ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แจ๊ส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: stq:Jazz
บรรทัด 35:
=== ทศวรรษที่ 1920 และ 1930 ===
[[ไฟล์:Billie Holiday 5.jpg|thumb|บิลลี ฮอลิเดย์]]
สหรัฐเขาเข้าร่วม[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] ทางการสั่งปิดสถานเริงรมณ์ใน[[นิวออร์ลีนส์]] ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่เดินทางมาหากินใน[[ชิคาโก]] [[นิวยอร์ก]] และ [[ลอสแอนเจลิส]] ทั้งสามเมืองจึงกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะนักดนตรีแจ๊สในช่วงนั้ ชิคาโกดูจะเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางดนตรีแจ็สเหนือกว่าอีกสองเมือง เพราะมีนักดนตรีมาทำงานมาก ชิคาโกเป็นเมืองที่ทำให้ [[หลุยส์ อาร์มสตรอง]] (Louis Armstrong) เป็นที่รู้จัก และกลายเป็นนักดนตรี นักร้องแจ๊สชื่อก้องโลกในเวลาต่อมา ในด้านการพัฒนา ชิคาโกมีดนตรีแจ๊สที่สืบสายมาจากนิวออร์ลีนส์แต่มีลักษณะเฉพาะตัว มีการทดลองจัดวงในแบบของตัวเอง เริ่มเอาเครื่องดนตรีใหม่ๆ เช่น [[แซ็กโซโฟน]]มาใช้รวมกับ [[คอร์เน็ต]] [[ทรัมเป็ต]] มีการทดลองแนวดนตรีใหม่ๆ เช่น การเล่น[[เปียโน]]แบบสไตรด์ (Stride piano) ของ[[เจมส์ จอห์นสัน]] (James P. Johnson) ซึ่งมีพื้นฐานจากแร็กไทม์ การทดลองลากโน้ตให้ยาวจนผู้ฟังคาดเดาได้ยากของอาร์มสตรอง และการปรับแพทเทิร์นของจังหวะกันใหม่เป็น Chicago Shuffle
 
ส่วนนิวยอร์กรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของแจ๊สในยุคปลายทศวรรษ 1920 แทนชิคาโก ดนตรีแจ๊สในนิวยอร์กพัฒนาเพื่อเป็นดนตรีเต้นรำให้ความสนุกสนานบันเทิง และเป็นที่มาของ [[สวิง]] (Swing) และ [[บิ๊กแบนด์]] (Big Band)
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/แจ๊ส"