ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏวังหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
จุดที่มีการปะทะกันระหว่างทหารบกฝ่ายรัฐบาล และทหารเรือฝ่ายกบฏ เช่น [[ถนนวิทยุ]], [[ถนนพระราม 4]], [[ถนนสาทร]], [[สี่แยกราชประสงค์]] มีการยิงกระสุนข้ามหลังคาบ้านผู้คนในละแวกนั้นไปมาเป็นตับ ๆ มีผู้ได้บาดเจ็บกันทั้ง 2 ฝ่าย
 
พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (จอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] - ยศในขณะนั้น) ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการปราบปราม มีการสู้รบกันในเขตพระนครอย่างหนักหน่วง โดย พล.ต.สฤษดิ์เป็นผู้ยิงปืนจาก[[รถถัง]]ทำลาย[[ประตูพระบรมมหาราชวัง|ประตูวิเศษไชยศรี]]ของ[[พระบรมมหาราชวัง]]พังทลายลง จนในที่สุด เวลาเย็นของวันที่ [[27 กุมภาพันธ์]] ทั้ง 2 ฝ่ายก็หยุดยิง เมื่อรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้และปราบปรามฝ่ายกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศอีกครั้ง และหลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน ได้มีการสังหารบุคคลสำคัญทางการเมืองลงหลายคน เช่น [[บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข|พ.ต.อ. บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข]] อดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลและ [[โผน อินทรทัต|พ.ต. โผน อินทรทัต]] ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบและอดีตเสรีไทย รวมทั้ง[[คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี พ.ศ. 2492|การสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี]]ที่[[ถนนพหลโยธิน]] กิโลเมตรที่ 11 คือ นาย[[ทองอินทร์ ภูริพัฒน์]], นาย[[ถวิล อุดล]], นาย[[จำลอง ดาวเรือง]] และนาย[[ทองเปลว ชลภูมิ]] ซึ่งเป็นนักการเมืองในสายของนายปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น
 
== ดูเพิ่ม ==