ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงเป็นพระ'→'เป็นพระ'
บรรทัด 19:
| doi =
| id =
| accessdate = 4 กันยายน พ.ศ. 2550}}</ref> ในปี [[พ.ศ. 2461]] พระองค์ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติ และต่อมาได้ทรงเข้าร่วมพรรค[[นาซีเยอรมัน]] ยังความเสื่อมเสียที่ใหญ่หลวงมาให้แก่[[เจ้าหญิงอลิซ เค้านท์เตสแห่งแอธโลน]] ซึ่งทรงเป็นพระภคินีเพียงพระองค์เดียว [[เจ้าหญิงแมรีแห่งเท็ค|สมเด็จพระราชินีแมรี่]] พระภคินีในพระเชษฐภรรดา รวมถึง[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5]] ซึ่งเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งด้วย
 
==พระชนม์ชีพในวัยเยาว์==
บรรทัด 31:
==ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา==
 
ในปี [[พ.ศ. 2443]] ดยุคแห่งออลบานี ที่มีพระชนมายุ 14 พรรษาได้เสวยราชสมบัติในรัฐดยุคครองนครแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธาสืบต่อ[[เจ้าชายอัลเฟรด ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา]] พระปิตุลาซึ่งทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ส่วน[[เจ้าชายอัลเฟรดแห่งเอดินเบอระ]] (ซึ่งมีพระนามเรียกเล่น "แอฟฟี่หนุ่ม") พระโอรสองค์เดียวในดยุคแห่งเอดินเบอระสิ้นพระชนม์ในปี [[พ.ศ. 2442]] และ[[เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุคแห่งคอนน็อต|ดยุคแห่งคอนน็อต]] พระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทรงสละราชสิทธิ์การสืบราชสมบัติก่อนแล้ว [[เจ้าชายอาร์เธอร์แห่งคอนน็อต]] พระโอรสในเจ้าชายอาร์เธอร์ กำลังทรงศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วิทยาลัยอีตันกับเจ้าชายชาร์ลส์ และทรงขู่ที่จะทำร้ายเจ้าชายชาร์ลส์หากไม่ทรงยอมรับการสืบราชสมบัติ เจ้าชายทรงปกครองภายใต้ระบอบผู้สำเร็จราชการโดยเจ้าชายแห่งโฮเฮ็นโลเฮ-แล็งเก็นบูร์กอยู่เป็นเวลาห้าปี เมื่อพระชนมายุครบกำหนดในวันที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2448]] ดยุคแห่งออลบานีก็ทรงเถลิงอำนาจตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่มีพระราชสถานะเป็นดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชนัดดาพระองค์หนึ่งในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระองค์ทรงเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของ[[แกรนด์ดยุคแอร์นส์ ลุดวิกแห่งเฮสส์และไรน์]] เจ้าชายแห่งเวลส์ (ต่อมาคือ [[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5]]) [[พระจักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย (เจ้าหญิงอลิกซ์แห่งเฮสส์และไรน์)|สมเด็จพระจักรพรรดินี อเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย]] [[เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินเบอระ|สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย]] [[เจ้าหญิงม็อดแห่งเวลส์|สมเด็จพระราชินีม็อดแห่งนอร์เวย์]] [[เจ้าหญิงวิกตอเรีย ยูจีนีแห่งแบ็ตเต็นเบิร์ก|สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ยูจีเนียแห่งสเปน]] และ[[สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์]] นอกจากนี้แล้วยังทรงเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งใน[[สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี]] แต่จากการดูแลพระญาติหนุ่มพระองค์นี้ของพระจักรพรรดิแสดงให้เห็นว่าเจ้าชายชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ดทรงเป็นรู้จักในฐานะพระราชโอรสองค์เจ็ดของพระองค์มากกว่า<ref>{{cite book |last=Sandner |first=Harold |others=Andreas, Prinz von Sachsen-Coburg und Gotha (preface) |title=Das Haus von Sachsen-Coburg und Gotha 1826 bis 2001 |origyear=2004 |publisher= Neue Presse GmbH |location=96450 Coburg |language= German |isbn=3000085254 |pages=195 |chapter=II.8.0 Herzog Carl Eduard |quote= Der deutsche Kaiser Wilhelm II. kummert sich persönlich um ihn, Carl Eduard ist wiederholt Gast am kaiserlich Hof in Berlin und wird der "siebte Sohn des Kaisers" genannt.}}</ref>
 
==อภิเษกสมรส==
บรรทัด 58:
==สงครามโลกครั้งที่ 1==
 
ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] เจ้าชายชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ดทรงสนับสนุน[[ประเทศเยอรมนี]]และทรงปฏิบัติราชการเป็นนายพลในกองทัพบกเยอรมัน (แม้ว่าจะมิเคยทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการใหญ่) ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 มีพระราชโองการให้ถอดถอนพระนามของเจ้าชายออกจากทะเบียนอัศวินแห่งการ์เตอร์ในปี [[พ.ศ. 2458]] ต่อมาในเดือน[[กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2460]] เพื่อที่จะออกจากพื้นเพที่เป็นเยอรมันของราชวงศ์ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเปลี่ยนชื่อ[[พระราชวงศ์อังกฤษ]]จาก[[ราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา]]เป็น[[ราชวงศ์วินด์เซอร์]] ในปีนั้นรัฐสภาอังกฤษได้ผ่านพระราชบัญญัติการถอดถอนฐานันดรศักดิ์ซึ่งให้อำนาจสภาองคมนตรีที่จะสืบสวน "บุคคลใดก็ตามอันมีศักดิ์เป็นขุนนางหรือเจ้าชายอังกฤษ ซึ่งได้ถืออาวุธต่อต้านพระเจ้าอยู่หัวหรือพันธมิตรของพระองค์ หรือซึ่งร่วมเป็นภาคีกับศัตรูของพระเจ้าอยู่หัว" ภายใต้เงื่อนไขในพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว พระบรมราชโองการตามคำแนะนำของคณะองคมนตรีลงวันที่ [[28 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2462]] ได้ถอดถอนบรรดาศักดิ์ขุนนางอังกฤษ ดยุคแห่งออลบานี เอิร์ลแห่งคลาเรนซ์ และบารอนแห่งอาร์คโลว์ของเจ้าชายชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ดออกอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้พระองค์และพระโอรสธิดายังทรงสูญเสียฐานันดรศักดิ์เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักร รวมทั้งพระอิสริยยศในชั้นเจ้าฟ้า (Royal Highness) อีกด้วย<ref>ในฐานะพระราชนัดดาของพระประมุขแห่งอังกฤษ ผ่านทางพระราชโอรส เจ้าชายชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ดทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ในฐานันดรศักดิ์ชั้นเจ้าฟ้า ตามพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียฉบับวันที่ [[30 มกราคม]] [[พ.ศ. 2407]] และวันที่ [[27 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2441]] การงดเว้นบรรดาศักดิ์ขุนนางตามพระราชบัญญัติถอดถอนฐานันดรศักดิ์ไม่มีผลต่อ[[ลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ]]ของเจ้าชาย ตามข้อกำหนดที่วางไว้เมื่อปี [[พ.ศ. 2258]] พระโอรสและธิดาของเจ้าชาย ซึ่งทรงเป็นพระราชปนัดดาในสายพระราชโอรสที่ถูกกฎหมายของพระประมุขแห่งอังกฤษ ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ฐานันดรศักดิ์ชั้นเจ้าฟ้า แต่กระนั้นสิทธิในการใช้พระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ของอังกฤษได้ถูกยกเลิกโดยพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ลงวันที่ [[30 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2460]]</ref>
 
==พลเรือนสามัญ==
บรรทัด 68:
เมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] สิ้นสุดลง รัฐบาลทางการทหารอเมริกันในรัฐบาวาเรีย ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลจอร์จ สมิธ แพ็ตตันได้ทำการกักบริเวณดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธาอยู่ภายในพระตำหนักที่ประทับอันเนื่องมาจากการสนับสนุนฝ่าย[[นาซีเยอรมัน]] ในปี [[พ.ศ. 2489]] พระองค์ทรงถูกพิพากษาคดีในศาลการกำจัดระบอบนาซีและทรงถูกปรับอย่างหนัก ทรัพย์สมบัติจำนวนมากในเมืองแซ็กโซนีและโคบูร์กถูกยึดโดยกองทัพโซเวียต
 
ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธาทรงดำรงพระชนม์ชีพบั้นปลายด้วยความโดดเดี่ยว พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ [[6 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2497]] ณ เมืองโคบูร์ก โดยทรงเป็นพระราชนัดดาผู้ชายพระองค์ที่ทรงมีอาวุโสมากกว่าในสองพระองค์ที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย โดยพระราชนัดดาอีกพระองค์หนึ่ง คือ [[อเล็กซานเดอร์ เมานท์แบ็ตเต็น มาร์ควิสแห่งคาริสบรูค]] อดีตเจ้าชายแห่งแบ็ตเต็นเบิร์ก ซึ่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ [[23 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2503]]
 
==พระอิสริยยศ และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์==