ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โยธวาทิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
'''โยธวาทิต''' ({{lang-en|military band}}) หมายถึง กลุ่มผู้เล่นเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วย[[เครื่องเป่าลมไม้]] [[เครื่องเป่าทองเหลือง]] และ[[เครื่องกระทบ]] โยธวาทิตแต่เดิมนั้นตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ทางทหารที่เรียกว่า "วงดุริยางค์ทหาร" ปัจจุบัน โยธวาทิตได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสามารถบรรเลงในงานต่างๆ ได้นอกเหนือจากการบรรเลงในกองทัพ
 
คำว่า "โยธวาทิต" ในภาษาไทยนั้นบัญญัติขึ้นโดย[[มนตรี ตราโมท]]
วงโยธวาทิต (Marching Band)
ประวัติวงโยธวาทิต
ความหมายของวงโยธวาทิต
ดุริยางค์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง องค์ของเครื่องดีด สี ตี เป่า มาจาก ตุริย + องค และมักจะใช้คำว่า “วงดุริยางค์” เรียกวงดนตรีประเภทหนึ่งซึ่งชาวตะวันตกเรียกว่า Orchestra
 
==ประวัติ==
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีแตรวง เป็นวงดนตรีขนาดย่อม ประกอบด้วยเครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบ ในยุโรปสมัยกลางฝ่ายทหารใช้ปี่ชอร์ม (Shawms) และ[[ทรัมเป็ต]] ร่วมกับกลองในการเดินทัพออกสมรภูมิ ต่อมาก็เกิดการแบ่งออกเป็นสองพวก ทหารราบใช้[[ปิคโคโล]]กับกลอง ส่วนทหารม้านั้นใช้ทรัมเป็ตกับกลองหนัง
 
จนเกิดสงคราม 30 ปี ในยุโรป (ค.ศ. 1618-1648) เจ้านายเยอรมันแห่งแบรนแดนเบิร์กให้จัดตั้งโยธวาทิตทหารขึ้น มีปี่ชอร์ม 3 คัน แตร ทรัมเป็ต แตรฝรั่งเศส และเครื่องกระทบ กลายเป็นโยธวาทิตที่ใช้ได้ทั้งการเดินทัพและนั่งบรรเลงกับที่ ต่อมาทั้งฝรั่งเศส และอังกฤษมีการใช้และดัดแปลงให้โยธวาทิตมีความครึกครื้นมากขึ้น โดยมีการแต่งเพลงขึ้นเฉพาะสำหรับการบรรเลงด้วยโยธวาทิต
โยธวาทิต ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “วงดนตรีที่บรรเลงโดยทหาร ซึ่งมาจากคำว่า โยธ แปลว่า ทหาร รวมกับคำว่า วาทิต แปลว่า ดนตรี หรือผู้บรรเลงดนตรี” โยธวาทิต “เป็นคำศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยอาจารย์มนตรี ตราโมท ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน” ส่วนในรากศัพท์ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Military Band โดยคำว่า Military นั้นหมายถึงกองทัพ ส่วนคำว่า Band มาจากคำว่า Banda (ในภาษาอิตาเลียน) ใช้เรียกวงดนตรีประเภทหนึ่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้คำว่า Marching Band ซึ่งไม่ว่ารากศัพท์จากภาษาต่างประเทศจะกล่าวอย่างไรแต่ในประเทศไทยเรียกว่าวงโยธวาทิต ที่ผสมวงโดยมีเครื่องดนตรีหลัก 3 กลุ่ม คือ
 
1. กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments
หลังศตวรรษที่ 18 มีเครื่องดนตรีเกิดใหม่ โดยเฉพาะเครื่องเป่า เช่น [[โอโบ]] [[คลาริเน็ต]] [[บาสซูน]] เข้ามามีบทบาทมากขึ้นและเพลงที่โยธวาทิตใช้บรรเลงเริ่มมีการนำเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาดัดแปลงให้โยธวาทิตนำมาบรรเลง และการนั่งบรรเลงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น
2. กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass Instruments)
 
3. กลุ่มเครื่องกระทบ (Percussion Instruments)
==ลักษณะ==
แต่เดิมนั้น คำว่า Band จะใช้เรียกวงดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะของ พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ซึ่งในสมัยนั้นจะหมายถึงวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ ในปัจจุบันเราใช้คำว่า Band ต่อท้าย วงดนตรีที่มีลักษณะการผสมเครื่องดนตรีในรูปแบบต่างๆกัน เช่น Wind Band, Military Band, Concert Band, Symphonic Band, หรือ Jazz Band เป็นต้น ตามรากศัพท์เดิม Banda นั้น หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วย กลุ่มเครื่องทองเหลือง และเครื่องกระทบ
โยธวาทิต แบ่งตามลักษณะการบรรเลง ได้ดังนี้
วงโยธวาทิต เป็นวงดนตรีสำหรับทหาร มีจุดประสงค์ในการใช้งาน คือ การร้องเพลงซอยเท้าเข้าสู่สนามรบของทหาร บทบรรเลงส่วนใหญ่จะเป็นเพลงมาร์ช (March) หรือใช้ประกอบการสวนสนามของทหาร เพื่อปลุกใจในยามสงคราม หรือประกอบพิธีต่างๆของทหาร โดยเฉพาะ มีผู้บรรเลงจำนวนมาก มีเครื่องดนตรีจำพวกแตรทรัมเป็ต (Trumpet) เป็นเครื่องนำ “แตรทรัมเป็ต” ที่เป็นเครื่องดนตรีนำขบวนนั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนกลุ่มใดเรียก เช่นแตรงอน, Alphorn, Buisine, Lituus, Slide Trumpet หรือทรัมเป็ตที่ใช้ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เรียกว่า “แตรวิลันดา”(สุกรี เจริญสุข, 2539: 25) กล่าวถึงแตรวิลันดาว่า “ซึ่งเชื่อว่าเป็นแตรฝรั่งที่ชาวฮอลันดานำเข้ามาเป็นชาติแรกในกรุงสยามจึงเรียกว่าแตรวิลันดา คำว่าวิลันดานั้นน่าน่าจะหมายถึง ฮอลันดา” เสียงแตรที่เป่าจะเป็นสัญญาณที่ใช้ต่างกันตามโอกาสเช่น สัญญาณที่ให้ทหารบุกโจมตี สัญญาณ รวมพล สัญญาณแจ้งเหตุ หรือใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น เพลงเดิน เพลงรุก เพลงรบ เพลงถอย เป็นต้น
# วงเดินแถว (marching band) เป็นโยธวาทิตที่มีลักษณะการเดินบรรเลง เป็นแถวตอนลึก อาจบรรเลงเฉพาะวงหรือนำหน้าขบวนต่างๆ ที่ต้องการรูปแบบที่เป็นระเบียบ เข้มแข็ง เร้าใจ ส่วนมากจะนิยมบรรเลง[[เพลงมาร์ช]]
# วงนั่งบรรเลง (concert band) หมายถึง การนำโยธวาทิตมานั่งบรรเลงเป็นลักษณะของคอนเสิร์ต โดยนำบทเพลงที่เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับโยธวาทิตมาบรรเลง ลักษณะคล้าย[[วงออร์เคสตรา]] หรืออาจนำเอาบทเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับโยธวาทิต จึงทำมีอีกชื่อเรียกว่า '''วงซิมโฟนิค แบนด์ (Symphonic Band)'''
# วงแปรขบวน (display) หมายถึง การนำโยธวาทิตมาบรรเลงประกอบการแปรแถว โดยผู้บรรเลงต้องเดินแปรรูปขบวนเป็นรูปต่างๆ ซึ่งเพลงที่ใช้บรรเลงต้องเหมาะสมกับรูปแบบที่แปรขบวนด้วย วงแบบนี้อาจมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า โชว์แบนด์ (show Band)
 
==เครื่องดนตรีที่ใช้ในโยธวาทิต==
ประเภทของเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงโยธวาทิต มี 3 ประเภท ดังนี้
# [[เครื่องเป่าลมไม้]] (woodwind instruments) ได้แก่ ปิคโคโล (piccolo) โอโบ (oboe) บาสซูน (bassoon) คลาริเน็ต (clarinet) เบสคลาริเน็ต (bass clarinet) อัลโตแซกโซโฟน (Alto saxophone) เทเนอร์แซกโซโฟน(tenor saxophone) บาริโทนแซกโซโฟน (Bariton saxophone) ฟลูต (flute) และ อัลโตคลาริเน็ต (Alto clarinet)
# [[เครื่องเป่าทองเหลือง]] (brass instruments)ได้แก่ ทรัมเป็ต (trumpet) คอร์เน็ต (cronet) ทรอมโบน (trombone) เฟรนซ์ฮอร์น (French horn) บาริโทน (baritone) ยูโฟเนียม (euphonium) ทูบา (tuba) และซูซาโฟน (susaphone)
# [[เครื่องกระทบ]] (percussion instruments) ได้แก่ กลองเล็ก (snare drum or side drum) กลองเทเนอร์ (Tenor drum) กลองใหญ่ (bass drum) ฉาบ (cymbals) ไซโลโฟน (xylophone) กลอกเคินสปีล (gockenspiel) ไทรเองเกิล (triangle) กลองทอมบา (tomba) และกลองทิมปานี (timpani)
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[แตรวง]] (brass band)
 
== อ้างอิง ==
{{เริ่มอ้างอิง}}
* สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ. '''วงโยธวาทิต'''. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา. 2547
{{จบอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ดนตรี]]