ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจับ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 41:
<blockquote>''"ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ ถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ"''</blockquote>
 
และให้เจ้าพนักงานแจ้งให้เขาทราบถึงสิทธิอื่น ๆ ตามกฎหมาย ทั้งต้องอำนวยความสะดวกให้เขาใช้สิทธิเหล่านั้นด้วย นอกจากนี้ เจ้าพนักงานยังต้องทำ[[บันทึกการจับ]]<ref name = "CCrP-S83-P2"/> ถ้าเจ้าพนักงานไม่แจ้งสิทธิดังกล่าวนี้ ไม่ทำให้การจับกลายเป็นมิชอบด้วยกฎหมายไป เพียงแต่ถ้อยคำใด ๆ ที่เขาให้ไว้ จะใช้ไม่ได้โดยสิ้นเชิง<ref>ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรคสี่<br><blockquote>"ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี"</blockquote></ref> อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการแจ้งสิทธิครบถ้วนแล้ว คำรับสารภาพในชั้นจับกุมนั้นรับฟังไม่ได้เลยโดยไม่มีข้อยกเว้น คงรับฟังได้แต่ถ้อยคำประกอบเท่านั้น
 
ในการจับ ห้ามเจ้าพนักงานฉุดคร่าผู้ถูกจับไป เพียงให้บอกข้างต้นแล้วสั่งให้เขาไปหรือพาเขาไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนเท่านั้น แต่ถ้าเขาขัดขวางหรือหลบหนี หรือจะทำเช่นนั้น เจ้าพนักงานมีอำนาจใช้มาตรการต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นตามสถานการณ์<ref name = "CCrP-S83-P1"/> <ref name = "CCrP-S83-P3">ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสาม<br><blockquote>"ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนี หรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลาย เท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น"</blockquote></ref> เมื่อไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนแล้ว เจ้าพนักงานผู้จับจะแจ้งข้อกล่าวหา แลเหตุผลที่จับ ให้ผู้ถูกจับทราบ ถ้ามีหมายจับ เจ้าพนักงานต้องอ่านให้เขาฟัง และส่งให้เขาดู แล้วมอบสำเนาบันทึกการจับกุมให้เขาด้วย<ref>ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่ง<br><blockquote>"เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83 โดยทันที และเมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวนดังกล่าว เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้</blockquote>
<blockquote>"(1) ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ ถ้ามีหมายจับ ให้แจ้งให้ผู้ถูกจับทราบ และอ่านให้ฟัง และมอบสำเนาบันทึกการจับแก่ผู้ถูกจับนั้น</blockquote>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/การจับ"