ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตระกูลบุนนาค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงผนวช'→'ผนวช'
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงโปรด'→'โปรด'
บรรทัด 19:
ในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา บุตรเจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) สองคน คือ ท่านใจและท่านจิตรนั้น ท่านใจไม่ได้ทำราชการ แต่ท่านจิตรน้องชายซึ่งชอบพอรักใคร่กับขุนหลวงสรศักดิ์ มหาอุปราชเป็นอันมาก จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท่านจิตรเป็นพระพรหมสุรินทร์ เจ้ากรมตำรวจหน้าในพระราชวังบวรฯ แต่ท่านถึงแก่อนิจกรรมก่อนที่ขุนหลวงสรศักดิ์จะขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
 
ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงโปรดให้ข้าหลวงเดิมหลายคนที่มีความดีความชอบเป็นเจ้าพระยา พระยา พระ ฯลฯ ตามฐานานุศักดิ์ความชอบมากและน้อย ทั้งพระราชทานทรัพย์สินตามลำดับ ในจำนวนขุนนางที่ทรงตั้งขึ้นนั้น มีท่านใจซึ่งเป็นบุตรคนใหญ่ของเจ้าพระยาชำนาญศักดิ์ (สมบุญ) ด้วยคนหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นพระยาเพ็ชรพิไชย จางวางกรมล้อมพระราชวังหลวง และให้ว่ากรมอาสาจามและอาสาญี่ปุ่นด้วย
 
ส่วนบุตรสองคนของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) เจ้าเมืองตะนาวศรี ชื่อ ท่านสี และท่านสน นั้น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดา ศักดิ์ให้ท่านสีผู้พี่เป็นพระยาอมเรนทร์ จางวางกรมอาสาจาม ให้ท่านสนผู้น้องเป็นหลวงศรียศในกรมท่าขวา ต่อมาเมื่อพระยาศรีนวรัตน์ (อากามหะหมัด) บิดาเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ ชราภาพ และถึงอนิจกรรมลง เมื่ออายุ ๘๕ ปี จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงศรียศ (สน) ขึ้นเป็นพระยา-จุฬาราชมนตรี เจ้ากรมท่าขวา ทั้งพระยาอมเรนทร์ (สี) และพระยาจุฬาราชมนตรี (สน) สองคนพี่น้องนี้หาได้มีบุตรธิดาสืบเชื้อสายไม่
บรรทัด 145:
ตระกูล "บุนนาค" เป็นตระกูลเก่าแก่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ท่านเฉกอะหมัด พ่อค้าชาวเปอร์เซียและคณะ ได้เข้ามาทำการค้าขายและต่อมาได้รับราชการในกรมพระคลัง วงศ์เฉกอะหมัดได้สืบตระกูลต่อเนื่องกันมา ๖ ชั้น จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐
 
หม่อมบุนนาคหรือนายบุนนาค ผู้สืบวงศ์เฉกอะหมัดลำดับชั้นที่ ๖ เข้ารับราชการและเป็นขุนนางที่ได้รับใช้ใกล้ชิดด้วยความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้สมรสกับเจ้าคุณนวล พระกนิษฐภคินี ของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยว ดองกับพระองค์ท่าน หม่อมบุนนาครับราชการสนองพระเดชพระคุณมีความดีความชอบมากมาย ทรงโปรด เกล้าฯ เลื่อนตำแหน่งและตั้งให้เป็นเจ้าพระยามหาเสนาที่สมุหพระกลาโหม แล้วเป็นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ท่านผู้นี้เป็นต้นสกุล "บุนนาค" นับเป็นชั้นที่ ๑
 
เสนาบดีสมัยรัชกาลที่ ๒ ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ที่มาจากตระกูล ณ บางช้าง ซึ่งเป็นพระญาติทางฝ่ายพระบรมราชชนนีเป็นส่วนใหญ่ เสนาบดีในสมัยรัชกาลที่ ๓ จะเป็นขุนนางที่รับราชการในกรมวังมานาน และเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับพระองค์ท่านมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ได้แก่ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อัครมหาเสนา บดีมหาดไทย ส่วนตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีกลาโหม จะเป็นบุตรหลานในสกุลบุนนาค
 
เสนาบดีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ส่วนใหญ่มีตำแหน่งสำคัญๆ อยู่ในกรมมหาดเล็กหลวง มีเสนาบดี ๗ คน เป็นบุตรหลานโดยตรง ของตระกูลบุนนาค ได้แก่ บุตรของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ๒ ท่าน คือ ท่านดิศ และท่านทัต ได้เข้ารับราชการมาตั้งแต่แผ่นดินรัชกาลที่ ๑ เป็นผู้ที่มีบทบาทในการช่วยบริหารประเทศ ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๔ ท่านทั้งสองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์สูงสุดเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ) ผู้สำเร็จราชการทั่วพระราชอาณาจักร และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต) ผู้สำเร็จราชการพระนคร ตามลำดับ บุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ) คือ เจ้าคุณช่วง ซึ่งรับราชการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ต่อมา