ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาฮินดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 42:
[[ไฟล์:Hindi belt.png|thumb|250px|บริเวณที่พูดภาษาฮินดีเป็น[[ภาษาแม่]]]]
 
ในสถานการณ์ของภาษาในประเทศอินเดียนั้น หนึ่งปัจเจกบุคคลสามารถพูดได้อย่างน้อยสองภาษาหรือหลายภาษา ก่อนอื่นในภูมิภาคที่พูดภาษาฮินดีนั้นในระดับต่างๆ พบภาษาพูดสี่ 4 รูปแบบ ดังนี้
# [[ภาษาสันสกฤต]]และ[[ภาษาอาหรับ]]ในพิธีการทางศาสนา
# ภาษาฮินดี อังกฤษ และภาษาอูรดู ในการสื่อสารที่เป็นทางการ
# ภาษาพรัช ภาษาอวธี [[ภาษาโภชปุรี]] [[ภาษาราชสถาน]] เป็นต้น ในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการและในระดับครอบครัว
# ภาษากัลกะติยา ภาษาบัมบะอิยา ภาษาไฮดราบะดี เป็นต้น ในระดับภาษาชาวบ้านสำหรับการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นกันเอง
 
ผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาฮินดีแต่อาศัยอยู่ในภูมิภาคของภาษาฮินดี นอกจากการพูดภาษาแม่ของตนแล้ว อาจใช้ภาษาในลักษณะข้อที่สอง 2 และสี่ 4 ประการเดียวกันนี้ผู้ที่พูดภาษาฮินดีแต่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่ไม่พูดภาษาฮินดี โดยทั่วไปแล้วอาจใช้ภาษาในลักษณะข้อที่สอง สาม2, 3 และสี่ 4
 
ในเขตภูมิภาคของภาษาฮินดีนั้น ภาษาฮินดีใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันมากที่สุด เขตภูมิภาคของภาษาฮินดีคือในรัฐอุตระประเทศ พิหาร หริยาณา มัธยะประเทศ ราชัสถาน นิวเดลฮี และแผ่ไปจนถึงหิมาจัลประเทศ ในรัฐต่างๆ ที่กล่าวถึงนี้ มีภาษาท้องถิ่นใช้สื่อสารในระดับไม่เป็นทางการอีกด้วย ภาษาท้องถิ่นของภาษาฮินดีที่กำลังกล่าวถึง แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้
* ฮินดีตะวันตก ในกลุ่มนี้มีห้า 5 ภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาบรัช , ภาษาขรีโบลี , [[ภาษาหริยนวี]] (บางกะรู) , ภาษาบุนเดลี และภาษากันเนาจี
* ฮินดีตะวันออก ในกลุ่มนี้มีสาม 3 ภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาอวธี ภาษาบเฆลี [[ภาษาฉัตตีสครีห์]]
* ภาษาพิหาร ในกลุ่มนี้มีสาม 3 ภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาโภชปุรี [[ภาษามคธี]] [[ภาษาไมถิลี]]
* ราชสถานี ในกลุ่มนี้มี ภาษาเมวรี ภาษามาร์วารี ภาษาหาเราตี ภาษาเมวาตี เป็นต้น
* ปหารี ในกลุ่มนี้มี ภาษามัณฑิยาลี ภาษาคัรฮะวาลี ภาษากุมาอูนนี เป็นต้น
 
ภาษาฮินดีไม่เพียงใช้พูดแต่ในรัฐที่เจ้าของภาษาฮินดีอาศัยอยู่เท่านั้น แต่ยังใช้พูดทั่วทั้ง[[ประเทศอินเดีย]] ภาษาหลักและภาษาท้องถิ่นของภูมิภาคที่ต่างๆ กันนั้นจึงปรากฏอิทธิพลในภาษาฮินดี ด้วยเหตุนี้สำเนียงการออกเสียง การเขียน โครงสร้างและการใช้ จึงทำให้ภาษาฮินดีเริ่มพัฒนารูปที่ต่างออกไปมากมาย และเกิดปัญหายุ่งยากในการทำความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ในความหลากหลายนั้น หากพิจารณาลักษณะการใช้ จุดประสงค์ และภูมิภาคแล้ว ไม่ว่าภาษาใดๆจะปรากฏความหลากหลายของรูปแบบให้เห็น ในประเด็นทางภูมิภาคจะพบภาษาท้องถิ่นมากมาย ในประเด็นของจุดประสงค์พบรูปแบบภาษาที่หลากหลาย เช่นภาษาที่ใช้ในการติดต่อธนาคาร ในการกีฬา ในธุรกิจการค้าหรือในกิจการต่างๆ ในส่วนของลักษณะการใช้นั้นแบ่งออกได้เป็นแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ภาษาที่ประชาชนทั่วไปใช้ในการติดต่อสื่อสารกันเองคือตัวอย่างของภาษาที่ไม่เป็นทางการซึ่งมีเป็นร้อยๆ ชนิด และโดยทั่วไปในเมืองต่างๆ ก็มีการผสมกับอิทธิพลจากภาษาพูดหรือภาษาท้องถิ่นของเมืองนั้นๆ เช่น ภาษาฮินดีแบบเมืองนิวเดลฮี ภาษาฮินดีแบบเมือง[[มุมไบ]](บัมบะอิยา) ภาษาฮินดีแบบเมือง[[กัลกัตตา]](กัลกะติยา) ภาษาฮินดีแบบเมือง[[ไฮดราบัด]](ไฮดราบะดี) เป็นต้น รูปแบบภาษาที่นำไปใช้โดยทั่วไปแล้วจึงอยู่ในขอบเขตของลักษณะการใช้ จุดประสงค์และเขตภูมิภาคดังกล่าวมา ดังนั้นเมื่อเราจะกล่าวถึงภาษาในระดับชาติของอินเดียซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นรูปแบบที่แสดงความเป็นชาติแล้ว ภาษาในรูปที่เรากำลังกล่าวถึงนั้นเรียกว่าภาษามาตรฐานหรือภาษาที่เป็นทางการ ภาษาฮินดีมาตรฐานก็ได้รับความพยายามกระทำให้ถึงซึ่งเกียรติยศอันนั้นด้วยกระบวนการจัดมาตรฐาน ภาษาฮินดีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในรูปแบบเดียวกันตั้งแต่เหนือจดใต้ ตะวันออกจดตะวันตก ในประเทศที่เต็มไปด้วยความหลากหลายอย่างอินเดีย กระบวนการชำระและเปลี่ยนแปลงจึงยังคงดำเนินเรื่อยมาพร้อมๆ กับกาลเวลาที่ดำเนินไป เพื่อทำให้ภาษาฮินดีเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งประเทศอินเดียอีกทั้งทรงพละกำลังยิ่งขึ้น ทรงสิทธิโดยสมบูรณ์ และเป็นวิทยาการ
 
== ไวยากรณ์ ==