ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sawadeegan (คุย | ส่วนร่วม)
Sawadeegan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ''' [[มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา]] เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัย ที่ทำหน้าที่ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม
เผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมของชาติ และท้องถิ่น เป็นแหล่งอนุรักษ์ภูมิปัญญา หรือทรัพย์สินทางปัญญาของบรรพชนคนไทย ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาถึงอนุชนรุ่นหลัง ให้ได้ช่วยกันสร้างสรร จรรโลง สืบสานต่อกันมาอย่างไม่ขาดสาย โดยได้ดำเนินการอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นแหล่งการเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา มีภารกิจในการดูแล ทำนุบำรุง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้มีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคง เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ท้องถิ่น
 
[[ไฟล์:สำนักศิลปะ-panorama-กว้าง.jpg|thumb|อาคาร 1 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปัจจุบัน ได้ถูกรื้อถอนเพื่อทำการสร้างอาคารศูนย์รวมกิจการนักศึกษา และศูนย์ประชุมนานาชาติ]]
 
== ประวัติ ==
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ก่อตั้งขึ้นเมื่อครั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมายังเป็นวิทยาลัยครูนครราชสีมา โดยในพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.2518 มาตรา 5 ที่กำหนดฐานะและบทบาทของวิทยาลัยครูให้เป็นสถาบันการศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ทำการวิจัยเพื่อส่งเสริมวิชาชีพและวิทยฐานะของครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ผู้บริหารการศึกษา ทำนุบำรุงวัฒนธรรม และวิชาการแก่สังคม จึงได้ก่อตั้ง “ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม” เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการบำรุง รักษา พัฒนาและเผยแพร่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ทั้งส่วนของท้องถิ่นและของชาติมาตั้งแต่บัดนั้น
 
[[ไฟล์:การแสดงเพลงรำตีหม้อ.jpg|thumb|การแสดงรำตีหม้อ]]
 
[[ไฟล์:การขนย้ายอาคารบนรางรถไฟ.jpg|thumb|การชะลออาคารไม้ใส่บนรางรถไฟ เพื่อขนย้ายไปตั้ง ณ ด้านตะวันออกของสนามฟุตบอล ]]
 
[[ไฟล์:IMG_8826.JPG|thumb|นิทรรศการเฉลิมพระเกีบรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550]]
 
[[ไฟล์:DSC03177.JPG|thumb|กิจกรรมตักบาตรทุกวันพุธ ซึ่งจัดต่อเนื่องกันเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว]]
 
พ.ศ.2519 กองวัฒนธรรม กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติให้จัด “หน่วยประเคราะห์ของศูนย์ชุมนุมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย”