ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เปรียญธรรม 4 ประโยค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
Aristitleism ย้ายหน้า เปรียญธรรม ๔ ประโยค ไปยัง เปรียญธรรม 4 ประโยค ทับหน้าเปลี่ยนทาง: ไม่ได้เป็น...
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนไปใช้เลขอารบิก
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:มังคลัตถทีปนีแปล.jpg|250px|thumb| ''ในภาพ:หนังสือมงคลัตถทีปนี จัดพิมพ์โดย[[มหามกุฏราชวิทยาลัย]] หลักสูตรเปรียญธรรม 4 ประโยค'']]
 
'''เปรียญธรรม 4 ประโยค''' (ชื่อย่อ ป.ธ.4) เป็นระดับชั้นการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย เรียกผู้สอบผ่านในชั้นนี้ว่า เปรียญโท [[กระทรวงศึกษาธิการ]]เทียบวุฒิผู้สอบได้ในชั้นนี้ให้เทียบเท่า[[มัธยมศึกษาตอนต้น]]<ref>[http://www.ago.go.th/interest_law/sub/sub1/sub1_55.html พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗2527]</ref>
 
== หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีในชั้นเปรียญธรรม 4 ประโยค ==
 
ในชั้นนี้ แม่กองบาลีสนามหลวง กำหนดวิชาในการศึกษาไว้ 2 วิชา คือ
บรรทัด 9:
=== วิชาแปลมคธเป็นไทย (วิชาแปล) ===
 
* วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือ มงฺคลตฺถทีปนี (ป{{ฐ}}ม ภาโค - ภาคหนึ่ง) <ref>[http://www.learntripitaka.com/Theology2.html หนังสือหมวดเปรียญธรรม ประโยค 1 ถึง 9 ]</ref>
 
==== ประวัติหนังสือ มงฺคลตฺถทีปนี ====
 
'''หนังสือมังคลัตถทีปนี ''' เป็นคัมภีร์ชั้นฎีกา อธิบายความใน[[มงคลสูตร]]ที่มาในพระไตรปิฎก<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗17 ขุททกนิกาย ขุททกปา{{ฐ}}ะ '''มงคลสูตร'''. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=41&Z=72&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 9-6-52</ref><ref>อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปา{{ฐ}}ะ '''มงคลสูตร'''. อรรถกถาพระไตรปิฎก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=5&p=3]. เข้าถึงเมื่อ 9-6-52</ref> โดยมงคลสูตรเป็นคำสอนประเภทเนยยะ คือมีข้อความเป็นร้อยแก้ว ผสมร้อยกรอง
 
ผู้รจนาคัมภีร์มังคัลตถทีปนี คือ '''พระสิริมังคลาจารย์'''<ref>พระสิริมังคลาจารย์. ''มงคลทีปนี''. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐2540</ref> พระภิกษุชาวเมือง[[เชียงใหม่]] มีอายุอยู่ประมาณ[[พุทธศตวรรษที่ 20|พุทธศตวรรษที่ ๒๐20]] ผลงานของท่านจากหลักฐานแสดงประวัติ มีอยู่สี่เรื่องคือ '''เวสสันดรทีปนี จักกวาฬทีปนี สังขยาปกาสกฎีกา มังคลัตถทีปนี'''
 
ประวัติของท่านปรากฏอยู่ในตอนท้ายผลงานของท่าน มีใจความว่า เป็นผู้ทรง[[พระไตรปิฎก]] มีศรัทธาความรู้ปรารถนาให้ตนและผู้อื่นมีความรู้ ได้รจนาคัมภีร์เวสสันตรทีปนี จักกวาฬทีปนี สังขยาปกาสกฎีกา ขณะพักอยู่ที่วัดสวนขวัญ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ[[วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร]]ในเมืองเชียงใหม่ และรจนามังคลัตถทีปนีในขณะที่พักอยู่ที่สุญญาคาร ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศใต้ 1 คาวุต ในช่วงปี [[พ.ศ. 2060]] - [[พ.ศ. 2067]] ในสมัยของท้าวลก เข้า[[นครเชียงใหม่]] อันเป็นนครที่มีความเจริญอย่างยิ่ง ผู้มีพระราชศรัทธาล้ำเลิศ ปรารถนาพระสัพพัญมุตญาณเลื่อมในใน[[พระพุทธศาสนา]]
บรรทัด 23:
=== วิชาแปลไทยเป็นมคธ (วิชาแต่ง) ===
 
[[ไฟล์:ธมฺมปทฏฐกถา ตติโย ภาโค.jpg|150px|thumb|ปกหนังสืออันเป็นที่คุ้นตาของนักเรียนบาลี '''"ธมฺมปทฏ{{ฐ}}กถา"''' หนึ่งในหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทยในชั้นประโยค 1-2 และ วิชาแต่งไทยเป็นมคธในชั้น เปรียญธรรม 4 ประโยค ''จัดพิมพ์โดยคณะกรรมการแผนกตำรา [[มหามกุฏราชวิทยาลัย]]'']]
 
วิชาแปลไทยเป็นมคธในชั้น ป.ธ. 4 นี้ ใช้หนังสือ ธัมมปทัฏ{{ฐ}}กถา ภาคที่ 1
 
* ธัมมปทัฏ{{ฐ}}กถา (ป{{ฐ}}โม ภาโค - ภาคหนึ่ง)
 
ในชั้นนี้ผู้เรียนบาลีต้องศึกษาวิธีการเแต่ง[[ภาษาไทย]]เป็น[[ภาษาบาลี]]โดยใช้หนังสือ '''อรรถกถาธรรมบทแปล ภาค 1''' (ธัมมปทัฏ{{ฐ}}กถา ภาษาไทย) เพื่อฝึกแปลเป็น[[ภาษามคธ]]
 
== หลักเกณฑ์ของผู้มีสิทธิ์สอบไล่ในชั้นเปรียญธรรม 4 ประโยค ==
 
ระดับเปรียญธรรม 4 ประโยค เรียกว่า เปรียญโท คือ ผู้ที่จะมีสิทธิสอบเปรียญธรรม 4 ประโยคขึ้นไป จะต้องสอบได้[[เปรียญธรรม 3 ประโยค]] และ[[นักธรรมชั้นโท]]ก่อน
 
== ผู้สอบไล่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค ==
 
[[พระภิกษุ]][[สามเณร]]ผู้สอบไล่ได้ในชั้นนี้จะได้รับประกาศนียบัตร เลขพัดเปรียญ มีสมณศักดิ์อันดับในงานพระราชพิธี - รัฐพิธี เหนือกว่า พระปลัดของพระราชาคณะ ชั้นสามัญ <ref>[[สมณศักดิ์#ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญในงานพระราชพิธี - รัฐพิธี|ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญในงานพระราชพิธี - รัฐพิธี]]</ref>
บรรทัด 48:
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.balee.net/index.php ข้อมูลบาลีประโยค 1-2 ถึง 9 .'''จากบาลีดอตเน็ต''']
 
{{หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี}}
 
{{เรียงลำดับ|ปเปรียญธรรม 4 ประโยค}}
{{โครงพระพุทธศาสนา}}
 
[[หมวดหมู่:ระดับชั้นเปรียญธรรม|4]]
[[หมวดหมู่:ภาษาบาลี]]
[[หมวดหมู่:การศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย]]
[[หมวดหมู่:เปรียญธรรม 4 ประโยค]]