ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองโอ่งอ่าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงโปรด'→'โปรด'
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
== ประวัติ ==
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] เมื่อพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวัง และขยายอาณาเขตพระนคร ให้กว้างออกไปนั้น ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2326 ตรงกับปีเถาะ เบญจศก จุลศักราช 1144 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองคูเมืองเดิม โดยเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือที่ตำบลบางลำภู ผ่านวัดบวรนิเวศวิหาร วัดเทพธิดา วัดสระเกศ วังบูรพาภิรมย์ ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ เหนือวัดสามปลื้ม หรือวัดจักรวรรดิราชาวาส เป็นระยะทาง 85 เส้น 131,300,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000 วา กว้าง 10 วา ลึก 5 ศอก ในการครั้งนั้นได้สร้างกำแพงประตูเมือง ป้อมปราการ เลียบแนวคลองด้านใน ตลอดทั้งคลอง ประตูเมืองและป้อมปราการเว้นระยะห่างกันเป็นช่วง ๆ ถึง 9 ช่วง เป็นคลองคูเมืองชั้นนอก ในรัชกาลที่ 1 เมื่อขุดคลองแล้วพื้นที่เมืองจึงกลายเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ คือ ด้านตะวันตกเป็นแม่น้ำเจ้า-พระยา และด้านตะวันออกเป็นคลองโอ่งอ่าง คลองโอ่งอ่างนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป 5 ชื่อ คือ คลองรอบกรุง คลองบางลำภู คลองโอ่งอ่าง คลองสะพานหัน คลองวัดเชิงเลน แต่ปัจจุบันเรียกว่า [[คลองบางลำภู]]
 
คลองรอบกรุงส่วนนี้ เรียกว่า [[คลองบางลำภู]] ซึ่งเริ่มตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา ตรงวัดสังเวชวิทยาราม ถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศตรงช่วงปากคลองมหานาค ส่วนช่วงต่อจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศจนไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ หรือวัดจักรวรรดิราชาวาส เรียกว่า [[คลองโอ่งอ่าง]] การที่เรียกชื่อแตกต่างกันมีมาตั้งแต่สมัยไหนนั้นไม่สามารถค้นหลักฐานได้ จากหนังสือเก่าซึ่งพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีการเรียกชื่อ คลองโอ่งอ่าง กับ คลองบางลำภู แล้ว<ref>ข้อมูลคูคลอง กรุงเทพมหานคร | http://dds.bangkok.go.th/csd/canal_h6.htm</ref>