ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: '''พลตรี หลวงชำนาญยุทธศิลป์''' อดีตนายทหารบกผู้เป็นหนึ่งในคณะ...
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''พลตรี หลวงชำนาญยุทธศิลป์''' อดีตนายทหารบกผู้เป็นหนึ่งใน[[คณะราษฎร]] ผู้ทำ[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] อดีตรัฐมนตรีในหลายกระทรวง และผู้ต้องหาในคดี[[กบฏพระยาทรงสุรเดช]]
 
หลวงชำนาญยุทธศิลป์ มีชื่อจริงว่า '''เชย รยะนันท์''' เมื่อกำเนิดเป็นเด็กที่กำพร้าบิดา จึงมีความอุตสาหะในการเรียนเป็นอย่างมาก ได้รับการศึกษาเบื้องต้นจาก[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]]เป็นเวลา 4 ปี จากนั้นเมื่ออายุ 13 ปีจึงได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมศึกษาราชบูรณะ ([[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]) เป็นเวลา 4 ปี จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2452<ref name="มูลบท"/>
 
ต่อมาเมื่อรับราชการเป็นทหารบก ในขณะที่มียศ [[ร้อยเอก]] (ร.อ.) หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร ที่ประกอบไปด้วยพลเรือน, ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหารทั้งทหารบกและทหารเรือ กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยบทบาทของหลวงชำนาญยุทธศิลป์ ได้ไปพบกับคณะของ[[พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)|พระยาทรงสุรเดช]] ซึ่งเป็นเสนาธิการผู้วางแผนการทั้งหมดในการปฏิวัติ ที่บริเวณทางรถไฟสายเหนือตัดกับถนนประดิพัทธ ย่านสะพานควาย ห่างจากบ้านของพระยาทรงสุรเดชไปราว 200 เมตร ซึ่งเป็นตำบลนัดพบ ในเวลา 05.00 น. จากนั้นทั้งหมดจึงได้เดินทางไปยัง[[กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์]] (ม.1 รอ.) ที่สี่แยกเกียกกาย เพื่อลวงเอากำลังทหารและยุทโธปกรณ์มาใช้ในการปฏิวัติ
โดย หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ได้ขึ้นไปยังโรงนอนของพลทหารม้า พร้อมกับหลวงรณสิทธิชัย เพื่อปลุกทหารให้ตื่นด้วยการตะโกนเสียงดังเนื้อหาว่า เวลานี้เกิดกบฏขึ้นแล้ว ยังมัวนอนอยู่ ให้ลุกขึ้นแต่งตัว โดยไม่ต้องล้างหน้า จึงทำให้ได้กำลังทหารมาทำให้การปฏิวัติสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จากนั้นที่บริเวณ[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] หน้า[[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] อันเป็นฐานบัญชาการของคณะราษฎร หลวงชำนาญยุทธศิลป์ยังเป็นผู้อ่านคำประกาศฉบับต่าง ๆ ของคณะราษฎรให้แก่ราษฎรที่ออกมาดูเหตุการณ์ด้วย<ref name="มูลบท">''มูลบทบรรพกิจ ฉบับพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หลวงชำนาญยุทธศิลป์'' ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาศ วันที่ 16 มีนาคม พุทธศักราช 2501 </ref>
 
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง[[รายนามรัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง|รัฐมนตรี (ลอย)]] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการถึง 2 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในสมัยที่ [[พจน์ พหลโยธิน|พระยาพหลพลหยุหเสนา]] เป็นนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีการก่อตั้ง[[โรงงานยาสูบ]]ขึ้นด้วย ในปี [[พ.ศ. 2482]] โดยมีสถานะเป็นผู้อำนวยการโรงงานยาสูบเป็นคนแรกด้วย<ref>[http://www.debsirinalumni.org/webboard_show_ans.php?id_quiz=471&id_topic=2 ๗๕ ปีโรงงานยาสูบจากรุ่นสู่รุ่น]</ref><ref>[http://www.thaiswatch.com/politician/info/pid/POL0000003127/info/history นายพันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันทน์)]</ref>
บรรทัด 10:
อีกทั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์[[กบฏบวรเดช]] เมื่อ [[พ.ศ. 2476]] หลวงชำนาญยุทธศิลป์ยังมีหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารกองหนุน มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบรวมไปจนถึง กำลังทหารราบ และปืนกลหนักต่าง ๆ ด้วยทุกกองพันในพื้นที่จังหวัดพระนคร
 
จากนั้นเมื่อ พันตรี [[แปลก พิบูลสงคราม]] ซึ่งเป็นเพื่อนนายทหารผู้ร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยกัน ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปลายปี [[พ.ศ. 2481]] ด้วยความขัดแย้งกับพระยาทรงสุรเดช ซึ่งมีมาตั้งแต่ก่อตั้งคณะราษฎรด้วยกันแต่เริ่มต้น จึงเกิดมีการจับกุมนักการเมือง และบุคคลสำคัญต่าง ๆ ขึ้นในข้อหาลอบสังหารนายกรัฐมนตรี เช่น ร.ท.[[ณเณร ตาละลักษณ์]], นาย[[โชติ คุ้มพันธ์]], นาย[[เลียง ไชยกาล]], [[พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)|พระยาเทพหัสดิน]] อดีตแม่ทัพใน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] หรือแม้กระทั่ง [[พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์]] เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง ซึ่งหลวงชำนาญยุทธศิลป์เองก็ถูกจับในข้อหานี้ด้วยเช่นกัน โดยถูกให้ออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัด ขณะที่ตัวของหลวงชำนาญยุทธศิลป์กำลังไปราชการที่[[ประเทศอังกฤษ]] และเมื่อเดินทางกลับมาถึงที่[[สถานีรถไฟหัวลำโพง]]ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ซึ่งขณะที่ต้องจองจำนั้นอยู่นั้น หลวงชำนาญยุทธศิลป์ยังกล่าวกับนักโทษคนอื่น ๆ ซึ่งร่วมคดีเดียวกันว่า คงเกิดความเข้าใจผิดระหว่างรัฐบาลกับตนเอง <ref name="พายัพ"/>
 
ท้ายที่สุด หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ได้ถูกย้ายไปจองจำที่[[เรือนจำบางขวาง]]เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2482 พร้อมกับนักโทษคนอื่น ๆ และถูกตัดสินให้ถูก[[ประหารชีวิต]]ในวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเ้ดียวกัน แต่ได้ถูกลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิตเช่นเดียวกับ พระยาเทพหัสดิน ซึ่งก่อนที่นักโทษประหารชุดต่าง ๆ จะถูกนำตัวไปประหารด้วยการยิงเป้าในเช้าตรู่ของแต่ละวัน รวมเป็นเวลา 3 วัน ต่างได้มาร่ำลาหลวงชำนาญยุทธศิลป์ ถึงหน้าห้องขัง เช่นเดียวกับพระยาเทพหัสดิน ด้วยความที่เคยเป็นผู้บัญชาการมาก่อน<ref name="พายัพ">พายัพ โรจนวิภาต (พ.ศ. 2554), ''ยุคทมิฬ บันทึกนักโทษฝ่ายกบฏบวรเดช''. ISBN 978-6167146-22-5</ref>
 
หลังการพ้นจากตำแหน่งของ พ.ต.แปลก ในกลางปี พ.ศ. 2487 เมื่อ นาย[[ควง อภัยวงศ์]] ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน นักโทษทางการเมืองคดีต่าง ๆ ต่างได้รับการปลดปล่อยตัว หลวงชำนาญยุทธศิลป์ก็ได้รับการปล่อยตัวด้วย และออกมาใช้ชีวิตอย่างสงบ จนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่อปลายปี พ.ศ. 2500 โดยมีพิืธีพระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาศ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2501