ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนไปใช้เลขอารบิก
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค).jpg|thumb|เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)]]
'''เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์''' มีนามเดิมว่า เทศ เกิดใน[[ราชินิกุล]] "[[บุนนาค]]" ในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔2384 เป็นบุตร[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์]] (ดิศ บุนนาค) กับหม่อมหรุ่น เข้ารับราชการในรัชกาลที่ 4 เป็นนายรองไชยขรรค์มหาดเล็ก แล้วเป็นนายสรรพวิชัยหุ้มแพรมหาดเล็ก จากนั้นเป็นพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองเพชรบุรี
 
ในรัชกาลที่ 5 ได้เลื่อนเป็นพระยาสุรินทรฤๅชัย ผู้ว่าราชการเมือง[[เพชรบุรี]] และราชการจรในเมือง[[ราชบุรี]] ดูแลการทำโทรเลขทางเมืองทวายและตัดทาง ได้รับความลำบากตรากตรำเป็นอันมาก รับราชการได้เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าหลวง[[เทศาภิบาล]]มณฑลราชบุรี เป็นผู้ที่มีความวิริยอุตสาหะ และมีความจงรักภักดียิ่ง จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ดำรง[[ศักดินา]] ๑๐10,๐๐๐000 ไร่ ได้รับพระราชทาน[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์]][[ปฐมจุลจอมเกล้า]] เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐2440
 
เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ) สมรสกับท่านผู้หญิงอู่ ธิดาพระยาภักดีนฤบดินทร์ (กุ้ง [[วงศาโรจน์]]) มีบุตรธิดา ๑๔14 คน ที่สำคัญได้แก่
 
-พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน) ใน[[รัชกาลที่ 6]]
-พระยาสุรินทรฤๅชัย (เทียม) ในรัชกาลที่ 5
-พระสัจจาภิรมย์ (แถบ) ในรัชกาลที่ 5
ธิดาอีก 5 คน ได้เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[[รัชกาลที่ 5]] ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า "[[เจ้าจอมก๊กออ]]"คือ ท่านเจ้าจอมมารดาอ่อน มีพระเจ้าลูกเธอ 2 พระองค์ คือ [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ]] และ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา]] น้องสาวของท่านเจ้าจอมมารดาอ่อน ได้แก่ ท่านเจ้าจอมเอี่ยม ท่านเจ้าจอมเอิบ ท่านเจ้าจอมอาบ และท่านเจ้าจอมเอื้อน ส่วนธิดาอีก 3 คน ได้สมรสกับพี่น้องในตระกูลบุนนาคสายเดียวกันคือ คุณหญิงอิ่ม เป็นภรรยาพระยาศรีสัชนาลัย (เจิม บุนนาค) บุตร[[เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์]] (วร บุนนาค) คุณหญิงอบ เป็นภรรยาพระยาธรรมสารเนติ (ถึก บุนนาค) บุตร[[เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี]] (ท้วม บุนนาค) และคุณหญิงอาย เป็นภรรยาพระยานิพัทธสุริยานุวงศ์ (เหม บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
 
นอกจากนี้เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ยังมีบุตรธิดาอีกหลายคนกับภรรยาอื่น บุตรที่มีบรรดาศักดิ์เป็นชั้น พระยา ได้แก่
 
-พระยามหานุภาพ (ไท) ในรัชกาลที่ 5
-[[พระยาสุรพันธเสนี]] (อิ้น) ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ในรัชกาลที่ 6
-พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ (ฮก) ในรัชกาลที่ 6
 
บุตรบางคนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระ หลวง และจมื่นตามลำดับ เช่น
 
-พระราชวิสูตรวิสุทธิรักษ์ (เชย) ในรัชกาลที่ 5
-พระภิรมย์เสนา (โพล้ง) ในรัชกาลที่ 6
-พระสุรพันธาทิตย์ (ฮัก) ในรัชกาลที่ 6
-หลวงภักดีบริรักษ์ (ชวน) ผู้ช่วยราชการจังหวัดเพชรบุรี ในรัชกาลที่ 5
-หลวงนาสาลี (เนียม) ข้าราชการเมืองเพชรบุรี ในรัชกาลที่ 5
-หลวงไอศูรย์สุทธิวิไชย (อิศร์) ในรัชกาลที่ 6
-หลวงวิจิตรสุรพันธ์ (อุ่น) ในรัชกาลที่ 6
-หลวงสมานนันทพรรค (คลุ้ย) ในรัชกาลที่ 6
-[[หลวงวิจารณ์ภัณฑกิจ]] (แจ๋ว) ในรัชกาลที่ 6
-หลวงวิสูตรอัศดร (คลาย) ในรัชกาลที่ 6
-จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (เจิม) ในรัชกาลที่ 6
 
บุตรที่เป็นมหาดเล็กได้แก่ พุ่ม อั้ง พ่วง อุ้น หาด อ่อง หอม อัด เหลี่ยม ชิน หยัด ทุ้ย เป็นต้น
 
ธิดาเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ที่เกิดจากภรรยาอื่น และได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ท่านเจ้าจอมแก้ว และท่านเจ้าจอมแส ธิดาชื่อ หวน ได้เป็น หม่อมห้ามใน[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์]][[ราชสกุล]] [[จักรพันธุ์]] ธิดาชื่อ คุณหญิงกุ่ม เป็นภรรยาพระยาชัยสุรินทร์ (ตาล บุนนาค) และธิดาชื่อ คุณหญิงขลิบ เป็นภรรยา[[พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์]] (ทองคำ [[เศวตศิลา]]) เป็นต้น
เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) มีบุตรธิดารวม ๖๒62 คน ธิดา 7 คนได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 บุตรหลายคนรับราชการ ปฏิบัติหน้าที่ตามหัวเมืองโดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่บิดาเคยรับราชการมาก่อน เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ) ถึงอสัญกรรม ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐2450 อายุ ๖๖66 ปี
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
* [[ไฟล์:Order of Chula Chom Klao - 1st Class (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า]] ชั้น[[ปฐมจุลจอมเกล้า]] (ป.จ.)
* [[ไฟล์:King Rama IV Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png|80px|border]] [[เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4]] ชั้นที่ 4 (ม.ป.ร.4)<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2447/032/564_1.PDF พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4], เล่ม ๒๑21, ตอน ๓๒32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๗2447, หน้า ๕๖๔564 </ref>
 
== อ้างอิง ==
บรรทัด 47:
* {{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ
|ชื่อหนังสือ=ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ 5
|URL=
|จังหวัด=กรุงเทพฯ