ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิงโจ้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 54:
*''[[Macropus antilopinus]]'' (จิงโจ้แอนทีโลไพน์)
 
==การขยายพันธ์พันธุ์==
[[File:Joey in pouch.jpg|thumb|200px|left|ลูกจิงโจ้แรกเกิดที่ยังไม่มีขน และต้องคลานไปยังเ้ต้านมแม่เพื่อดูดนม เรียกกันว่า "โจอี้" (Joey)]]
การขยายพันธ์พันธุ์ของจิงโจ้ เป็นการเลี้ยงตัวอ่อนด้วยน้ำนม โดนการตั้งท้องประมาณ 30-45 วัน หลังจากนั้น ตัวอ่อนที่ยังไม่มีขนจะคลานมาจนถึงกระเป๋าหน้าท้องแล้วเลี้ยงตัวเองด้วยน้ำนมจนโตประมาณ 1 ปี ถึงจะออกจากกระเป๋าหน้าท้อง
 
แม้จะมีลูกได้ครั้งละ 1 ตัว แต่จิงโจ้สามารถที่จะมีลูกได้มากกว่า 1 ตัว ในถุงหน้าท้อง โดยลูกจิงโจ้แต่ละตัวจะมีขนาดไม่เท่ากัน เพราะเกิดในช่วงเวลาที่ต่างกัน หรือแม้กระทั่งมีตัวอ่อนในตัวของแม่จิงโจ้ ขณะที่ลูกจิงโจ้แรกคลอดยังคงคลานไปดูดนมอยู่ก็มี จิงโจ้จะมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า 2 เต้าแรกมีความยาวไว้สำหรับลูกจิงโจ้วัยอ่อนใช้ดูดกิน น้ำนมในส่วนนี้ มีคาร์โบไฮเดรตสูง ไขมันต่ำ ขณะที่อีก 2 เต้าจะมีขนาดสั้น ไว้สำหรับลูกจิงโจ้ที่โตแล้วดูดกิน มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ ไขมันสูง ขณะที่แม่จิงโจ้มีลูกวัยอ่อน ตัวอ่อนที่ยังไม่คลอดออกมา จะหยุดพัฒนาการเพื่อรอให้ลูกจิงโจ้วัยอ่อนนั้นเติบโตขึ้นมา แล้วจึงมาแทนที่ จิงโจ้จึงเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์และแพร่ขยายพันธุ์ได้่ตลอดเวลา ขณะที่ลูกจิงโจ้โตพอที่จะออกมาอยู่ข้างนอกได้แล้ว และในถุงหน้าท้องมีลูกจิงโจ้ัอีกตัวที่ยังอา่ศัยอยู่ แม่จิงโจ้จะไล่ให้ลูกตัวที่โตกว่าไม่ให้เข้ามา อาจจะให้แค่โผล่หัวเข้าไปดูดนม ซึ่งเวลานี้ลูกจิงโจ้ก็ถึงวัยจะที่กินหญ้าเองได้แล้ว แต่ก็มีถึงร้อยละ 80 ที่ลูกจิงโจ้จะตายลงเมื่ออายุได้ 2 ปี เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง<ref name="aus"/>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/จิงโจ้"