ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรือบรรทุกอากาศยาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Elite501st (คุย | ส่วนร่วม)
Elite501st (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 59:
* ''ส่งด้วยเครื่องดีดและรับด้วยสายรั้ง''หรือ[[คาโทบาร์]] (''CATOBAR''): เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่มักจะบรรทุกอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด หนักที่สุด และติดอาวุธจำนวนมาก แม้ว่าเรือที่มีขนาดเล็กลงมาในประเภทนี้อาจมีข้อจำกัดอื่นอีก (เช่น น้ำหนักที่ลิฟท์ขนเครื่องบินจะรับได้) มีสามประเทศที่ใช้เรือประเภทนี้ คือ สหรัฐอเมริกา 10 ลำ ฝรั่งเศส 1 ลำ และบราซิล 1 ลำ
* ''บินขึ้นด้วยระยะสั้นและรับด้วยสายรั้ง''หรือ[[สโตบาร์]] (''STOBAR''): เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่บรรทุกอากาศยานปีกนิ่งขนาดเบาแต่มีอาวุธมากกว่า เครื่องบินที่ใช้บนเรือประเภทนี้อย่าง[[ซุคฮอย ซู-33]] และ[[มิโคยัน มิก-29เค]]ที่ใช้บน[[เรือบรรทุกอากาศยานพลเรือเอกคุซเนตซอฟ]]มักทำหน้าที่สร้างความเป็นเจ้าอากาศและการป้องกันกองเรือมากกว่าหน้าที่ในการเข้าโจมตี ซึ่งต้องมีอาวุธขนาดหนัก (เช่น ระเบิดและขีปนาวุธอากาศสู่พื้น) ปัจจุบันมีเพียงรััสเซียเท่านั้นที่มีเรือประเภทนี้ในครอบครอง จีนได้สร้าง[[เรือบรรทุกอากาศยานเหลียวหนิง]]ขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นเรือพี่น้องของเรือพลเรือเอกคุซเนตซอฟ พร้อมกับสร้างเครื่องบินเลียนแบบซู-33 เรือลำนี้ปัจจุบันมีหน้าที่ในการเป็นตัวทดลองและใ้ช้ในการฝึก รัสเซียเองก็กำัลังเตรียมที่จะสร้างเรือแบบที่คล้ายกันให้กับอินเดียโดยใช้แบบของเรือชั้นเคียฟ
* ''บินขึ้นด้วยระยะสั้นและลงจอดในแนวดิ่ง''หรือเอสโทฟล์ (''STOVL''): เรือประเภทที่สามารถบรรทุกได้เพียงอากาศยานแบบเอสโทฟล์เท่านั้น เช่น เครื่องบินตระกูล[[แฮร์ริเออร์จัมพ์เจ็ท]]และ[[ยาโกเลฟ ยัค-38]] ซึ่งมีอาวุธจำกัด ศักยภาพต่ำ และใช้เชื้อเพลิงมากกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องบินแบบปกติ อย่างไรก็ตามเครื่องบินเอสโทฟล์แบบใหม่อย่าง[[เอฟ-35 ไลท์นิง 2]]ก็มีศักยภาพที่มากขึ้นกว่าเดิม เรือประเภทนี้ประจำการอยู่ในกองทัพเรือของอินเดียและสเปนประเทศลำหนึ่งลำ อิตาลีมีสองลำ สหราชอาณาจักรและไทยมีประเทศละหนึ่งลำแต่ทั้งสองประเทศไม่ได้ใช้เครื่องบินเอสโทฟว์ต่อไปแล้ว เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกของสหรัฐที่ทำหน้าที่เป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กก็สามารถจัดได้ว่าเป็นเรือประเภทนี้เช่นกัน
 
===ประเภทแบ่งตามขนาด===