ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฆาตกรหั่นศพแห่งคลีฟแลนด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 176:
ดอกเตอร์ฟรานซิส อี. สวีนีย์ (Francis E. Sweeney) เป็นผู้ต้องสงสัยรายใหญ่อีกราย ตามการสืบสวนใน 1938 ซึ่งพบข้อมูลสำคัญว่า ช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] ดอกเตอร์ฟรานซิสเคยทำงานในหน่วยแพทย์ผ่าตัดสนาม อีเลียต เนสได้ถามปากคำดอกเตอร์ฟรานซิสเป็นการส่วนตัวด้วย โดยอีเลียตเรียกเขาด้วยรหัส "เกย์ลอร์ด ซุนด์ไฮม์" (Gaylord Sundheim) อีเลียตกล่าวว่า ดอกเตอร์ฟรานซิส "ไม่ผ่าน" เครื่องจับเท็จถึงสองครั้ง การจับเท็จทั้งสองดำเนินการโดย ลีโอนาร์ด คีเลอร์ (Leonard Keeler) ผู้ชำนัญพิเศษด้านจับเท็จ ซึ่งลีโอนาร์ดกล่าวแก่อีเลียตว่า "คุณจับถูกคนแล้ว" ("You has your man") อย่างไรก็ดี อีเลียตรู้สึกว่า โอกาสที่จะดำเนินคดีแก่ดอกเตอร์ฟรานซิสโดยสะดวกนั้นมีน้อยมาก เนื่องจากดอกเตอร์ฟรานซิสเป็นญาติสนิทของ [[มาร์ทิน แอล. สวีนีย์]] (Martin L. Sweeney) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคู่แข่งทางการเมืองของอีเลียต มาร์ทินนั้นจ้องเล่นงานอีเลียตเรื่องที่เขาจับคนร้ายผิดคนอยู่ทุกฝีก้าว
 
แม้ไม่มีความคืบหน้าหรือความเกี่ยวพันใด ๆ อันจะยังให้เจ้าพนักงานตำรวจจัดว่าเขาเป็นผู้ต้องสงสัยก็ตาม ดอกเตอร์ฟรานซิสก็มอบตัว และถูกกักขังไว้ในโรงพยาบาลทหารผ่านศึก (Veterans' Hospital) ที่เมือง[[เดย์ทัน]] (Dayton) รัฐโอไฮโอ เพื่อรับการบำบัดโดยสมัครใจ หลังจากนั้น ปรากฏว่า ฆาตกรรมต่อเนื่องก็ไม่เกิดขึ้นอีกเลย และดอกเตอร์ฟรานซิสตายที่โรงพยาบาลนั้นในปี 1964
 
ในปี 1997 มีทฤษฎีแพร่กระจายไปว่า ฆาตกรรมต่อเนื่องนี้อาจไม่ได้กระทำโดยบุคคลเพียงคนเดียว "ไอ้บ้าฆ่าหั่นศพแห่งลำน้ำคิงส์บิวรี" อาจมีหลายคนก็ได้ ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า ผลการชันสูตรพลิกนั้นยังไม่เป็นที่ยุติ อาร์เธอร์ เจ. เพียร์ซ (Arthur J. Pearce) [[พนักงานแยกธาตุ]] (analyst) ประจำเทศมนฑลคูยาโฮกา กล่าวว่า การพิเคราะห์ของเขายังไม่เป็นที่แน่ใจว่า รอยตัดแต่ละศพนั้นเป็นการกระทำของผู้เชี่ยวชาญหรือมือสมัครเล่น สิ่งเดียวที่ทราบแน่ชัดมีเพียงว่า ศพผู้ตายทุกคนถูกชำแหละเท่านั้น<ref>{{cite book|title = The Maniac In The Bushes|last = Bellamy|first = John|publisher = [[Gray & Co.]]|origdate = 1997|isbn = 1886228191|location = Cleveland, OH|format = paperback|accessdate=2010-11-23}}</ref>