ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎหมายล้มละลาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
พระราชบัญญัติล้มละลายไม่ได้จำกัดไว้ว่าผู้ที่ล้มละลายจะต้องเป็นบุคคลประเภทใด ดังนั้น ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลประเภทใดก็สามารถล้มละลายได้ ต่างจากการฟื้นฟูกิจการที่จะต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบรัษัทมหาชนจำกัดเท่านั้น โดยกฎหมายกำหนดวิธีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายไว้ 5 วิธี ดังนี้
 
1. เจ้าหนี้ธรรมดาฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลาย <ref>มละลายมาตรา 9 พระราชบัญญัติล้มละลาย</ref>
 
2. เจ้าหนี้มีประกันฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลาย <ref>มละลายมาตรา 10 พระราชบัญญัิติล้มละลาย</ref>
 
3. เจ้าหนี้ฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ตาย <ref>มาตรา 82 พระราชบัญญัติล้มละลาย</ref>
 
4. ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้นิติบุคคลล้มละลาย <ref>และมาตรา 88 พระราชบัญญัติล้มละลาย</ref>
 
5. เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนสามัญ <ref>มา่ตรา 89 พระราชบัญญัติล้มละลาย</ref>
บรรทัด 30:
 
การที่เจ้าหนี้จะฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายในศาลไทย ลูกหนี้จะต้องมีภูมิลำเนาหรือประกอบธุรกิจในประเทศไทยหรือเคยมีภูมิลำเนาหรือประกอบธุรกิจในประเทศไทยย้อนหลังไป 1 ปี<ref>มาตรา 7 พระราชบัญญัติล้มละลาย</ref> และจะต้องพิจารณาก่อนว่าเจ้าหนี้ที่มาฟ้องเป็นเจ้าหนี้ธรรมดาหรือเจ้าหนี้มีประกัน
 
 
==== การฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายโดยเจ้าหนี้ธรรมดา ====
การที่เจ้าหนี้ธรรมดาจะฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลาย จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า
 
 
1. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กล่าวคือ มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน
 
 
 
2. เป็นหนี้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทในกรณีที่ลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดา หรือสองล้านบาทหากเป็นนิติบุคคล และ
เส้น 57 ⟶ 53:
ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีสิทธิขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย โดยขอชำระหนี้บางส่วน หรือขอชำระหนี้เป็นอย่างอื่น ถ้าการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายสำเร็จก็ไม่ต้องเป็นบุคคลล้มละลาย แต่หากประนอมหนี้ไม่สำเร็จ หรือไม่มีการขอประนอมหนี้ ลูกหนี้ก็จะถูกพิพากษาให้ล้มละลายต่อไป
 
=== การจบคดีล้มละลาย ===
<ref>คำบรรยายวิชากฎหมายล้มละลายระดับชั้นเนติบัณฑิต</ref>
 
กฎหมายล้มละลายของไทย กำหนดช่องทางการจบคดีล้มละลายไว้สามช่องทาง คือการประนอมหนี้หลังล้มละลาย การปลดล้มละลาย และการยกเลิกการล้มละลาย
 
==== การประนอมหนี้หลังล้มละลาย ====
 
เมื่อลูกหนี้ล้มละลายแล้วลูกหนี้สามารถขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ได้ เมื่อการประนอมหนี้สำเร็จ เจ้าหนี้ทั้งหลายก็จะผูกพันได้รับชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ ยกเว้นเจ้าหนี้ภาษีอากรและเจ้าหนี้ในหนี้ที่เกิดจากการทุจริตฉ้อโกงของลูกหนี้ หากไม่ได้ให้ความยินยอมไว้เป็นหนังสือก็จะไม่ผูกพันด้วยและคงได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน
 
การประนอมหนี้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหรือหุ้นส่วน หรือลูกหนี้ร่วมของลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ไปด้วย เจ้าหนี้ยังเรียกร้องจากผู้ค้ำประกัน หุ้นส่วน ลูกหนี้ร่วมของลูกหนี้ได้อยู่จนครบ
 
==== การปลดจากล้มละลาย ====
 
การปลดจากล้มละลาย อาจเป็นไปโดยคำสั่งศาล หรือโดยผลของกฎหมาย โดยหากมีการแบ่งทรัพย์ให้เจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และไม่เป็นบุคคลล้มละลายโดยทุจริต ผู้ล้มละลายก็อาจขอให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลายได้ หรือหากลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาล้มละลายมาแล้วครบสามปี ก็จะปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมาย
 
เมื่อปลดจากล้มละลายแล้ว จะมีผลให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นการล้มละลาย มีอำนาจจัดการทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากการปลดล้มละลายและหลุดพ้นจากหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้ทั้งปวง ยกเว้นหนี้ภาษีอากรและหนี้ที่เกิดจากการทุจริตฉ้อโกงของลูกหนี้คงยังได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน
 
การปลดจากล้มละลายไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหรือหุ้นส่วน หรือลูกหนี้ร่วมของลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ไปด้วย เจ้าหนี้ยังเรียกร้องจากผู้ค้ำประกัน หุ้นส่วน ลูกหนี้ร่วมของลูกหนี้ได้อยู่จนครบ
 
==== การยกเลิกการล้มละลาย ====
 
เมื่อมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอต่อศาลให้ยกเลิกการล้มละลายได้
 
(1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจดำเนินการให้ได้ผลเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย เพราะเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไม่ช่วยหรือยอมเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายหรือวางเงินประกันตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกร้อง และไม่มีเจ้าหนี้อื่นสามารถและเต็มใจกระทำการดังกล่าวแล้ว ภายในกำหนดเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ขัดขืนหรือละเลยนั้น
 
(2) ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย
 
(3) หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว
 
ถ้าลูกหนี้ปฏิเสธหนี้สินรายใด แต่ลูกหนี้ยอมทำสัญญาและให้ประกันต่อศาลว่าจะใช้เงินให้เต็มจำนวนกับค่าธรรมเนียมด้วยก็ดี หรือถ้าหาตัวเจ้าหนี้ไม่พบ แต่ลูกหนี้ได้นำเงินเต็มจำนวนมาวางต่อศาลก็ดี ให้ถือว่าหนี้สินรายนั้นได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว
 
(4) เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แบ่งทรัพย์ครั้งที่สุด หรือไม่มีทรัพย์สินจะแบ่งให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ต่อแต่นั้นมาภายในกำหนดเวลาสิบปี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายได้อีก และไม่มีเจ้าหนี้มาขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลาย
 
โดยการยกเลิกการล้มละลายตาม (1) หรือ (2) นั้นไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สิน ส่วนการยกเลิกการล้มละลายตาม (3) หรือ (4) ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมด รวมถึงหนี้ภาษีอากรและหนี้จากความทุจริตฉ้อโกงด้วย
 
[[en:Bankruptcy]]
[[หมวดหมู่:กฎหมาย]]