ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระครูอุตรการบดี (ทา โสณุตฺตโร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
หลวงพ่อทา ภายหลังจากการอุปสมบทแล้ว ได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยจนมีความรู้อย่างแตกฉาน เมื่อเห็นสมควรแล้ว ได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติพระกัมมัฏฐานควบคู่ไปกับการเรียนคาถาอาคมต่างๆจนชำนาญ จึงกราบลาพระอาจารย์ ออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ กาลเวลาได้ล่วงเลยมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ที่ท่านหลวงพ่อทาได้ออกออกธุดงค์ จนกระทั่ง พ.ศ.2430 ขณะนั้นท่านมีอายุ 51 ปี ได้เดินมาถึงบริเวณ ตำบลมาบแค จังหวัดนครปฐม ซึ่งบริเวณนั้นเป็นพื้นที่รกร้างนอกเมือง ท่านได้ปักกรดพักแรมและทราบด้วยฌาณว่า บริเวณนี้เคยเป็นพื้นที่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน หลวงพ่อทาจึงได้ออกเดินสำรวจโดยรอบ และได้พบระฆังใบใหญ่ใบหนึ่งมีอักขระขอมจารึกไว้ เป็นข้อความปริศนาแต่ตีความได้ไม่ยาก แสดงว่าเจ้าของทรัพย์ได้อธิษฐานมอบแก่ผู้มีบุญบารมีและมีจิตเป็นกุศลจึงจะสามารถพบเจอสมบัติ ซึ่งท่านหลวงพ่อทาทราบเจตนารมย์ของเจ้าของสมบัติ จึงนำสมบัตินั้นไปสร้างวัด
 
หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ช่วงนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ได้รับการยอมรับนับถือกันอย่างกว้างขวาง [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 ทรงทราบถึงกิติคุณดังกล่าว จึงรับสั่งโปรดเกล้าให้เข้าเฝ้าอยู่เสมอ หลวงพ่อทาก็เป็นเถราจารย์องค์หนึ่งที่พระองค์ท่านโปรดปราน ดังนั้นพระราชพิธีหลวงต่างๆท่านจะนิมนต์หลวงพ่อทาอยู่เสมอ
 
โดยในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ทรงบูรณะปฎิสังขรณ์องค์[[พระปฐมเจดีย์]] และทรงแต่งตั้งพระเถระ 4 รูป เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์และเฉลิมพระเกียรติองค์พระปฐมเจดีย์ ประจำทั้ง 4 ทิศ
 
#พระครูอุตรการบดี ประจำทิศเหนือ ซึ่งหลวงพ่อทา ได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์แรก และองค์ต่อมาคือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่สุข วัดห้วยจระเข้