ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรปตานี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 119:
 
=== รัตนโกสินทร์ ===
[[ไฟล์:Bangkok Ministry of Defence Cannon.jpg|250px|thumbnail|right|[[ปืนใหญ่พญาตานี]] (ชื่อเดิม: ศรีปัตตานี) ซึ่งกองทัพของ[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] ได้นำมาไว้ที่กรุงเทพฯ เมื่อครั้งสยามยกทัพไปตีเมืองปัตตานีสำเร็จใน พ.ศ. 2329]]
ในปี พ.ศ. 2329 [[รัชกาลที่ 1]] ทรงยกทัพตีเมืองปัตตานีไว้ได้ ปัตตานีจีงเป็นประเทศราชของสยามตั้งแต่บัดนั้น กองทัพสยามยึดเอาทรัพย์สมบัติและปืนใหญ่ที่หล่อในสมัยรายาบีรูไป 3 กระบอก แต่เหลือมาถึงกรุงเทพเพียง 1 กระบอก คือ[[ปืนใหญ่พญาตานี]]<ref>[http://www.geocities.ws/prawat_patani/patanilupa_thai.htm "ปัตตานีที่ถูกลืม"]Sejarah Kerjaan Patani</ref> ปัจจุบันอยู่หน้า[[กระทรวงกลาโหม]] แต่ความไม่พอใจต่อการปกครองของชาวสยาม ก่อให้เกิดกบฏครั้งใหญ่ 4 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2334 และ พ.ศ. 2351 ในสมัย[[รัชกาลที่ 2]] ทรงแยกอาณาจักรปัตตานีเป็น 7 หัวเมือง<ref>[http://www.peace.mahidol.ac.th/th/doc/separatist%20movement.pdf "ศึกษาขบวนการแบ่งแยกดินแดนและการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย”] โดยอาจารย์ชิดชนก ราฮมมลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</ref> และในปี พ.ศ. 2374 และ พ.ศ. 2381 ในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] ทรงตัดสินพระทัยให้[[ราชวงศ์กลันตัน]]ปกครองปัตตานีต่อมา<ref name= "ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปะตานี"/> กระทั่งปีพ.ศ. 2445 [[รัชกาลที่ 5]] ทรงเตรียมการปกครองแบบ[[มณฑลเทศาภิบาล]] การปกครองโดยราชวงศ์กลันตันจึงยุติลง และถือเป็นปีสิ้นสุดของอาณาจักรปัตตานี ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของสยามโดยสมบูรณ์ [[มณฑลปัตตานี]]ก่อตั้งขึ้นในปี[[พ.ศ. 2449]] แต่ถึงปีพ.ศ. 2466 ชาวบ้านจำนวนมากก็ออกมาชุมนุมประท้วงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น [[รัชกาลที่ 6]] จึงทรงออกพระบรมราโชบายสำหรับมณฑลปัตตานี เมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ไว้ 6 ข้อเพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่และข้าราชการ<ref>[http://haab.catholic.or.th/article/articleart1/art27/art27.html "พระบรมราโชบายเกี่ยวกับมณฑลปัตตานี 2466"]พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ กับหัวเมืองปักษ์ใต้ โดยดร.ชัชพล ไชยพร</ref> และนำไปสู่การยุบมณฑลปัตตานีเป็น 3 จังหวัด คือ [[ปัตตานี]] [[ยะลา]] และ[[นราธิวาส]] จนถึงทุกวันนี้
 
เส้น 130 ⟶ 131:
== ศาสนาอิสลามในปัตตานี ==
"ปัตตานี ดารุสสลาม" (فطانى د ارالسلام) มีความหมายว่า "ปัตตานี นครรัฐแห่งสันติภาพ" ได้เป็นนามเรียกขานภายหลังการเข้ารับอิสลามของสุลต่าน อิสมาอีล ชาห์ ซิลลุลลอฮฺ ฟิลอาลัม (ชื่อเดิมคือ พญาตูนักปาอินทิรามหาวังสา) ในราวปี ค.ศ.1457 <ref>[http://books.google.com/books/about/Muslim_Separatism.html?id=3WoeAAAAMAAJ "Muslim Separatism: The Moros of Southern Philippines and the Malays of Southern Thailand"] Kadir Che Man (W.), Oxford University Press, 1990 </ref>
 
 
== ลำดับกษัตริย์และผู้ปกครองอาณาจักรปัตตานี ==
[[ไฟล์:Thailand Pattani region.png|thumb|right|มณฑลปัตตานี พ.ศ. 2449-2466]]
[[ไฟล์:Mskresak.jpg|thumb|right|[[มัสยิดกรือเซะ]] สัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรปัตตานี]]
 
=== ราชวงศ์ศรีวังสา<ref>อิบรอฮิม ชุกรี. ''ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปะตานี''. เชียงใหม่:ซิลค์เวอร์มบุ๊คส์, 2549</ref><ref>[http://www.geocities.com/freepatani/malayu/malayu1.htm "มลายู ดินแดนแห่งอารยธรรม"]รายพระนามกษัตริย์,ราชินีและเจ้าเมืองที่ปกครองปาตานี</ref><ref>[http://www.kananurak.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=73888 ประวัติการสร้างเมืองปัตตานี]</ref> ===
* รายาศรีวังสา (พ.ศ.?-2043)