ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชลัญจกรประจำรัชกาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงผนวช'→'ผนวช'
บรรทัด 41:
</gallery>
</center>
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 4]]''' เรียกว่า พระราชลัญจกร[[พระมหาพิชัยมงกุฎ|พระมหามงกุฎ]] ลักษณะเป็นรูปกลมรี ลายกลางเป็นรูป[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]] อันเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "[[มงกุฎ]]" ซึ่งเป็นศิราภรณ์สำคัญของพระมหากษัตริย์ อยู่ในเครื่องเบญจราชกุธภัณฑ์ มี[[ฉัตร]]บริวารตั้งขนาบข้างที่ริมขอบทั้งสองข้าง มีพานทองสองชั้นวางพระแว่นสุริยกานต์หรือ[[เพชร]]ข้างหนึ่ง สมุดตำราข้างหนึ่ง รูปพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรนี้มาจากฉายาเมื่อทรงผนวชว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากเหตุที่ได้ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทาง[[อักษรศาสตร์]]และ[[ดาราศาสตร์]] องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 6.8 เซนติเมตร
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 5]]''' เรียกว่า พระราชลัญจกรพระเกี้ยวยอด ลักษณะเป็นรูปพระจุลมงกุฎ (หรือ[[พระเกี้ยว]]) เปล่งรัศมีประดิษฐ์บนพานแว่นฟ้า เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลความหมายว่าเป็นศิราภรณ์ชนิดหนึ่งอย่างมงกุฎ มีฉัตรบริวารตั้งขนาบข้าง ที่ริมขอบทั้งสองข้างมีพานแว่นฟ้าและพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรข้างหนึ่ง วางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรและสมุดตำรานั้น เป็นการเจริญรอยจำลองพระราชลัญจกรประจำพระองค์ [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถ องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 6.8 เซนติเมตร
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 6]]''' เรียกว่า พระราชลัญจกร[[วชิระ|พระวชิระ]] เป็นรูปวชิราวุธ เปล่งรัศมีเป็นสายฟ้า ประดิษฐ์บนพานแว่นฟ้าตั้งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบบัวตั้งอยู่สองข้าง เป็นสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" ซึ่งหมายถึง สายฟ้าอันเป็นเทพศาสตราของ[[พระอินทร์]] องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 6.8 เซนติเมตร