ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำเหมืองแร่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อ.ปูน (คุย | ส่วนร่วม)
อ.ปูน (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
'''การทำเหมืองแร่''' คือการสกัดเอา[[แร่]]ที่มีค่า หรือ วัสดุทาง[[ธรณีวิทยา]]อื่นๆ จากใต้ผืนแผ่นดิน ปกติขุดที่ตัวแหล่งแร่หรือ[[สายแร่]]ที่อยู่ใต้ดิน วัสดุทั่วไปที่สกัดได้ แร่โลหะ ได้แก่[[บอกไซต์]] (สำหรับหลอมเป็น[[อะลูมิเนียม]]) [[ทองแดง]] [[เหล็ก]] [[ทองคำ]] [[ตะกั่ว]] [[แมงกานีส]] [[แมกนิเซียม]] [[นิเกิล]] [[ฟอสเฟต]] [[แพลทินัม]] [[เงิน]] [[ดีบุก]] [[ไททาเนียม]] [[ยูเรเนียม]] [[สังกะสี]] แร่อโลหะ เช่น [[เกลือหิน]] [[ถ่านหิน]]และ แร่รัตนชาติ เช่น [[เพชร]] [[พลอย]]
 
วัสดุมีค่าอื่นๆ ที่มีการทำเหมืองเช่นกันได้แก่ [[ดินเหนียว]] [[ดินขาว]] [[ทราย]] [[กรวด]] [[หินแกรนิต]] [[หินปูน]]และ[[หินอ่อน]] วัสดุอื่นใดที่ไม่สามารถผลิตจากพืชจะมากจากการทำเหมือง การทำเหมืองในความหมายที่กว้าง รวมถึง[[การขุดเจาะน้ำมันปิโตรเลียม]] [[ก๊าซธรรมชาติ]] หรือแม้แต่[[น้ำน้ำบาดาล]]
 
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทย เพราะหากเราไม่มีการนำทรัพยากรในประเทศมาใช้ประโยชน์ จะต้องมีการนำเข้าแร่จากต่างประเทศซึ่งจะทำให้เกิดการเสียดดุลด้านการค้า และการนำเข้าแร่โดยทั่วไปจะแร่ที่นำเข้าจะมีราคาที่สูงกว่าแร่ที่ผลิตได้ในประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเมื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์นั่นหมายถึงราคาสินค้าย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย หากมีการทำเหมืองแร่ในประเทศ เพื่อผลิตแร่ที่สำคัญมาใช้ประโยชน์จะเป็นการทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรม และหากมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อไปเนื่องในการนำทรัพยากรแร่มาใช้ในการผลิตอย่างครบวงจร ก็จะเป็นการสร้างงาน และสร้างมูลค่าเพิ่มมหาศาลกว่าการนำแร่ดิบขายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนให้เกิดขึ้น
 
การทำเหมืองแร่ เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อม การทำเหมืองแร่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ๆ มีการเข้าใจผิดกันอย่างมากทำเหมืองแร่ ว่าแต่การทำเหมืองแร่ไม่ได้เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายทัศนียภาพอันสวยงาม ความเป็นจริงแล้วหากผู้ทำเหมืองปฎิบัติตามหลักวิชาการ ซึ่งการทำหมืองแร่หมืองแร่ตามหลักวิชาการ จะคำนึงถึงความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์แร่ ทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจ ทั้งนี้และการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเหมืองแร่ทุกประเภทและทุกขนาดต้องมีการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ก่อนได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ นอกจากนี้ เหมืองแร่จะเกิดไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการยอมรับของสังคม หรือชุมชนที่มีเหมืองแร่อยู่บริเวณใกล้เคียง
 
เหมืองแร่เก่าที่ขุดแบบเปิด มักก่อ[[ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม]]และ[[สุนทรียภาพ]] ในต่างประเทศ รวมทั้งประเทศไทยจึงมีกฎหมายบังคับให้[[ผู้รับสัมปทาน]]ต้องทำการฟื้นฟูสภาพ (Reclamation) ซึ่งปกติมีงาน[[ภูมิสถาปัตยกรรม]]เป็นส่วนสำคัญ ตัวอย่างที่ดีในประเทศไทยได้แก่[[เหมืองแม่เมาะ]] ที่[[อำเภอแม่เมาะ]] [[จังหวัดลำปาง]]