ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: คอมมอนส์-หมวดหมู่
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
บรรทัด 37:
'''วัดพระฝาง''' หรือชื่อเต็มว่า '''วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ''' ตั้งอยู่ที่บ้านฝาง หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก [[อำเภอเมืองอุตรดิตถ์|อ.เมือง]] [[จ.อุตรดิตถ์]] เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่[[สมัยสุโขทัย]] ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณปี [[พ.ศ. 1700]] (ก่อนสมัย[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]])<ref>สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์. (2555). '''จำนวนวัดจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2554'''. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : [http://utt.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=133&Itemid=121]. เข้าถึงเมื่อ 30-3-55</ref> วัดพระฝางนับว่าเป็นกลุ่มโบราณสถานของเมืองฝางสวางคบุรี '' (สว่างคบุรี เพี้ยนมาจาก สวรรคบุรี) ''เพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ วัดนี้ได้รับพระราชทาน[[วิสุงคามสีมา]]ในสมัยสุโขทัย และเป็นวัดพระมหาธาตุประจำเมืองสว่างคบุรี เมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัย[[กรุงสุโขทัย]] และเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ “[[เจ้าพระฝาง]]” เมืองสวางคบุรี ผู้นำชุมนุมเจ้าพระฝางในคราวเสียสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2<ref>_________________. (ม.ป.ป.). [http://dl.kids-d.org/bitstream/handle/123456789/2625/nlt-rarebook-politiclaw-00091.pdf?sequence=1 พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระหว่างจลาจล จุลศักราช ๑๑๒๙-๑๑๓๐]. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.).</ref>
 
วัดพระฝาง มีปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดคือพระมหาธาตุเจดีย์ บรรจุ[[พระบรมสารีริกธาตุ]] ตั้งอยู่กลางกลุ่มโบราณสถานวัดพระฝาง สันนิษฐานว่าพระเจดีย์องค์นี้สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นพระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์สำคัญของอาณาจักรมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]] [[มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์]] ราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านว่า พระมหาธาตุองค์นี้ได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นพุทธปูชนียสถานสำคัญของอาณาจักรคู่กับ[[รอยพระพุทธบาทสระบุรี]] ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จขึ้นทำศึกชนะเจ้าพระฝางและตั้งงานสมโภชพระมหาธาตุเมืองพระฝางถึง 3 วัน เทียบเท่างานนมัสการพระพุทธชินราช แต่ความศรัทธาในพระมหาธาตุเมืองฝางคงได้เสื่อมถอยลงในช่วงหลัง จากความเสื่อมของเมืองสวางคบุรี หลังชุมนุมเจ้าพระฝางถูกตีแตกใน[[สมัยธนบุรี]] จนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์องค์เดิมได้ปรักหักพังไปมาก ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะพระมหาธาตุเมืองพระฝางใหม่ แปลงเป็นแบบเจดีย์ทรงลังกาดังที่เห็นในปัจจุบัน
 
นอกจากนี้ วัดพระฝางยังมี[[อุโบสถ]]มหาอุด (มีประตูทางเข้าบานเดียว) อยู่ด้านทิศตะวันตกของกลุ่มโบราณสถาน ตัวอุโบสถมีสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเดิมภายในอุโบสถเคยเป็นที่ประดิษฐาน[[พระพุทธรูปพระฝาง]] ซึ่งปัจจุบันตัวอุโบสถยังคงมีบานประตูไม้และหน้าบันแกะสลักศิลปะสมัยอยุธยาอันสวยงามอยู่ (บานปัจจุบันเป็นบานจำลอง) และด้านทิศตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานมีพระวิหารหลวง เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป[[เชียงแสน]] ปัจจุบันในพระวิหารหลวงมีบานประตูไม้แกะสลักวัดพระฝาง (เป็นบานประตูบานจำลอง สร้างเสร็จในปี [[พ.ศ. 2551]] เพื่อนำมาติดตั้งแทนที่บานประตูเดิมที่ได้นำไปเก็บรักษาที่[[วัดธรรมาธิปไตย]]ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2494]])
บรรทัด 56:
[[ไฟล์:วิหาร.jpg|left|thumb|วิหารใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย]]
 
จากหลักฐาน แสดงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งการบูรณะพระบรมธาตุสวางคบุรี ใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พอประมวลได้ดังนี้ เมื่อปี [[พ.ศ. 2410]] โปรดเกล้า ฯให้พระยามหาอำมาตยาธิบดีเป็นแม่กองสักเลข หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นไป ตั้งอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก และโปรดให้พระยาอุตรดิตถาภิบาล ผู้สำเร็จราชการเมืองอุตรดิตถ์เป็นแม่กองรับจ่ายเลข ข้าพระโยมสงฆ์ตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทำการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระธาตุในเมืองสวางคบุรีที่เรียกกันว่า เมืองฝาง พระเจดีย์นั้นชำรุดมาก ต้องรื้อลงมาถึงชั้นทักษิณที่สาม เมื่อรื้ออิฐเก่าที่หักพังออกก็พบแผ่นเหล็กเป็นรูปฝาชีหุ้มผนึกไว้แน่น เมื่อตัดแผ่นเหล็กออกจึงพบผอบทองเหลือง บนฝาผอบมีพระพุทธรูปองค์เล็กบุทองคำฐานเงินอยู่องค์หนึ่ง ในผอบมีพระบรมธาตุขนาดน้อยสีดอกพิกุลแห้ง 1,000 เศษ แหวน 2 วง พลอยต่างสี 13 เม็ด เมื่อพระยาอุตรดิตถาภิบาลมีใบบอกมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดเรือม่านทองให้ข้าหลวงขึ้นไปรับ เชิญพระบรมธาตุมาขึ้นที่กรุงเก่า เชิญขึ้นไว้ที่พระตำหนักวังป้อมเพชร แล้วจัดเรือพระที่นั่งสยามอรสุมพลมีปี่พาทย์ แตรสังข์ รับเชิญลงมากรุงเทพ ฯ เชิญขึ้นไว้ ณ พระตำหนักน้ำ ทำการสมโภชแล้วเชิญไปประดิษฐานไว้ที่[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] ทรงมีพระราชดำริว่าควรที่จะส่งพระบรมธาตุคืน ให้ไปบรรจุไว้ตามที่ดังเก่าบ้าง แบ่งไว้สักการบูชา ณ กรุงเทพ ฯ บ้าง จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ช่างหลวงทำกล่องทองคำเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุชั้นใน แล้วใส่กล่องเงินเป็นชั้นที่สอง ใส่ในพระเจดีย์กาไหล่เงินเป็นชั้นที่สาม แล้วใส่ในพระเจดีย์ทองเหลืองเป็นชั้นที่สี่ แล้วใส่ครอบศิลาตรึงไว้แน่นหนา ให้เจ้าพนักงานเชิญพระบรมธาตุใส่พระเสลี่ยงน้อยกั้นพระกรด ไปตั้งบนบุษบกที่พระตำหนักน้ำ พร้อมเครื่องสักการบูชา มีเรือกรมการและราษฎรเมืองนนทบุรี แห่เป็นกระบวนขึ้นไปส่งถึงเมืองปทุม แล้วผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการตั้งแต่เมืองปทุมธานีขึ้นไป จัดแจงทำสักการบูชา แล้วจัดเรือแห่มีปี่พาทย์ฆ้องกลองเล่นสมโภชตามมีรับส่งต่อ ๆ จนถึงเมืองสวางคบุรี
 
[[ไฟล์:บานประตูวัดพระฝาง.jpg|left|thumb|บานประตูวัดพระฝางบานเดิม ศิลปะสมัยอยุธยา ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่[[วัดธรรมาธิปไตย]] ในตัวเมืองอุตรดิตถ์]]