ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำตรัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zince (คุย | ส่วนร่วม)
Nantadej (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 17:
== ประวัติศาสตร์แม่น้ำตรัง ==
 
มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า แม่น้ำตรังเป็นเส้นทางการคมนาคมมาเป็นเวลากว่าพัน[[ปี]]แล้ว โดยมีการค้นพบ[[พระพิมพ์ดินดิบ]] ที่[[ถ้ำเขาขาว]] [[เขาสาย]] [[เขาปินะ]] [[อำเภอห้วยยอด]] และเขาวิเศษ [[อำเภอวังวิเศษ]] แสดงให้เห็นว่าผู้คนจาก[[อินเดีย]] ที่นับถือ[[พุทธศาสนา]][[นิกายมหายาน]]ได้เดินทางผ่าน และแวะพักบริเวณแถบนี้ก่อนจะข้ามไปฝั่งตะวันออก ซึ่งมีอาณาจักรอาณาจักร[[ศรีวิชัย]]รุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษ 12-15
 
กระทั่งสมัย[[อยุธยา]]พบหลักฐานเอกสารที่ระบุว่า [[โปรตุเกส]]ได้เข้ามาติดต่อกับไทยสมัย[[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]] โดยเดินทางผ่านเมืองตรังถึง 2 ครั้ง ในช่วงปี พ.ศ. 2054-2057 และยังมีหลักฐานจารึกที่[[เขาสามบาตร]] ที่ระบุว่าเมื่อ [[พ.ศ. 2157]] ตรงกับสมัย[[พระเอกาทศรถ]] มีกรมการเมือง และชาวบ้านมาร่วมฉลองบุญกุศลที่ [[เขาสระบาป]] แสดงถึงความเจริญของเมืองที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตรัง
 
การขยายตัวของเมือง มีการโยกย้ายเมืองตามลำน้ำของแม่น้ำตรังเรื่อยมาจากทางทิศเหนือลงมาจนกระทั่งสิ้นสุดลงที่ [[ควนธานี]] ที่ตั้งเมืองตร้งในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] โดยจุดเริ่มต้นของการตั้งเมืองอยู่ที่ [[ปากคลองปาง]] ซึ่งสังเกตดูได้จากความโอ่อ่าของวัด เช่น [[วัดถ้ำพระพุทธ]] [[วัดคีรีวิหาร]] [[วัดย่านเกลื่อน]] แต่ด้วยลักษณะภูมิประเทศติดภูเขา ทำการเกษตรได้น้อย ผู้คนจึงอพยพลงมาตามลำน้ำ และตั้งเมืองใหม่ที่ [[เมืองภูรา|ตำบลลำภูรา]] ซึ่งมีหลักฐานบันทึกไว้ว่าเมืองภูราตั้งอยู่ทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำตรัง ด้วยสาเหตุเดิมที่พื้นที่[[เมืองภูรา]]เป็นควนสูง ๆ ต่ำ ๆ ทำนาไม่พอกิน จึงย้ายมายัง นาแขก และจนถึง ควนธานีตามลำดับ
 
ราวปี[[พ.ศ. 2367]] มีการตั้งชุมชนริมฝั่งแม่น้ำตรังโดยชาวจีนที่มาจาก[[ปีนัง]] ล่องเรือเข้ามาทางปากแม่น้ำตรัง และได้อาศัยแม่น้ำเป็นเส้นทางในการทำการค้า จึงได้ชื่อว่า [[ชุมชนท่าจีนจี]]น และเรียกแม่น้ำที่ไหลผ่านช่วงนี้ว่า คลองท่าจีน โดยเส้นทางการค้าหลักในยุคนั้นอาศัยการล่องเรือเลาะมาทาง[[คลองปอน]]สู่[[คลองห้วยยาง]] และมาขึ้นฝั่งที่[[ตำบลทับเที่ยง]] [[อำเภอเมืองตรัง]]
 
== การใช้ประโยชน์ ==