ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศกัมพูชา พ.ศ. 2513"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
ใน พ.ศ. 2512 ลน นลและฝ่ายขวาในพรรคมีบทบาทมากขึ้น กลุ่มชาตินิยมและต่อต้านคอมมิวนิสต์ของลน นลไม่ยอมรับนโยบายของพระนโรดม สีหนุที่อดทนต่อ[[เวียดกง]]และ[[กองทัพประชาชนเวียดนาม]]ในระดับหนึ่งในการล้ำแดนกัมพูชา นโยบายของพระนโรดม สีหนุเริ่มเอียงไปทางฝ่ายซ้ายระหว่าง พ.ศ. 2506 – 2509 มีการเจรจาในทางลับกับ[[ฮานอย]] โดยจะยอมให้ใช้[[ท่าเรือสีหนุวิลล์]]ในการขนส่งอาวุธให้เวียดกง นักการเมืองฝ่ายเสรีนิยมในพรรคสังคมนำโดย[[อิน ตัม]]ได้เพิ่มการต่อต้านพระนโรดม สีหนุมากขึ้น
 
ระหว่าง พ.ศ. 2512 ลน นลได้เจรจากับกองทัพสหรัฐเกี่ยวกับการสนับสนุนทางทหารเพื่อต่อต้านพระนโรดม สีหนุ<ref name=kiernanp300>Kiernan, p.300</ref> ลน นลได้กล่าวว่าพระ[[สีสุวัตถิ์ สิริมตะ]]เคยมีความคิดว่าควรลอบสังหารพระนโรดม สีหนุ แต่ลน นลไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้<ref name=kiernanp301>Kiernan, p.301</ref> พระนโรดม สีหนุเองเห็นว่าสิริมตะนั้นมีซีไอเอหนุนหลังและได้ติดต่อกับฝ่ายต่อต้านพระนโรดม สีหนุที่ลี้ภัยอยู่อย่าง[[เซิง งอกทัญ]] ซึ่งได้แนะนำให้ลน นลปฏิวัติใน พ.ศ. 2512<ref name=sihanouk36>Sihanouk, pp.36–38</ref> ความเกี่ยวข้องกับซีไอเอของรัฐประหารครั้งนี้ยังพิสูจน์ไม่ได้ [[เฮนรี่ คิสซิงเจอร์]]ได้กล่าวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สหรัฐประหลาดใจ แต่ก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าสหรัฐวางแผนจะเข้าโจมตีที่มั่นของ[[เวียดนามเหนือ]]ในกัมพูชาตั้งแต่ พ.ศ. 2509 – 2510<ref name=clymer23>Clymer, p.23</ref>
== การปลดสีหนุออกจากประมุขรัฐ ==
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2513 ในขณะที่พระนโรดม สีหนุเดินทางไปเยือนยุโรป [[สหภาพโซเวียต]]และ[[จีน]] ได้มีกลุ่มต่อต้านเวียดนามปรากฏขึ้นในเวียดนาม และไปประท้วงหน้าสถานทูตเวียดนามเหนือและเวียดกง ในช่วงแรก พระนโรดม สีหนุเห็นด้วยกับผู้ประท้วง และต้องการให้สหภาพโซเวียตกับจีนช่วยกดดันเวียดนามเหนือให้เข้ามาในกัมพูชาน้อยลง อย่างไรก็ตาม การชุมนุมรุนแรงขึ้น โดยลน นลและสิริมตะเข้ามาร่วมสนับสนุนด้วย ในวันที่ 12 มีนาคม สิริมตะประกาศยกเลิกข้อตกลงทางการค้ากับเวียดนามเหนือที่พระนโรดม สีหนุเคยทำไว้ ลน นลสั่งปิดท่าเรือสีหนุวิลล์ไม่ให้เวียดนามเหนือเข้ามาใช้ และให้ทหารเวียดนามเหนือและเวียดกงออกไปจากกัมพูชาภายใน 15 มีนาคม<ref name=sutsakhan42>[http://www.vietnam.ttu.edu/star/images/239/2390505001A.pdf Sutsakhan, Lt. Gen. S. ''The Khmer Republic at War and the Final Collapse''] Washington DC: [[United States Army Center of Military History]], 1987, Part 1, p. 42. See also [http://www.vietnam.ttu.edu/star/images/239/2390505001A.pdf Part 1][http://www.vietnam.ttu.edu/star/images/239/2390505001B.pdf Part 2][http://www.vietnam.ttu.edu/star/images/239/2390505001C.pdf Part 3].</ref> แต่ในตอนเช้าวันที่ 16 มีนาคม ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง มีกลุ่มคนประมาณ 30,000 คนมาประท้วงที่หน้าสมัชชาแห่งชาติถึงการคงอยู่ของเวียดนาม
 
ในเวลาเดียวกัน นายพลอุม มันโนรีน บุตรเขยของพระนโรดม สีหนุ ทราบข่าวเกี่ยวกับรัฐประหารและพยายามนำกลุ่มตำรวจลับไปจับตัวผู้วางแผนแต่ช้าเกินไป มันโนรีนและผู้จงรักภักดีต่อสีหนุถูกจับได้ก่อน อย่างไรก็ตาม ระหว่างวันที่ 16 – 17 มีนาคม ลน นลยังลังเลใจในการปลดพระนโรดม สีหนุออกจากประมุขรัฐ แม้สิริมตะจะข่มขู่ว่าพระนโรดม สีหนุได้กล่าวในที่ประชุมที่ปารีสว่าจะประหารชีวิตทั้งลน นลและสิริมตะเมื่อกลับมาถึงพนมเปญ<ref name=marlay165>Marlay, R. and Neher, C. ''Patriots and tyrants'', Rowman & Littlefield, 1999, p.165</ref> แต่ลน นลก็ยังลังเล ในที่สุด สิริมตะจึงใช้ทหารและอาวุธบีบบังคับให้ลน นลลงนามในเอกสาร
 
ในวันที่ 18 มีนาคม ได้มีการประชุมในสมัชชาแห่งชาติภายใต้การควบคุมของอิน ตัม มีกำลังทหารลาดตระเวนไปทั่วพนมเปญ กิม พนได้ประท้วงโดยออกจากที่ประชุมสมัชชา ในที่สุดสมาชิกที่เหลือได้ลงมติถอดถอนพระนโรดม สีหนุออกจากประมุขรัฐเป็นการฉุกเฉิน [[เจง เฮง]]ดำรงตำแหน่งประมุขรัฐแทน หลังจากนั้นจึงเริ่มกระบวนการเพื่อจัดตั้งสาธารณรัฐเขมร
== การต่อต้านรัฐประหาร ==
ในวันที่ 23 มีนาคม พระนโรดม สีหนุได้ประกาศผ่านทางวิทยุเรียกร้องให้มีการลุกฮือขึ้นต่อต้านลน นล ได้เกิดการประท้วงเพื่อเรียกร้องให้พระนโรดม สีหนุกลับมาใน[[จังหวัดกำปงจาม]] [[จังหวัดตาแกว]] และ[[จังหวัดกำปอต]]<ref name=kiernanp302>Kiernan, p.302</ref> การประท้วงในจังหวัดกำปงจามรุนแรงขึ้น โดยสมาชิกสมัชชาแห่งชาติสองคนคือ สส ซวนและกิม พนถูกผู้ประท้วงฆ่าตาย หลังจากที่ทั้งสองคนขับรถเข้าไปเพื่อที่จะเจรจากับกลุ่มผู้ประท้วง [[ลน นิล]] น้องชายของลน นลได้นำกำลังตำรวจเข้าไปปราบปรามแต่เขาก็ถูกฆ่าตายเช่นกัน ในที่สุด รัฐบาลได้ส่งทหารเข้าไปปราบอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน และถูกจับกุมเป็นพันคน
== หลังจากนั้น ==
หลังเหตุการณ์รัฐประหาร กองกำลังเวียดนามเหนือได้รุกรานเข้ามาในกัมพูชาใน พ.ศ. 2513 ตามคำของของ[[นวน เจีย]]ผู้นำเขมรแดง จากจุดนี้จึงนับเป็จุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองกัมพูชาเพื่อโค่นล้มรัฐบาลของลน นลที่มีสหรัฐหนุนหลัง
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
*[http://www.state.gov/r/pa/ho/frus/nixon/vi/64033.htm U.S. Department of State; Foreign Relations, 1969–1976, Vietnam, January 1969 – July 1970]
 
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์กัมพูชา]]