ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงเป็นพระ'→'เป็นพระ'
บรรทัด 24:
==ช่วงต้นพระชนม์ชีพ==
[[ไฟล์:Yohannesson.jpg|thumb|left|พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสที่ 4 แห่งเอธิโอเปีย(ซ้าย) ผู้ทรงเป็นศัตรูสำคัญของเนกัสเมเนลิก พระบิดาของเจ้าหญิงเซาดีตู และอารายา เซลาสซี โยฮันเนส(ขวา) พระสวามีพระองค์แรกของเจ้าหญิงเซาดีตู]]
เจ้าหญิงประสูติในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2419 เจ้าหญิงได้รับการแบ็ฟติสท์ในพระนาม '''อัสคารา มาเรียม''' (แปลว่า "Askal of Mary" เป็นชื่อ[[ดอกไม้]]ชนิดหนึ่ง) แต่ทรงใช้พระนามจริงว่า '''เซาดีตู''' (ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่ามีพระนามว่า ''จูดิธ'' [Judith] ในภาษาอังกฤษ) พระนางทรงเป็นพระราชธิดาใน ''[[เนกัส]]''(กษัตริย์) เมเนลิกแห่ง[[ชีวา]] ซึ่งทรงเป็น[[สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 แห่งเอธิโอเปีย]]ในอนาคต พระราชมารดาของพระนางคือ ''เวย์ซิโร''(ท่านผู้หญิง) [[อาเบชี]] เป็นท่านผู้หญิงแห่งวอลโล และเป็นพระชายาของเนกัสเมเนลิกเพียงชั่วครู่ พระราชมารดาของพระนางทรงแยกทางกับเนกัสเมเนลิกเมื่อเจ้าหญิงเซาดีตูยังทรงพระเยาว์ และเจ้าหญิงทรงได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากพระราชบิดาและพระชายาอีกองค์หนึ่งของพระบิดาคือ [[บัฟฟานา]] หลังจากนั้นเนกัสเมเนลิกทรงอภิเษกสมรสกับ[[สมเด็จพระจักรพรรดินีเตย์ตู เบตุล|เตย์ตู เบตุล]] แต่พระองค์ไม่มีพระโอรสธิดากับพระนางเตย์ตู เบย์ตุล เนกัสเมเนลิกมีพระโอรสธิดาซึ่งเป็นที่รู้จัก 3 พระองค์ได้แก่ เจ้าหญิงเซาดีตู, พระโอรส เจ้าชายอัสเฟา วอซเซน ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ และพระราชธิดาอีกพระองค์คือ เจ้าหญิงชีวา เร็กกา ซึ่งเป็นพระราชมารดาใน [[สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูที่ 5 แห่งเอธิโอเปีย|เจ้าชายลิจ อิยาซู]] ซึ่งในที่สุดเจ้าชายจะเป็นรัชทายาทของจักรพรรดิเมเนลิก อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิยังทรงสนิทสนมกับเจ้าหญิงเซาดีตู ซึ่งพระนางทรงมีความสัมพันธ์อันดีกับพระมารดาเลี้ยงคือ สมเด็จพระจักรพรรดินีเตย์ตู และทรงเป็นส่วนหนึ่งของราชสำนักของพระราชบิดาในชั่วพระชนม์ชีพส่วนใหญ่ของพระนาง
 
ในปีพ.ศ. 2429 เจ้าหญิงเซาดีตูในพระชนมายุ 10 ชันษา ทรงอภิเษกสมรสกับ ''[[ราส]]'' [[อารายา เซลาสซี โยฮันเนส]] พระราชโอรสและทรงเป็นองค์รัชทายาทใน[[สมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสที่ 4 แห่งเอธิโอเปีย]] เป้นการอภิเษกสมรสทางการเมืองซึ่งถูกจัดการเมื่อเนกัสเมเนลิกทรงยอมรับในพระราชอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนส ในที่สุดสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสและเนกัสเมเนลิกทรงขัดแย้งกันอีกครั้ง ซึ่งเนกัสเมเนลิกทรงก่อการกบฏต่อต้านพระราชอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนส พระชนม์ชีพการอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงเซาดีตูไม่มีพระโอรสและพระธิดาร่วมกัน เนื่องจากยังทรงพระเยาว์เกินกว่าที่จะอภิเษกสมรส ถึงแม้ว่าพระสวามีของพระนางจะมีพระโอรสกับสตรีอื่น เมื่ออารายา เซลาสซีสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2431 [[ไฟล์:Gugsa Welle.gif|thumb|left|ภาพถ่าย กักซา เวลเล พระสวามีองค์ที่สองของพระนางเซาดีตู]] พระนางทรงออกจากเมือง[[เมเคเล]]และทรงกลับไปยังราชสำนักของพระราชบิดาในชีวา แม้ว่าเนกัสเมเนลิกกับสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสจะทรงเป็นอริต่อกัน เจ้าหญิงเซาดีตูทรงจัดการกับความขัดแย้งให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
บรรทัด 31:
==ก้าวขึ้นสู่พระราชอำนาจ==
[[ไฟล์:Emperor Menelik II.png|thumb|left|พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 แห่งเอธิโอเปีย พระราชบิดาของพระนางเซาดีตู ทรงฉลองพระองค์ราชาภิเษกประทับบนราชบัลลังก์]]
จากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสที่ 4 ใน[[สมรภูมิกัลลาบัต]] (หรือ "สมรภูมิเมเต็มบา") จากการที่ทรงสู้รบกับมุสลิม[[มะห์ดี]]แห่ง[[ซูดาน]] เนกัสเมเนลิกแห่งชีวาทรงรับพระราชอำนาจและทรงดำรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 แห่งเอธิโอเปียในปีพ.ศ. 2432 เหตุการณ์ครั้งนี้ถ่อเป็นการฟื้นฟูสายสืบราชสันตติวงศ์บุรุษ ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิโยฮันเนสทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ผ่านสายสันตติวงศ์สตรี ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 พระนางเซาดีตูจึงทรงสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถพระองค์สุดท้ายซึ่งเป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์จากบุรุษแห่ง[[ราชวงศ์โซโลมอน]] เนื่องจากรัชทายาทของพระนางคือ [[สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย]] ทรงสืบราชสันตติวงศ์ผ่านทางสตรี
 
สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิก พระราชบิดาของพระนางทรงสถาปนาพระราชอำนาจสูงสุดภายในและพระเกียรติยศสู่ภายนอก โดยพระองค์ทรงทำการขยายอาณาเขตของจักรวรรดิและสถาปนาจักรวรรดิสมัยใหม่ได้สำเร็จในปีพ.ศ. 2441<ref name="Zewde, Bahru 1991">Zewde, Bahru. A history of Ethiopia: 1855-1991. 2nd ed. Eastern African studies. 2001</ref> นอกจากนี้สมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพจักรวรรดินิยมอิตาลีภายใต้[[สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 แห่งอิตาลี]]ที่ทรงต้องการยึดเอธิโอเปียเป็นอาณานิคมซึ่งทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิมีพระเกียรติยศขจรขจายไกลจาก ชัยชนะใน[[สงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่ 1]] ณ [[สมรภูมิแอดวา]] ถือเป็นการรับรองอิสรภาพของเอธิโอเปียจากมหาอำนาจภายนอกและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยตัวแทนในราชสำนักสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกและสามารถอธิบายเขตแดนกันชนกับอาณานิคมอื่นๆได้<ref name="Zewde, Bahru 1991"/>
บรรทัด 43:
===กลอุบายทางการเมือง===
[[ไฟล์:Zewditu and favored priest.png|left|thumb|พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปียกับนักบวชคนสนิท]]
ในขณะที่ชนชั้นสูงเอธิโอเปียซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยมโดยทั่วไปได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้แสดงความกระตือรือร้นน้อยเกี่ยวกับพระญาติของพระนางซึ่งมีมากมาย [[สมเด็จพระจักรพรรดินีเตย์ตู เบตุล|สมเด็จพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวงเตย์ตู เบตุล]][[ไฟล์:TayituIyasuSkinner.jpg|thumb|พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวงเตย์ตู เบตุล (กลาง)กับพระราชนัดดาของพระนางทั้งสองพระองค์ และพระนางเตย์ตูทรงเป็นพระมารดาเลี้ยงในสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู]] พระมารดาเลี้ยงของพระนางเซาดีตูและเป็นพระปิตุจฉาในพระสวามีของพระนาง ได้เสด็จออกจากเมืองหลวงหลังการสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 แต่ยังทรงมีความคลางแคลงพระทัยจากการที่ทรงทำการเล่นพรรคเล่นพวกอย่างเห็นได้ชัดซึ่งพระนางทรงกระทำการเป็นประจำในรัชสมัยของอดีตพระราชสวามี จากความพยายามที่จะขจัดอิทธิพลของสมเด็จพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวง กลุ่มชนชั้นสูงได้กระทำการแต่งตั้งพระนัดดาของพระนาง(เจ้าชาย[ราส] [[กักซา เวลเล]] พระสวามีของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู)ให้ไปเป็นข้าหลวงปกครองในที่ห่างไกลเพื่อขจัดเจ้าชายออกจากอิทธิพลในราชสำนัก การกระทำการครั้งนี้ถือเป็นการต่อต้านสมเด็จพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวงเตย์ตู เบตุลแทนที่จะต่อต้านสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูซึ่งเชื่อว่าสร้างความขุ่นเคืองพระทัยสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูอย่างมาก สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูยังต้องทรงทนรับความรู้สึกผิดต่อการที่ทรงยึดพระราชบัลลังก์มาจากสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซู ซึ่งขณะนี้คือ เจ้าชายลิจ อิยาซู ผู้ซึ่งพระราชบิดาของพระนางมีพระราชประสงค์ให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ ในขณะที่พระนางทรงเชื่อว่าการยึดอำนาจสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูเป็นสิ่งที่จำเป็น พระนางทรงมีความเคารพในพระราชบิดาของพระนางอย่างมาก และไม่ทรงมีความสุขจากการที่ขัดพระราชประสงค์ของพระราชบิดา การที่ทรงต้องแยกจากพระราชสวามีและทรงรู้สึกผิดต่อการยึดราชบัลลังก์สมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทำให้พระนางเซาดีตูไม่ทรงมีความสุขในขณะที่ดำรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ เป็นที่น่าสนใจแม้ว่า อดีตสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซูทรงปฏิบัติต่อพระนางอย่างน่ารังเกียจ แต่พระนางทรงให้ความรักและเอ็นดูอดีตสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซู พระราชนัดดาองค์นี้ยิ่ง และมีการกล่าวกันว่าทรงร่ำไห้อย่างข่มขื่นพระราชหฤทัยเมื่อมีการกล่าวว่าพระนางได้กลายเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถในขณะที่พระราชนัดดาของพระนางทรงถูกบัพพาชนียกรรมจากการที่ทรงเลิกศรัทธาในศานาคริสต์ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงพยายามละออกจากความรับผิดชอบหลักๆเหล่านี้อย่างมากขึ้นโดยทรงเข้าสู่โลกทางธรรมโดยการถือศีลอดและการสวดมนต์ จากการที่ทรงเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่ทรงได้รับการสืบทอดมา เจ้าชายราสตาฟารี มาคอนเนนจึงสามารถเข้ามามีอำนาจและอิทธิพลในราชสำนักได้
 
===สงครามต่อต้านอดีตสมเด็จพระจักรพรรดิอิยาซู===