ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุปรากร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 32:
* 3. [[รีซิเททีฟ]] (Recitative) คือบทสนทนาในโอเปร่าที่ใช้การร้องแทนการใช้คำพูด อย่างไรก็ตามมักจะไม่เป็นทำนองที่ไพเราะมากนัก จะเน้นที่คำพูดมากกว่า แต่ก็มีดนตรีและการร้องช่วยทำให้บทสนทนาน่าสนใจ เป็นลักษณะการร้องหรือดนตรีอีกประเภทหนึ่ง
* 4. [[อาเรีย]] (Aria) คือ บทร้องเดี่ยวในโอเปร่า มีลักษณะตรงกันข้ามกับรีซิเททีฟ เนื่องจากเน้นการร้องและดนตรีเป็นหลัก มากกว่าเน้นการสนทนา อาเรียเป็นบทร้องที่ตัวละครตัวเดียวร้องซึ่งจัดเป็นบทร้องที่เต็มไปด้วยลีลาของดนตรีที่งดงาม จึงยากแก่การร้อง กล่าวได้ว่าอาเรียเป็นส่วนที่ทำให้โอเปร่ามีความเป็นเอกลักษณ์ได้เลยทีเดียว
* 5. บทร้องประเภทสอง สาม สี่ และมากกว่านี้ของตัวละคร (Duo, Trio, and Other Small Ensembles) บทร้องที่มีคนร้องสองคนแทนที่จะเป็นคนเดียวในลักษณะของอาเรียเรียกว่า [[ดูโอ]] (Duo) ถ้าเป็น 3 คนร้องเรียกว่า [[ทรีโอ]] (Trio) สี่และห้าคนร้องเรียกว่า [[ควอเต็ต]] (Quartet) และ[[ควินเต็ต]] (Quintet) และอาจมีมากกว่าห้าคนก็ได้ เช่น บทร้อง 6 คน (Sextet) “Lucia” จากเรื่อง Rigoletto เป็นบทร้องที่มีชื่อเสียงของโอเปร่ามาก
* 6. [[วงขับร้องประสานเสียง|บทร้องประสานเสียง]] (Chorus) ในโอเปร่าบางเรื่องที่มีฉากประกอบด้วยผู้เล่นเป็นจำนวนมาก มักจะมีการร้องประสานเสียงเสมอ บทร้องประสานเสียงจากโอเปร่าที่มีชื่อเสียง เช่น “The Anvil Chorus” จาก II Irovatore, “The Pilgrim’s Chorus” จาก “Tannhauser, The Triumphal Chorus” จาก Aida
* 7. [[วงออร์เคสตรา|ออร์เคสตรา]] (Orchestra) วงออร์เคสตรานอกจากจะเล่นโอเวอร์แล้ว ยังใช้ประกอบการร้องในลักษณะต่าง ๆ ในโอเปราตลอดเรื่องในบางครั้งออร์เคสตราจะบรรเลงโดยไม่มีผู้ร้องเพื่อต่อเนื่องการร้องหรือรีซิเททีฟแต่ละตอนหรือสร้างอารมณ์ในเนื้อเรื่องให้เข้มข้นขึ้น บางครั้งวงออร์เคสตราจะมีบทบาทในโอเปร่ามากทีเดียว เช่น โอเปร่า ที่แต่งโดยวากเนอร์ มักจะเน้นการบรรเลงของวงออร์เคสตราเสมอ