ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลิ่นซุนดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
มีการแพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาค[[อินโดจีน]]เรื่อยจนถึง[[แหลมมลายู]]จนถึง[[เขตชีวภาพซุนดา|ภูมิภาคซุนดา]] และยังพบใน[[หมู่เกาะฟิลิปปินส์]]อีกด้วย สามารถหากินได้ทั้งบน[[ต้นไม้]], พื้นดิน และใต้ดิน เนื่องจากมีเล็บและหางที่แข็งแรงสามารถใช้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้ดี โดยอาหารส่วนใหญ่คือ [[มด]]และ[[ปลวก]] ลูกลิ่นที่เกิดใหม่จะเกาะติดแม่ โดยการใช้เล็บเกาะเกี่ยวโคนหางของแม่ไว้ จะหย่านมเมื่ออายุได้ 3 [[เดือน]] โดยปกติจะอาศัยหลับ[[นอน]]อยู่ตามโพรงในเวลา[[กลางวัน]] โดยใช้[[ดิน]]มาปิดไว้บริเวณปากโพรง เพื่อช่วยอำพรางโพรงที่มีความลึกประมาณ 3-4 [[เมตร]] เมื่อถูกรบกวนจากศัตรูหรือตกใจจะนอนขดตัวเป็นลูก[[ทรงกลม|กลม]] ๆ คล้าย[[ลูกบอล|ลูกฟุตบอล]] โดยไม่มีการต่อสู้แต่อย่างใด
 
สำหรับใน[[ประเทศไทย]]พบได้ทุกภูมิภาค และลิ่นซุนดาถือเป็นลิ่น 1 ใน 2 [[สปีชีส์|ชนิด]]เท่านั้นที่สามารถพบได้ (อีกชนิดหนึ่งนั่นคือ ลิ่นจีน) และเป็นสัตว์ที่นิยมค้าขายเป็นของผิด[[กฎหมาย]] โดยมักปรากฏเป็น[[ข่าว]]อยู่เสมอ ๆ ว่า เจ้าหน้าที่สามารถจับผู้ลักลอบได้ทีละมาก ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อนำขายต่อให้[[ภัตตาคาร]]หรือผู้ที่นิยมรับประทาน[[สัตว์ป่า]]<ref>[http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=474351 กรมศุลฯจับตัวนิ่ม106ตัว มูลค่ากว่าล้าน เตรียมส่งลาว จาก[[เนชั่นแชนแนล]]]</ref><ref>[http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=114526 สงขลา / ตำรวจรถไฟจับตัวนิ่ม 81 ตัว พร้อมผู้ต้องหา 2 คน ลักลอบนำเข้าจากมาเลย์]</ref><ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1287213175&grpid=02&catid=00 จนท.กรมศุลกากรจับตัวนิ่มเกือบร้อยตัว มูลค่ากว่าล้าน จาก[[มติชน]]]</ref> ทั้งนี้ลิ่นซุนดามีสถานภาพเป็น[[สัตว์ป่าคุ้มครอง]]ตาม[[พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535]] พร้อมกับลิ่นจีน<ref>[http://www.sobsuan.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2055 พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ(ลิ่นหรือนิ่ม)]</ref><ref>''สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน'' (กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก ISBN 974-87081-5-2 </ref>
 
== อ้างอิง ==