ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลิ่นซุนดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: คอมมอนส์-หมวดหมู่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
| range_map_caption = [[แผนที่]]แสดงการกระจายพันธุ์
}}
'''ลิ่นซุนดา''' หรือ '''ลิ่นมลายู''' หรือ '''ลิ่นชวา''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Sunda pangolin, Malayan pangolin, Javan pangolin; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Manis javanica}})

เป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] จำพวก[[Pholidota|ลิ่น]] มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Manis javanica'' มีรูปร่างเหมือน[[ลิ่นจีน]] (''M. pentadactyla'') ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ใน[[สกุล (ชีววิทยา)|สกุล]]เดียวกัน แต่ลิ่นซุนดามีหางที่ยาวกว่าและปกคลุมด้วยเกล็ดประมาณ 30 เกล็ด และสีลำตัวจะอ่อนกว่า โดยมี[[สีน้ำตาล]][[เหลือง]]หรือน้ำตาลเข้มและมี[[ขน]]บาง ๆ ขึ้นแทรกอยู่เล็กน้อย อีกทั้งมีขนาดลำตัวและ[[น้ำหนัก]]มากกว่า กล่าวคือ มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 42.5-55 [[เซนติเมตร]] มีความยาวหาง 34-47 เซนติเมตร และความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ประมาณ 7.5-9 เซนติเมตร น้ำนักตัวประมาณ 5-7 [[กิโลกรัม]]
 
มีการแพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาค[[อินโดจีน]]เรื่อยจนถึง[[แหลมมลายู]]จนถึง[[เขตชีวภาพซุนดา|ภูมิภาคซุนดา]] และยังพบใน[[หมู่เกาะฟิลิปปินส์]]อีกด้วย สามารถหากินได้ทั้งบน[[ต้นไม้]], พื้นดิน และใต้ดิน เนื่องจากมีเล็บและหางที่แข็งแรงสามารถใช้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้ดี โดยอาหารส่วนใหญ่คือ [[มด]]และ[[ปลวก]] ลูกลิ่นที่เกิดใหม่จะเกาะติดแม่ โดยการใช้เล็บเกาะเกี่ยวโคนหางของแม่ไว้ จะหย่านมเมื่ออายุได้ 3 [[เดือน]] โดยปกติจะอาศัยหลับ[[นอน]]อยู่ตามโพรงในเวลา[[กลางวัน]] โดยใช้[[ดิน]]มาปิดไว้บริเวณปากโพรง เพื่อช่วยอำพรางโพรงที่มีความลึกประมาณ 3-4 [[เมตร]] เมื่อถูกรบกวนจากศัตรูหรือตกใจจะนอนขดตัวเป็นลูก[[ทรงกลม|กลม]] ๆ คล้าย[[ลูกบอล|ลูกฟุตบอล]] โดยไม่มีการต่อสู้แต่อย่างใด