ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 2:
'''โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ''' เป็น[[โรงพยาบาล]]รัฐบาลในสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ [[กองทัพเรือ]] [[กระทรวงกลาโหม]] ตั้งอยู่ที่ 224 ถนนริมทางรถไฟเก่า แขวงบางนา [[เขตบางนา]] กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-475-2416, 02-475-2408,02-393-0959,02-173-6648, โทรสาร 02-475-2404
มีจำนวนเตียงที่เปิดรับผู้ป่วยจิตเวช 14 เตียง ยาเสพติด 40 เตียง
 
ประวัติโรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ กรมแพทย์ทหารเรือ
 
• ๑ เมษายน ๒๔๓๓ พบหลักฐานพระราชบัญญัติแต่งตั้งข้าราชการทหารเรือ มีนามโรงพยาบาลทหารเรือปรากฏอยู่ มีที่ตั้งอยู่บริเวณ รร.สตรีวัดระฆัง ในปัจจุบัน (เราจึงถือเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันสถาปนา กรมแพทย์ทหารเรือ)
• พ.ศ.๒๔๕๓ มีดำริจะสร้างกองแพทย์ และ รพ.ทหารเรือใหม่ บริเวณปากคลองมอญด้านเหนือ ในช่วงเวลาที่ นพ.เบอร์เมอร์ ชาวเยอรมันเป็นนายแพทย์ใหญ่ และ ร.ต.เภา เป็น ผช.นายแพทย์ใหญ่
• การก่อสร้างเริ่มเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่การก่อสร้างแล้วเสร็จและย้าย “กองแพทย์ และพยาบาลทหารเรือ” มาจากบริเวณวัดระฆัง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖
โรคส่วนใหญ่ที่รักษา - เหน็บชา (มีตึกผู้ป่วยเหน็บชา – อาคาร ๖)
- กามโรค
- ติดฝิ่น
มีอาคารทั้งสิ้น ๖ อาคาร
ตึก ๑ เป็นอาคารบังคับการ
ตึก ๒ เป็นห้องตรวจโรคและผ่าตัด ห้องแต่งแผล ฉีดยา (โอพีดี)
ตึก ๓ เป็นห้องยา คลังยา
ตึก ๔ เป็นตึกผู้ป่วยกามโรค
ตึก ๕ เป็นตึกผู้ป่วยทั่วไป
ตึก ๖ เป็นตึกผู้ป่วยเหน็บชา (ต่อมารื้อสร้างเป็นอาคารบำบัดยาเสพติด)
• ๒๐ กันยายน ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ยกฐานะ “กองแพทย์และพยาบาลทหารเรือ” เป็น “กรมแพทย์พยาบาลทหารเรือ” ซึ่งปรากฏเป็นหลักว่าเริ่มมีการจัดหลักสูตรการศึกษาของ นร.พยาบาลทหารเรือ ขึ้นในปีนั้นด้วย โดยใช้ชื่อ “นร.อาสาสำรอง” ระยะเวลาการศึกษา ๓ เดือน ขณะเรียนได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๒ – ๖ บาท เบี้ยเลี้ยงวันละ ๒๕ สตางค์ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๑๒ บาท
กรมแพทย์และพยาบาลทหารเรือมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคหลายสมัย บางครั้งก็มีหลักฐานเป็นกรม บางครั้งก็ปรับเปลี่ยนฐานะเป็นกอง จวบจนกระทั่งในวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๘๕ มีพระราชกฤษฎีกาจัดหน่วยย่อย ในกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๑๑) พุทธศักราช ๒๔๘๕ ในมาตรา ๗ กำหนดให้กรมแพทย์ทหารเรือ
เป็นส่วนราชการหนึ่งของกองทัพเรือ ซึ่งต่อมามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะๆ
 
• จวบจนกระทั่งในปี ๒๔๙๘ ได้มีการก่อสร้าง รพ.ทหารเรือบุคคโลขึ้นบริเวณบุคคโล และมีการจัดส่วนราชการหน่วยขึ้นตรงกรมแพทย์ทหารเรือขึ้นใหม่ และปรากฏชื่อ รพ.ทหารเรือกรุงเทพขึ้น ในรายชื่อหน่วย
ขึ้นตรง พร. เมื่อ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๙๘ เพื่อใช้เรียกโรงพยาบาลทหารเรือเดิมบริเวณปากคลองมอญ ผู้อำนวยการในขณะนั้นคือ นาวาเอก เวียง วิรัติภูมิประเทศ
• ต่อมาเมื่อกรมแพทย์ทหารเรือ ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่บริเวณบุคคโล เมื่อ ๙ กรกฎาคม ๒๕๐๖ รพ.ทหารเรือกรุงเทพ ก็ยังคงใช้พื้นที่และอาคารเดิมบริเวณคลองมอญเป็นที่ทำการต่อมา
• ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ กองทัพเรือ โดย พล.ร.อ.ทวีศักดิ์ โสมาภา ท่านผู้บัญชาการทหารเรือ ในขณะนั้น
ได้พิจารณาอนุมัติให้จัดสร้างโรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพขึ้นใหม่บริเวณพื้นที่บางนา ใกล้กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ เนื่องจากบริเวณคลองมอญมีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถรองรับการขยายตัวของภารกิจที่เพิ่มมากขึ้นของ รพ.ทหารเรือกรุงเทพ ได้ ประกอบกับ เป็นการรองรับการให้บริการกำลังพลและครอบครัวที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่บางนา โดย พล.ร.อ.ทวีศักดิ์ฯ ได้เดินทางมาวางศิลาฤกษ์ เมื่อ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖
ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๒๘๒,๙๒๓,๖๘๐ บาท (สองร้อยแปดสิบสองล้านเก้าแสนสองหมื่นสามพันหกร้อยแปดสิบบาท)
เริ่มก่อสร้างเมื่อ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๘ แล้วเสร็จเมื่อ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๐
เป็น รพ.ขนาด ๑๒๐ เตียง ประกอบด้วย
- ตึกผู้ป่วยทั่วไป ๔๐ เตียง
- ตึกผู้ป่วยจิตเวช ๔๐ เตียง
- ตึกผู้ป่วยบำบัดยาเสพติด ๔๐ เตียง
ได้ดำเนินการย้ายการดำเนินการมาเป็นส่วนๆ โดย
- เปิดรับผู้ป่วยใน ของตึกจิตเวชและบำบัดยาเสพติด และแผนกพยาธิวิทยา เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐
- เปิดให้บริการแผนกทันตกรรม เมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๐
- เปิดให้บริการตรวจสุขภาพและแผนกรังสีวิทยา เมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๑
- และเปิดให้บริการทุกแผนก เมื่อ ๓ มีนาคม ๒๕๕๑
• ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ พล.ร.อ.สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เป็นประธานในพิธีเปิด
รพ.ทหารเรือกรุงเทพ พร. อย่างเป็นทางการ
• ๒๓ เมษายน ๒๕๕๒ รพ.ทหารเรือกรุงเทพ พร. ได้ประชุม นขต.พร.ฯ ประจำเดือน เมษายน ๕๒ โดยมี น.อ.พันเลิศ แกล้วทนงค์ ผอ.รพ.ฯ เป็นประธานในที่ประชุม ได้ขอมติจากที่ประชุม รพ.ฯ ให้วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิดของ รพ.ทหารเรือกรุงเทพ พร. (แห่งใหม่) จากการที่ รพ.ทหารเรือกรุงเทพ พร. บริเวณพื้นที่ปากคลองมอญ มิได้กำหนดไว้
 
 
{{โรงพยาบาลในประเทศไทย}}