ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาครา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 63:
 
เมืองอัครานั้นเคยถูกกล่าวถึงใน[[มหากาพย์]][[มหาภารตะ]] (Mahābhārata) โดยถูกเรียกชื่อว่า "อัครีวณา" (Agrevana) แปลตามศัพท์สันสกฤตว่า "นครชายป่า" ").<ref>{{cite web|url=http://www.sanskrit-lexicon.uni-koeln.de |title=Sanskrit-English Dictionary |accessdate=2009-11-08 |last=Williams |first=Monier |work=Cologne Digital Sanskrit Dictionaries |publisher=Cologne University }}</ref> และยังเกี่ยวข้องกับพระฤาษีอังคีรส หนึ่งในสิบมหาฤาษีของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แต่ถ้าพูดถึงการสร้างเป็นเมืองนั้น ตำนานกล่าวว่าเกิดขึ้นในสมัยเจ้าเชื้อสายราชบุตรชื่อ “ราชปฎลสิงห์” (Raja Badal Singh) เมืองนี้เคยผ่านสมรภูมิครั้งใหญ่ๆ เมื่อราวหนึ่งพันปีก่อน มีการเปลี่ยนผู้ครองเมืองเป็นระยะ กษัตริย์องค์แรกที่ย้ายเมืองหลวงจากเดลีไปยังอัคราได้แก่ สุลต่านสิกันดร โลดิ (Sultan Sikandar Lodi) เมื่อ [[ค.ศ. 1506]] (ยุคกรุงศรีอยุธยา ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 1) จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี[[ค.ศ. 1517]] สุลต่านอิบราฮิม โลดิ (Ibrahim Lodi) พระโอรส ปกครองอัคราต่อมาอีก 9 ปีจนกระทั่งพ่ายแพ้ในยุทธการแห่งปานิปัต (Battle of Panipat) ในปี [[ค.ศ. 1526]].<ref>{{cite web|url=http://asi.nic.in/asi_monu_whs_agrafort.asp |title=Agra Fort |accessdate=2009-11-08 |publisher=Archaeological Survey of India | archiveurl= http://web.archive.org/web/20091203060952/http://www.asi.nic.in/asi_monu_whs_agrafort.asp| archivedate= 3 December 2009 <!--DASHBot-->| deadurl= no}}</ref> จากนั้นมาระหว่างปีค.ศ. 1540 ถึงค.ศ. 1556 เจ้าเชื้อสายอัฟกานิสถานได้เข้าปกครองเมืองแทนเริ่มจากเจ้าเชอร์ชาห์สุรี (Sher Shah Suri) และเจ้าเหมจันทร์วิกรมทิตย์ (Hem Chandra Vikramaditya) ราชาแห่งชาวฮินดู ก่อนที่จะเริ่มโด่งดังในฐานะเมืองหลวงของ[[จักรวรรดิโมกุล]] อันยาวนานตั้งแต่ปี[[ค.ศ. 1556]] ถึง[[ค.ศ. 1658]] อันเป็นช่วงกำเนิดของโบราณสถานสำคัญในปัจจุบัน อาทิเช่น [[ทัชมาฮาล]] (Taj Mahal) [[ป้อมอัครา]] (Akra Fort) และ[[ฟาเทห์ปุร์สิคริ]] (Fatehpur Sikri) ซึ่งโบราณสถานโมกุลทั้งสามแห่งนี้ได้ถูกยกขึ้นเป็น[[มรดกโลก]] โดย[[องค์การยูนเนสโก]]
{{clear}}
 
==สภาพภูมิอากาศ==
อัคราตั้งอยู่ในเขต[[ภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง]] (Semiarid climate) ประกอบด้วยฤดูหนาวที่ไม่รุนแรง ร้อนและแห้งแล้งในฤดูร้อน และฤดูมรสุม ซึ่งในฤดูมรสุมนั้น ในบริเวณเมืองอัครา จะไม่มีลมมรสุมที่แรงเหมือนในส่วนอื่นๆของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภูมิอากาศแบบนี้ ตรงข้ามกันกับภูมิอากาศส่วนใหญ่ของอินเดีย ซึ่งเป็น[[ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น]] (Humid subtropical climate)
บรรทัด 126:
|source 1 = World Meteorological Organization.<ref name="WMO">[http://worldweather.wmo.int/066/c01561.htm World Weather Information Service-Agra], World Meteorological Organization. Retrieved 30 September 2012.</ref>
|date = December 2010}}
 
==ลักษณะทางประชากร==
จากการสำรวจประชากรในปีค.ศ. 2011 เมืองอัคราประกอบด้วยประชากรทั้งสิ้น 1,775,134 คน และในเขต[[อำเภออัครา]]จำนวน 3,620,436 คน โดยมีประชากรชายเฉลี่ยร้อยละ 53 และหญิงร้อยละ 47 ประชากรในอัครามีอัตราการรู้หนังสือร้อยละ 81 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอินเดียซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 59.5 เฉพาะประชากรชายนั้นเฉลี่ยที่ร้อยละ 86 ซึ่งถือว่าแตกต่างค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประชากรหญิง ในเขตอำเภออัครา มีอัตรรู้หนังสือเฉลี่ยร้อยละ 62.56
 
ศาสนาหลักของเมืองอัครา ประกอบด้วย [[ศาสนาฮินดู]] ร้อยละ 81.6 [[ศาสนาอิสลาม]] ร้อยละ 15.5 [[ศาสนาเชน]] ร้อยละ 1.4 และอื่นๆ อีกร้อยละ 1.5
 
จำนวนประชากรของอัคราร้อยละ 52.5 นั้นอยู่ในวัย 15-59 ปี อีกร้อยละ 11 นั้นอยู่ในกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี
{{bar box
|title= การนับถือศาสนา
|titlebar=#Fcd116
|left1=ศาสนา
|right1=เปอร์เซ็นต์
|float=right
|bars=
{{bar percent|ฮินดู|orange|81.6}}
{{bar percent|อิสลาม|green|15.5}}
{{bar percent|เชน|pink|1.4}}
{{bar percent|อื่นๆ†|black|1.5}}
|caption=Distribution of religions<br />
†<small>ได้แก่ ศาสนาซิกข์ (0.2%), ศาสนาพุธ (<0.2%).</small>
}}
 
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/อาครา"