ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไปรษณียบัตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ภาพ:thai_stamp_postcard.jpg|200px|right|thumb|ไปรษณียบัตร]]
 
'''ไปรษณียบัตร''' ({{lang-fr|Carte Postale }}[[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: postal card) มีลักษณะเป็น[[กระดาษ]]แข็งจัดทำและจำหน่ายโดย[[ไปรษณีย์]] ด้านหน้ามีที่สำหรับใส่ที่อยู่ของผู้รับและผู้ส่ง และมีภาพ[[แสตมป์]]พิมพ์ติดบนกระดาษ ส่วนด้านหลังเป็นที่ให้เขียนข้อความ สามารถส่งทางไปรษณีย์ได้เลยโดยไม่ต้องติดแสตมป์เพิ่ม มีอัตราค่าส่งถูกกว่า[[จดหมาย]]ธรรมดา เหมาะกับการส่งข้อความที่ไม่ต้องการความเป็นส่วนตัว เช่นการแจ้งข่าวสารต่าง ๆ แสตมป์บนไปรษณียบัตรมักเป็นอัตราสำหรับส่งภายในประเทศ แต่ประเภทที่ใช้ส่งต่างประเทศก็มีการทำขึ้นเช่นเดียวกัน
 
[[ภาพ:Bangkok 26 th bridge-1909.jpg|200px|left|thumb|โปสการ์ด]]
ไปรษณียบัตร ใน[[ภาษาอังกฤษ]] อาจใช้คำว่า '''postcard''' หรือ '''post card''' ได้ แต่สองคำนี้มีความหมายกว้างกว่า กล่าวคือ หมายรวมถึง '''โปสการ์ด''' หรือ '''ไปรษณียบัตรรูปภาพ''' ซึ่งเป็นกระดาษแข็งที่ไม่มีแสตมป์และด้านหลังเป็นรูปภาพได้อีกด้วย
 
 
==ไปรษณีย์บัตรพร้อมใบตอบระหว่างประเทศ==
ไปรษณีย์บัตรพร้อมใบตอบ ({{lang-fr| carte postale avec réponse payée }}) เดิมเรียกว่า «ไปรสนียบัตรกับใบตอบด้วย» คือหนึ่งในวิธีการเขียนติดต่อสื่อสารโดยที่ผู้ส่งจ่าย ค่าส่งไปและกลับ จุดมุ่งหมายคือ ให้ผู้รับสามารถตอบได้ สะดวก รวดเร็ว เพียงเขียนบนใบตอบ ก็พร้อมส่งได้ รูปแบบเป็นบัตรคู่แฝด รวมบัตรส่งไปและใบตอบ บนบัตรทั้งคู่มีแสตมป์พิมพ์ ตามอัตราในประเทศหากใช้ส่งภายใน หรือตามอัตราระหว่างประเทศซึ่งใช้ส่งไปยังนานาชาติ
ไปรษณีย์บัตรพร้อมใบตอบเป็นที่ยอมรับเคยมีใช้ทั่วไปในประเทศสมาชิกสหภาพไปรษณีย์สากล ตั้งแต่การทำสัญญายอมรับในการประชุมไปรษณีย์สากล ปี ค.ศ.1878 ที่กรุงลิสบอน โปรตุเกส จนกระทั่งยกเลิกไปในปีพ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971)
 
ไปรษณีย์บัตรพร้อมใบตอบระหว่างประเทศแรกของสยามนั้น ราคา 4อัฐ + 4อัฐ เริ่มจำหน่าย 1 เมษายน ค.ศ. 1887 โดยมีบริษัท De La Rue & Co. ลอนดอน เป็นผู้ออกแบบสลักและจัดพิมพ์ จำนวนทั้งหมด 30724 ใบ
 
== ดูเพิ่ม ==