผู้ถืออาวุธแล้ว มักสรุปยากว่ามีสาเหตุจากอะไรแน่ เพราะแม้หลายกรณีชาวบ้านจะรู้อยู่แก่ใจหรือพอคาดเดาได้ แต่ทุกคนก็เลือกที่จะปิดปากเงียบเนื่องจากเกรงอำนาจมืด หลายเรื่องจึงถูกฉวยประโยชน์จากขบวนการข่าวลือ ก่อความขัดแย้งเข้าใจผิดให้บานปลายมากขึ้นไปอีก
ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วในพื้นที่แห่งนี้ คู่ขัดแย้งและเลือกใช้ความรุนแรงไม่ว่าจะถูกกฎหมายหรือไม่ถูกกฎหมาย ไม่ได้มีแค่เจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ก่อความไม่สงบเท่านั้น ทว่ายังมีอีกหลายกลุ่มหลายฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มอิทธิพลเถื่อน ลักขโมยขี้ยาง ค้ายาเสพติด น้ำมันเชื้อเพลิงและสินค้าหนีภาษี รวมไปถึงนักการเมืองที่ทำตัวเป็น "อภิสิทธิ์ชน" ทั้งดีกรีท้องถิ่นและสูงกว่านั้น
หลายๆ ครั้งบางกลุ่มบางฝ่ายเหล่านี้ก็จับมือกัน เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน หลายๆ ครั้งบางกลุ่มบางฝ่ายก็ขัดแย้งกัน ทั้งขัดแย้งกันโดยสภาพ เช่น เจ้าหน้าที่กับโจร และขัดแย้งกันเพราะผลประโยชน์...
แต่ไม่ว่าความขัดแย้งจะเกิดจากนิยามไหน คนที่เคราะห์ร้ายย่อมหนีไม่พ้นชาวบ้านตาดำๆ
ดังเช่นกรณีของ คอลีเยาะ กาเร็ง หญิงสาววัย 22 ปี ที่ถูกคนร้ายไม่ทราบกลุ่ม-ฝ่าย ยิงเสียชีวิตเมื่อตอนบ่ายของวันที่ 29 มิ.ย.2556 ที่บ้านบือแนสือแต ต.จะกว๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา โดยที่ในช่วงเช้าวันเดียวกันเพิ่งเกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดรถยูนิม็อกของทหารที่ อ.กรงปินัง จ.ยะลา ทำให้ทหารเสียชีวิตถึง 8 นาย จึงมีข่าวลือในท่วงทำนองป้ายสีเผยแพร่ทันควัน
ไม่ชัดว่าเจ้าหน้าที่ที่เข้าตรวจจุดเกิดเหตุสังหารคอลีเยาะ รู้หรือไม่ว่าสาววัย 22 ปีรายนี้ตั้งครรภ์ได้หลายเดือนแล้ว เพราะในเอกสารสรุปข่าวของฝ่ายราชการไม่มีระบุว่าเป็นหญิงมีครรภ์ แต่คนในพื้นที่ ต.จะกว๊ะ รู้ดี และยังรู้จักเธอในฐานะครูตาดีกาที่ช่วยสอนหนังสือเด็กๆ ในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ด้วย
บ้านปูนชั้นเดียวเลขที่ 9/1 ในหมู่บ้านลีเซ็ง หมู่ 5 ต.จะกว๊ะ คือบ้านสามีของคอลีเยาะ ผนังบ้านที่ก่ออิฐแบบหยาบๆ ไม่มีกระทั่งปูนฉาบ บ่งบอกถึงฐานะของผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดีว่าอยู่ในฐานะลำบากแค่ไหน แต่หลังจากคนในบ้านต้องเจอกับเหตุร้าย วันนี้ประตูบ้านได้ถูกปิดตาย...
ผู้ทราบเหตุการณ์เล่าว่า คอลีเยาะถูกยิงต่อหน้าต่อตา ด.ญ.อามานี สะแต ลูกเลี้ยงวัย 3 ขวบของเธอเอง เพราะเธอเพิ่งขี่รถจักรยานยนต์ออกจากบ้านเพื่อไปสอนหนังสือที่โรงเรียนตาดีกา เมื่อเสียงปืนดังขึ้นและรถจักรยานยนต์ของคอลีเยาะล้มลง ด.ญอามานี ได้วิ่งร้องไห้เข้าไปกอดแม่ ชาวบ้านที่ได้ยินเสียงปืนพากันวิ่งออกไปดู แต่เมื่อทุกคนเข้าไปถึงจุดเกิดเหตุก็พบว่าคอลีเยาะเสียชีวิตแล้ว
ญาติของคอลีเยาะ เล่าว่า คนร้ายไม่ได้พรากชีวิตคอลีเยาะไปเท่านั้น แต่ยังพรากชีวิตลูกน้อยๆ ในครรภ์ของเธอไปด้วย เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวบ้านรับไม่ได้
จากปากคำของผู้คนในหมู่บ้าน ทำให้ทราบว่าชีวิตของคอลีเยาะต้องเผชิญแต่เรื่องเจ็บปวด และจำต้องฝืนทนกับแรงกดดันที่เข้ามากร้ำกรายชีวิตของเธอโดยที่ไม่ได้เชื้อเชิญ
"สามีของคอลีเยาะชื่อ ยูโซ๊ะ สะแต อายุราวๆ 27 ปี เขาไม่กล้าอยู่บ้านเพราะพี่ชายถูกยิง ทำให้คอลีเยาะต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง และเลี้ยงอามานีซึ่งเป็นลูกสาวของยูโซ๊ะกับภรรยาคนเก่า" ญาติคนหนึ่งของคอลีเยาะบอก
สามจังหวัดชายแดนใต้ซึ่งเกิดเหตุรุนแรงรายวันมาร่วม 10 ปี ถูกตีตราว่าเป็นพื้นที่ "ไม่มั่นคง" อำนาจรัฐไม่อาจแผ่คลุมทุกตารางนิ้วได้ ทำให้ "คนถือปืน" มีอยู่ไม่น้อย ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐและไม่ใช่เจ้าหน้าที่ และทำให้หลายๆ ความขัดแย้งถูกตัดสินด้วยปืนอย่างง่ายดาย
เหตุร้ายที่เรียกกันว่า "ยิงรายวัน" เกิดขึ้นดาษดื่นในสามจังหวัด ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่ตำรวจต้องปิดคดีเพราะมิอาจหาสาเหตุที่เป็นเบื้องหลังการตายได้ และนั่นได้ทำให้ความหวาดกลัวแผ่คลุมไปทั่ว ดังเช่นที่เกิดกับยูโซ๊ะ สามีของคอลีเยาะ
ข้อมูลจากญาติๆ ของทั้งสองฝ่ายทำให้เรื่องราวบางส่วนแจ่มชัดขึ้น ปัญหาเริ่มจากครอบครัวของยูโซ๊ะถูกกดดันอย่างหนักจาก "คนถือปืน" ในพื้นที่ เมื่อก่อนเขาก็อยู่กับอามานีและภรรยาเก่าซึ่งเป็นแม่ของอามานี แต่จู่ๆ พี่ชายของเขา นายอายุ สะแต ก็ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อกลางปี 2554 ทำให้ยูโซ๊ะรู้สึกกดดัน บางช่วงต้องหนีหายไปจากบ้าน กระทั่งฝ่ายหญิงทนไม่ไหว ตัดสินใจเก็บข้าวของจากไป ทิ้งอามานีไว้ให้ยูโซ๊ะเลี้ยง ทั้งๆ ที่ตอนนั้นอามานีอายุได้แค่ 2 ขวบเท่านั้น
ยังดีที่ยูโซ๊ะได้คอลีเยาะมาช่วยดูแลทั้งตัวเขาและลูก ทั้งคู่แต่งงานกันท่ามกลางเสียงคัดค้านของญาติๆ ฝ่ายคอลีเยาะ แต่เสียงทัดทานของผู้ใหญ่ก็ไม่อาจห้ามหัวใจของคนสองคนได้ ทั้งคู่อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา โดยคอลีเยาะทำหน้าที่ดูแลอามานีอย่างดี จนอามานีรักและผูกพันไม่ต่างจากแม่ของเด็กน้อยเอง
ยูโซ๊ะตั้งใจเริ่มชีวิตใหม่กับครอบครัวใหม่ แต่เขาก็มีความสุขอยู่ได้ไม่นานก็ถูกกดดันจาก "คนถือปืน" ในพื้นที่ซ้ำอีก สุดท้ายเขาไม่กล้าอยู่บ้าน ต้องหนีหายไปจากหมู่บ้านจนคอลีเยาะต้องเลี้ยงอามานีตามลำพังอย่างยากลำบาก
แต่เหมือนเคราะห์ซ้ำเมื่อคอลีเยาะถูกยิงเสียชีวิตไปอีกคน...
"อามานีเห็นเหตุการณ์ขณะที่คอลีเยาะถูกยิง คิดว่าภาพยังคงติดตาแกอยู่ ทำให้แกกลัวทุกครั้งที่เห็นปืน กลัวจนตัวสั่น ทุกๆ วันแกเอาแต่ร้องจะไปหาคอลีเยาะในป่าบริเวณจุดเกิดเหตุ เพราะแกเชื่อว่าแม่ของแกซ่อนตัวอยู่ในป่า" ญาติฝ่ายคอลีเยาะเล่า
ญาติคนเดิมเอ่ยต่อพร้อมด้วยเสียงทอดถอนใจว่า คอลีเยาะเป็นครูสอนตาดีกา ไปสอนทุกวันเสาร์อาทิตย์ ส่วนวันอื่นๆ เธอรับจ้างกรีดยาง รายได้วันละไม่ถึง 200 บาท แค่พออยู่พอกินไปวันๆ เท่านั้น หากขาดเหลืออะไรญาติฝ่ายสามีก็จะหยิบยื่นให้บ้าง ช่วงไหนที่แม่สามีทำกับข้าวเยอะก็จะแบ่งมาให้กิน แต่ก็ไม่ใช่ทุกวัน
"คอลีเยาะใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่คิดว่าจะต้องมาจบชีวิตแบบนี้ อยากรู้เหมือนกันว่าทำไมคนร้ายต้องทำเขาด้วย คอลีเยาะไปทำอะไรให้ใคร ที่ผ่านมาพื้นที่นี้ก็เป็นแบบนี้ ชาวบ้านถูกยิงทิ้งอย่างไร้ค่าตลอด สมัยก่อนเป็นอย่างไร ทุกวันนี้ก็ไม่ดีขึ้นเลย"
"ฉันเคยเดินทางไปพื้นที่อื่นแล้วรู้สึกดีใจที่เห็นเขาใช้ชีวิตกันได้อย่างปกติสุข แต่ที่บ้านเราต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ กลัวอำนาจมืดที่รัฐเข้าไม่ถึง ก็แปลกใจเหมือนกันเพราะคิดว่ารัฐเองก็รู้ว่าพื้นที่นี้เป็นอย่างไร แต่กลับไม่มีใครเข้ามาแก้ปัญหาเลยสักคน" ญาติของคอลีเยาะบอก
ชาวบ้านหลายคนที่เกิดและอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ บอกว่า จะกว๊ะมีสารพัดปัญหา ทั้งอิทธิพล การเมือง ยาเสพติด และความไม่สงบ เมื่อขัดแย้งกันก็จะยิงตอบโต้กันไปมา เฉพาะช่วงเดือน พ.ค.ถึง มิ.ย.ก็ 4 ศพเข้าไปแล้ว ถ้านับคอลีเยาะด้วยก็เป็นศพที่ 5 เหยื่อบางรายเกี่ยวข้องกับความไม่สงบ แต่บางรายก็เป็นเหยื่อของความขัดแย้งเรื่องอื่น
นอกจากนั้นสภาพพื้นที่ ต.จะกว๊ะ อ.รามัน ยังเปรียบเสมือนไข่แดงที่อยู่ตรงกลางของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเส้นทางทะลุไปได้ทั้งปัตตานี ยะลา และนราธิวาส กลุ่มอำนาจเถื่อนจึงมักใช้เป็นพื้นที่หลบซ่อนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบด้วย เพราะก่อเหตุง่าย หนีไปพื้นที่อื่นก็ง่าย ทั้งหมดทำให้ปัญหาซับซ้อนและแก้ไขยากมากขึ้นไปอีก
นี่คืออีกหนึ่งความจริงจากชายแดนใต้...ความจริงที่ชาวบ้านผู้เผชิญปัญหารู้อยู่แก่ใจว่าหนทางสู่สันติภาพสำหรับพวกเขานั้นยังคงมืดมน!
 
 
ความตายของ"บาบอ"ที่ปูลากาชิง อีกหนึ่งเรื่องจริงที่ชาวบ้านขอความเป็นธรรม
เสียงตักบีร์ (เปล่งเสียง 'อัลลอฮ์ อักบัร' แสดงความศรัทธาต่ออัลลอฮ์) ดังขึ้นซ้ำๆ ระหว่างที่ผู้คนหลายร้อยกำลังเคลื่อนศพ นายอิสมะแอ ปาโอ๊ะมานิ๊ วัย 51 ปี ออกจากบาลัย (สถานที่ละหมาดชั่วคราว) ซึ่งปลูกสร้างอยู่ติดกับบ้านของเขาและครอบครัว พร้อมเดินแห่ศพไปทำพิธีฝังยังกุโบร์ (สุสาน)
บ้านของอิสมะแอ เลขที่ 25 หมู่ 4 บ้านปูลากาชิง ต.กอลำ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี นั้น หลังค่อนข้างใหญ่ เพราะนอกจากด้านหนึ่งจะเป็นบาลัยสำหรับละหมาดแล้ว ใต้ถุนยังเปิดเป็นปอเนาะใช้สอนหนังสือเด็กๆ ในชุมชนด้วย ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "ปอเนาะปูลากาชิง" จึงไม่แปลกที่หลายคนจะเรียกอิสมะแอว่า "บาบอ" ส่วนคนที่ใกล้ชิดสนิทสนมกันจะเรียกเขาว่า "เป๊าะจิ๊"
เช้าวันอังคารที่ 25 มิ.ย.เสียงปืนแผดก้องที่หน้าบ้านของอิสมะแอ ทำให้เขาเสียชีวิตคาที่ ส่วน นางปาอีซะ วันเย็น ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ก็ถูกกระสุนลูกหลงจนได้รับบาดเจ็บ ความรู้สึกของชาวบ้านคือพวกเขาต้องเสีย "บาบอ" ที่พร่ำสอนกีตาบ (หนังสือเรียนเกี่ยวกับศาสนา) ให้กับเด็กๆ ในชุมชนไป จึงพร้อมใจกันไปร่วมพิธีฝังศพในช่วงสายวันเดียวกัน
ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า คนร้ายมากัน 4 คน ใช้รถจักรยานยนต์ 2 คันเป็นพาหนะ ทุกคนสวมเสื้อยืดแขนยาวสีดำ กางเกงลายพรางคล้ายของ อส. (อาสารักษาดินแดน) ทั้ง 4 คนเหมือนวางแผนกันมาแล้วเป็นอย่างดี เพราะมีพฤติการณ์แบ่งงานกันทำ สองคนแรกจอดรถรอคุมเชิงอยู่บริเวณปากทาง ไม่มีผ้าหรือหมวกไหมพรมปิดบังใบหน้า ขณะที่อีกสองคนสวมหมวกไอ้โม่ง ขี่รถจักรยานยนต์สีขาวมุกไปจอดที่หน้าบ้านของอิสมะแอ
จากนั้นหนึ่งในสองคนเดินลงจากรถ พร้อมส่งเสียงเรียกอิสมะแอว่า "เป๊าะจิ๊" เพียง 2 ครั้ง อิสมะแอก็ออกมาพร้อมภรรยา แล้วคนร้ายก็ใช้อาวุธปืนอาก้าที่เตรียมมายิงใส่ทำให้อิสมะแอเสียชีวิต ส่วนปาอีซะได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อคนร้ายขี่รถจักรยานยนต์ออกไปแล้ว ชาวบ้านจึงช่วยกันพาส่งโรงพยาบาลปัตตานี
เสียงจากชาวบ้านในพื้นที่ไม่ปฏิเสธว่า อิสมะแอถูกมองจากเจ้าหน้าที่รัฐในแง่ไม่ดีนัก เพราะเขาเคยมีรางวัลนำจับสูงถึง 3 ล้านบาท ต้องหนีหายไปจากบ้านและปอเนาะปูลากาชิงนานหลายปี ก่อนจะหวนกลับคืนมาอีกครั้งเสมือนหนึ่งเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเอง
เมื่อปีที่แล้ว (2555) อิสมะแอถูกตำรวจ สภ.บ้านโสร่ง อ.ยะรัง จับกุมในคดีครอบครองอาวุธสงครามและเครื่องกระสุนโดยมิชอบ เนื่องจากสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ของเขาไปตรงกับหลักฐานที่เก็บได้จากอาวุธปืนอาก้ากับเครื่องกระสุนที่ยึดได้จากขนำในสวนยางพารา ท้องที่หมู่ 4 ต.กอลำ อ.ยะรัง เมื่อปี 2552 อิสมะแอสู้คดีตามขั้นตอน กระทั่งสุดท้ายอัยการสั่งไม่ฟ้อง
การกลับมาของเขาเที่ยวนี้ทำให้ปอเนาะที่ปิดร้างไปนานมีชีวิตชีวามากขึ้น มีเด็กๆ กว่า 40 คนมาเรียนกีตาบ แต่ต้องเรียนแบบไปกลับ เพราะไม่มีกระท่อม (ปอเนาะ) ให้อาศัย อิสมะแอจึงตัดสินใจปลูกสร้างปอเนาะเพื่อดูแลเด็กๆ จะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปกลับทุกวัน แต่ยังไม่ทันเสร็จเรียบร้อยก็มาเกิดเรื่องร้ายๆ
ชีวิตประจำวันของอิสมะแอกับครอบครัวดำเนินไปอย่างเรียบง่าย ไม่มีความขัดแย้งกับใคร กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ มีเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดในพื้นที่ ต.กอลำ โดยมีเป้าหมายคือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองรายหนึ่งขณะเดินทางไปประชุมพร้อมกำลังคุ้มกัน แต่ระเบิดพลาดเป้า ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ หลังเกิดเหตุมีการยิงปะทะกันระหว่างกองกำลังที่ทำหน้าที่คุ้มกันกับฝ่ายผู้ต้องสงสัยร่วมวางระเบิด แต่ไม่มีรายงานความสูญเสีย จากนั้นเรื่องราวก็ค่อยๆ เงียบหายไป กระทั่งอิสมะแอถูกคนร้ายบุกยิงเสียชีวิตคาบ้าน
ผู้คนนับร้อยที่มาร่วมงานศพพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการตายของอิสมะแอน่าจะเกี่ยวโยงกับเหตุรุนแรงบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่...
น.ส.ซูไฮละห์ ปาโอ๊ะมานิ๊ ลูกสาววัย 20 ปีของอิสมะแอ บอกว่า ช่วงที่เกิดเหตุเธอไม่ได้อยู่ที่บ้าน เพราะต้องไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนปอเนาะบลูกาสแลแม อ.มายอ จ.ปัตตานี ได้เจอหน้าพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อวันจันทร์ที่ 24 มิ.ย. เพราะในหมู่บ้านมีงานแต่งงาน เธอจึงแวะกลับมาบ้าน แต่ก็ไม่ได้พูดอะไรกับพ่อมากนัก กระทั่งเช้าวันเกิดเหตุ น้าโทรศัพท์ไปบอกว่าพ่อถูกยิงเสียชีวิตแล้ว และแม่ก็ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ
"ตอนที่รู้ข่าวรู้สึกชาไปทั้งตัว ทำอะไรไม่ถูก ยังดีที่หลังจากนั้นทราบว่าแม่พ้นขีดอันตรายแล้ว"
ซูไฮละห์ เล่าว่า ครอบครัวของเธอนอกจากพ่อกับแม่แล้วก็มีกันสามพี่น้อง พี่ชายชื่อ ซุลกีฟลี ปาโอ๊ะมานิ๊ อายุ 25 ปี เรียนอยู่ที่ปอเนาะแบปาแซ ใน อ.ยะรัง คนที่สองคือตัวเธอเอง และน้องคนเล็กคือ ฮูไซฟะ ปาโอ๊ะมานิ๊ อายุ 4 ขวบ เรียนอยู่ที่โรงเรียนสายชล ใน ต.กอลำ
"การเสียพ่อไปเท่ากับเสียเสาหลักของครอบครัว เพราะนอกจากพ่อจะเป็นบาบอสอนกีตาบให้กับเด็กๆ ในพื้นที่แล้ว ตอนเช้า 7 โมงของทุกวันพ่อยังต้องออกไปกรีดยาง 8 โมงกลับมาสร้างโรงเรียนปอเนาะ ทำทั้งวันกระทั่ง 1 ทุ่มจึงเริ่มสอนกีตาบจนถึงดึกดื่น ที่ผ่านมาพ่อทำงานคนเดียว ส่วนแม่เป็นแม่บ้าน ไม่มีรายได้อะไร"
ซูไฮละห์ บอกว่า สิ่งที่พ่อพร่ำบอกก่อนจากไปก็คือ อย่าล้มเลิกปอเนาะปูลากาชิง ขอให้ใครสักคนหนึ่งในพี่น้องช่วยกันสานต่อ
"นี่คือสิ่งที่ฉันเป็นห่วง เพราะตอนนี้ยังไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่คิดเลยว่าพ่อจะจากพวกเราไปเร็วขนาดนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเราต้องทำก็คือเรียนหนังสือต่อ สำหรับตัวฉันยังดีที่ได้เป็นครูสอนโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ อ.มายอ ทำให้พอมีรายได้บ้าง และน่าจะเพียงพอสำหรับเรียนหนังสือต่อไปได้ แต่พี่ชายกับน้องสาว พวกเขาไม่มีรายได้อื่นนอกจากเงินที่พ่อส่งให้"
ซูไฮละห์ เผยความในใจด้วยว่า กลัวมาตลอดว่าสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่อาจมาเกิดกับครอบครัวของเธอเข้าสักวัน แต่ก็ไม่คิดว่าวันนั้นจะมาถึงเร็วขนาดนี้
"ฉันก็เคยคิดกลัวอยู่บ้าง เพราะพ่อถูกเขากล่าวหาว่าครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งที่พ่อไม่มีปืน แม้พ่อไม่ได้ทำ แต่ก็ต้องอยู่อย่างระวัง ตัว จนกระทั่งเคยทิ้งปอเนาะไปแล้วครั้งหนึ่งเพราะไม่สามารถอยู่บ้านได้ ครั้งนี้ถือว่าเป็นรอบที่ 2 ที่ปอเนาะต้องหยุดชะงักไป แต่เชื่อว่าพี่และตัวฉันเองจะประคองปอเนาะให้อยู่ต่อไปได้ตามความต้องการของพ่อ"
ซูไฮละห์ บอกด้วยว่า ตอนนี้ไม่ต้องการอะไรนอกจากความเป็นธรรม เพราะพ่อไม่ได้ทำอะไรผิด ทำไมถึงต้องมายิงพ่อด้วย
"ความเป็นธรรม" ดูจะเป็นสิ่งเดียวที่ทุกคนเรียกหา โดยเฉพาะจากคนที่รู้จักและนับถืออิสมะแอ...
สากีนะ ปูแทน หลานสาวของอิสมะแอ เอ่ยเพียงสั้นๆ ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกคนรู้ดีว่าเกิดจากอะไร ถ้ารัฐต้องการแก้ปัญหาจริงจังก็ต้องหาความเป็นธรรมมาให้ ไม่ใช่รู้ว่าใครทำแล้วเงียบ ที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์แล้วที่เกิดกับชาวบ้านแบบนี้
เสียงจากคนที่ไปร่วมพิธีฝังศพอิสมะแอชี้ปัญหาว่า หลายพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความขัดแย้งระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับชาวบ้าน และทำให้เกิดความรุนแรงตามมา จึงอยากให้เจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบทำคดีอย่างตรงไปตรงมา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน
"เรื่องแบบนี้ละเอียดอ่อนมาก ถ้ารัฐทำพลาดก็เท่ากับว่ายิ่งสร้างเงื่อนไขให้กับชาวบ้านมากขึ้น ถ้าทำถูกก็ถือว่าเสมอตัว ตอนนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่พอใจการทำงานของรัฐมากขึ้น แต่ยังมีกลุ่มผู้นำบางกลุ่มที่สร้างปัญหาและรังแกชาวบ้านอยู่ ฉะนั้นรัฐซึ่งเป็นคนกลางต้องซื่อตรงและจริงใจ หาความเป็นธรรมให้ชาวบ้านให้ได้ ความสงบสุขจึงจะเกิด"
เกือบครบทศวรรษของความรุนแรง แต่เสียงเพรียกหาความเป็นธรรมยังคงดังซ้ำแล้วซ้ำเล่า ณ ดินแดนสุดปลายขวาน...
 
 
 
 
 
 
เปิดแฟ้มหน่วยข่าว...ย้อนรอย 20 ปีเจรจาดับไฟใต้
 
เป็นที่ทราบกันดีว่าการพูดคุยเจรจากับกลุ่มขบวนการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้หลังจากที่ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไปลงนามในข้อตกลงริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพกับ นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำขบวนการบีอาร์เอ็น เมื่อวันที่ 28 ก.พ.และนัดหมายพูดคุยกันต่อเนื่องมา
แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าการพูดคุยเจรจาดำเนินมาอย่าง (ไม่) ต่อเนื่อง แต่ยาวนานถึง 20 ปีแล้ว โดยมีการพูดคุยอย่างเป็นทางการนับได้ทั้งสิ้นถึง 17 ครั้ง!
ความแตกต่างอย่างสำคัญระหว่างการพูดคุยเจรจา 17 ครั้งที่ผ่านมา กับครั้งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือ เป็นการพูดคุยแบบปิดลับ และไม่มีการลงนามในเอกสารใดๆ
แน่นอนว่าการพูดคุยเจรจาในแต่ละรูปแบบ ย่อมมี "จุดแข็ง" และ "จุดอ่อน" ในตัวของมันเอง อาจจะสรุป ณ เวลานี้ไม่ได้ว่ารูปแบบใดดีกว่า เพราะยังไม่มีรูปแบบไหนที่เดินหน้าเข้าใกล้ความสำเร็จอย่างแท้จริง ทว่าบทเรียนจากอดีตหากหยิบมาเรียนรู้และทำความเข้าใจ ย่อมส่งผลดีแน่กับปัจจุบันและอนาคตของกระบวนการพูดคุยสันติภาพ
เปิดไทม์ไลน์เจรจาดับไฟใต้
ข้อมูลจากหน่วยข่าวความมั่นคง ระบุว่า การพูดคุยเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐนั้น เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อราว 20 ปีก่อน และดำเนินการต่อเนื่องมา โดยแยกเป็นห้วงเวลาได้ดังนี้
ปี 2536 ภายใต้การนำของกองทัพภาคที่ 4 แบ่งการพูดคุยออกเป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ
- ส่งคนไปหาข่าวและพูดคุยเจรจาไปด้วยในตัว
- พูดคุยเพื่อชักชวนให้กลับมาร่วมโครงการพัฒนาชาติไทย โดยเปิดทางแก้ปัญหาเกี่ยวกับคดีความและไกล่เกลี่ยคู่ความ
การพูดคุยเจรจาในห้วงนี้เกิดขึ้นที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย โดยที่ซีเรียเป็นการคุยกับประธานผู้ก่อตั้งองค์การพูโล คือ ตนกูนีรอ กอตอนีลอ (ราวปี 2536-2537)
แต่ปัญหาก็คือ คณะเจรจาไปลงนามรับรองผลการประชุม ฝ่ายขบวนการจึงนำข้อมูลส่งให้โอไอซี (องค์การการประชุมอิสลาม : ชื่อในขณะนั้น) ว่าขบวนการสามารถยกระดับการพูดคุยได้แล้ว ทำให้แม่ทัพภาคที่ 4 สั่งยุติกระบวนการทั้งหมด
ปี 2538 รัฐบาลไทยยุค นายชวน หลีกภัย ตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการพูดคุยอีกครั้งจากการชักนำของอธิบดีกรมตำรวจของมาเลเซียที่เดินทางเยือนประเทศไทย โดยมีการตั้งคณะกรรมการร่วมสองฝ่ายระหว่างสันติบาลมาเลเซีย กับกองทัพภาคที่ 4 ของไทย ได้ข้อสรุปคือ
- ใช้กฎหมายมาเลเซียจับกุมผู้ที่กระทำความผิดและมีหมายจับจากทางการไทยชัดเจน
- ใช้กระบวนการพูดคุยกับกลุ่มนักคิดอาวุโสของขบวนการ
ปี 2538-2540 จากการทำงานร่วมกันดังกล่าว นำมาสู่การจับกุมสมาชิกขบวนการพูโลคนสำคัญ 4-5 คน แต่ปัญหาคือทั้งสองฝ่ายมีข้อตกลงร่วมกันว่าให้ส่งตัวในทางลับ และให้ฝ่ายไทยออกข่าวว่าจับกุมตัวได้เอง แต่ตำรวจไทยกลับไปเปิดเผยว่ามาเลเซียให้ความร่วมมือ ทำให้มาเลเซียรู้สึกว่าถูกหักหน้าในฐานะที่เป็นประเทศมุสลิม แต่กลับส่งคนมุสลิมให้ประเทศพุทธ ส่วนกลุ่มนักคิดอาวุโส ยังไม่ได้เริ่มต้นพูดคุยเพราะทางกองทัพภาคที่ 4 เห็นว่าควรใช้วิธีการทางกฎหมายอย่างเดียว กระบวนการจึงหยุดไป
ปี 2540-2542 รัฐบาลไทยเริ่มมีนโยบายด้านสังคมจิตวิทยา ให้น้ำหนักเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม ประกอบกับบทบาทของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในช่วงนั้นได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้านมาก ทำให้สถานการณ์ความไม่สงบเบาบางลง
ปี 2544-2545 ช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการ ยุบ ศอ.บต. และ พตท.43 หรือกองกำลังผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 เมื่อปี 2545 และให้กองทัพรับผิดชอบป้องกันแนวชายแดนอย่างเดียว ส่วนงานปราบปรามมอบให้ตำรวจดำเนินการ
ปี 2545-2546 ตำรวจก่อเงื่อนไขในพื้นที่มากมาย กระทั่งสถานการณ์สุกงอม เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนครั้้งใหญ่เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2547 แม้สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) จะประเมินว่ามีกระบวนการบ่มเพาะนักรบหรือนักต่อสู้มาเป็นเวลา 8-10 ปีก่อนหน้านั้น แต่ก็เชื่อว่าปัญหาจากฝ่ายรัฐเองเป็นตัวเร่งให้สถานการณ์สุกงอม
ปี 2547-2548 เกิดเหตุรุนแรงรายวัน
ปลายปี 2548 พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของสหรัฐ ว่ามีองค์กรเอกชนระหว่างประเทศประสานงานและเข้าถึงขบวนการแบ่งแยกดินแดนได้ จึงมอบหมายให้ ส.ส.พรรคไทยรักไทยในขณะนั้น ซึ่งเป็นอดีตนายทหารและเคยเป็นผู้บังคับบัญชาระดับสูงใน ศรภ. (ศูนย์รักษาความปลอดภัย) เดินทางไปพูดคุยกับสมาชิกองค์การพูโล 2 กลุ่ม และแกนนำกลุ่มบีไอพีพี ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แต่หลังจากการพูดคุยกัน 2 ครั้ง คณะพูดคุยฝ่ายไทยประเมินว่าไม่น่าจะได้ผล กระบวนการจึงยุติลง
ปี 2549 คณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี สมช. ซึ่งมีกรรมการเป็นนักวิชาการจากภายนอกรวมอยู่ด้วย ได้เสนอให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เปิดกระบวนการพูดคุยขึ้นอีกครั้ง มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 ระดับ คือ คณะกรรมการอำนวยการ มี กองทัพบก สขช. กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม และ สมช.ร่วมเป็นกรรมการ มี พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน และมีคณะกรรมการพูดคุย ทำหน้าที่พูดคุยโดยตรงอีกคณะหนึ่ง แต่การพูดคุยในช่วงนี้ยังไม่สามารถสร้างความไว้วางใจให้กับกลุ่มขบวนการได้
ปี 2549 (หลังรัฐประหาร) ถึงปี 2550 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี นั่งเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการพูดคุยสันติภาพด้วยตัวเอง และให้การสนับสนุนเต็มที่ อนุมัติงบประมาณให้คณะทำงานเป็นครั้งแรก ทำให้การพูดคุยมีความคืบหน้าอย่างมาก กล่าวคือ
- ดีพีพี หรือสภาองค์กรนำของบีอาร์เอ็นซึ่งมี 8 คน มีมติให้อุสตาซอาวุโสคนหนึ่งเป็นตัวแทนมาพูดคุย
- เป้าหมายการพูดคุยเปลี่ยนแปลงไปเป็นการสร้างพันธมิตรเพื่อร่วมกันหาทางออกจากความขัดแย้ง และเป็นที่มาของนโยบายพูดคุยกับผู้มีอุดมการณ์แตกต่างจากรัฐ โดยมองคนเหล่านั้นเป็น partnership หรือหุ้นส่วน จุดนี้เองทำให้ฝ่ายบีอาร์เอ็นไว้วางใจรัฐบาลไทยมาก ถึงขึ้นเปิดวงพบปะพูดคุยระหว่าง พล.อ.สุรยุทธ์ กับแกนนำขบวนการที่ประเทศบาห์เรน โดยฝ่ายขบวนการเริ่มส่งสัญญาณบวกเข้ามายังพื้นที่
ปี 2551 เปลี่ยนรัฐบาลจาก พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และเปลี่ยนตัวเลขาธิการ สมช.เป็น พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา ซึ่งได้เสนอให้ยุติการพูดคุย
ปี 2552-2554 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รื้อฟื้นกระบวนการพูดคุยขึ้นใหม่ มีคำสั่ง สมช.ตั้งคณะกรรมการพูดคุยสันติภาพ มี ดร.มารค ตามไท เป็นประธาน มีการริเริ่มกระบวนการสร้างความไว้วางใจ
- กลางปี 2553 ฝ่ายไทยขอให้บีอาร์เอ็นส่งคนในขบวนการต่อสู้มาพูดคุย
- มีการแสดงความจริงใจต่อกันด้วยการขอให้แต่ละฝ่ายไปหาวิธีลดความรุนแรง สรุปคือให้ลดความรุนแรงบางพื้นที่ใน จ.นราธิวาส โดยฝ่ายบีอาร์เอ็นให้ฝ่ายไทยเลือกอำเภอเองเพื่อแสดงศักยภาพว่าสามารถทำได้จริง ทางกองทัพบกจึงกำหนดให้เป็น อ.บาเจาะ อ.เจาะไอร้อง และ อ.ยี่งอ ระยะเวลา 1 เดือน (มิ.ย.ถึง ก.ค.) ต้องปลอดการโจมตีด้วยระเบิดทุกประเภท ยุติการกระทำต่อพลเรือนและผู้บริสุทธิ์
- ฝ่ายบีอาร์เอ็นแจ้งว่า สามารถยุติการกราดยิงในย่านชุมชนและยุติระเบิดได้ทุกกรณี แต่ไม่สามารถหยุดเหตุยิงรายวันตามท้องถนนได้เพราะมีหลายเหตุปัจจัย ขณะที่ฝ่ายกองทัพบกไทยสั่งการให้ยุติการปิดล้อม ตรวจค้น จับกุมชั่วคราว แต่ไม่หยุดหากมีการปะทะซึ่งหน้า
- ผลสรุปการทดลองลดความรุนแรง ปรากฏว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้น 8 ครั้ง ไม่มีเหตุยิงปะทะเลย แต่มีระเบิด 1 ครั้ง ฝ่ายบีอาร์เอ็นชี้แจงว่าเป็นคนจากนอกพื้นที่เข้าไปทำ โดยทั้ง 8 เหตุการณ์บีอาร์เอ็นสามารถอธิบายได้ทั้งหมดว่าเกิดจากอะไร เช่น มี 3 เหตุการณ์เป็นเรื่องยาเสพติด เป็นต้น
- ปลายปี 2553 คณะทำงานพูดคุยสันติภาพประสานงานกันเพื่อทดลองลดเหตุรุนแรงรอบ 2 โดยขยายขอบเขตพื้นที่มากขึ้น และเพิ่มน้ำหนักเรื่องการพัฒนา โดยให้ตัวแทนในท้องถิ่น และตัวแทนของขบวนการที่เป็นตัวเปิดในพื้นที่เข้าร่วมกระบวนการพัฒนาตามที่ท้องถิ่นต้องการ ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยในหลักการทั้งหมด แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภาเสียก่อนช่วงกลางปี 2554 ทุกอย่างจึงสะดุดหยุดลง
ปลายปี 2554 (หลังเลือกตั้ง) รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเข้ามาบริหารประเทศ ได้ปรับเปลี่ยนตัวบุคคลใน สมช.ที่เคยร่วมกระบวนการพูดคุยสันติภาพทั้งหมด แต่ยังมีสิ่งที่ผลักดันต่อมาจนเกิดผลเป็นรูปธรรม คือ นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2555-2557 ซึ่งมีการกำหนดไว้ในข้อ 8 จาก 9 ข้อ เรื่องการพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ ถือเป็นพื้นฐานของกระบวนการพูดคุยในปัจจุบันนี้
ปี 2555 รัฐบาลให้น้ำหนักมาเลเซียมากขึ้น มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง สมช.ของทั้งสองประเทศ แต่ต่อมากลับมีสัญญาณจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สันติบาลมาเลเซียกับ ศอ.บต.เป็นผู้ประสานงาน
มี.ค.2555 พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปมาเลเซียและเปิดการพูดคุยกับแกนนำขบวนการทุกกลุ่มรวม 16 คน
31 มี.ค.2555 เกิดเหตุคาร์บอมบ์ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ อ.เมือง จ.ยะลา
28 ก.พ.2556 พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช.เป็นตัวแทนลงนามในข้อตกลงริเริ่มกระบวนการสันติภาพครั้งใหม่กับแกนนำขบวนการบีอาร์เอ็น ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการพูดคุยอย่างเปิดเผย และลงนามเป็นลายลักษณ์อักษร