ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลากะตัก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
ลักษณะโดยทั่วไปเป็นปลาผิวน้ำขนาดเล็ก อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ลำตัวเรียวยาว แบนข้างมีสันหนามที่ท้อง ขากรรไกรบนยาวเลยหลังตา ครีบหลังตอนเดียว ครีบหางเว้าลึก มีแถบสีเงินพาดตามแนวความยาวของลำตัว
 
ปลากะตัก เป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 83-10 [[เซนติเมตร]] มีอายุขัยโดยเฉลี่ยไม่เกิน 3 ปี เป็นปลาที่หากินตามผิวน้ำ มักอยู่้รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยอยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 10-20 [[ไมล์]] ตามบริเวณชายฝั่งและ[[หมู่เกาะ]]ต่าง ๆ กิน[[แพลงก์ตอน]]ต่าง ๆ เป็นอาหาร ทั้ง[[แพลงก์ตอนพืช]] เช่น [[ไดอะตอม]] และ[[แพลงก์ตอนสัตว์]]เช่น [[ตัวอ่อน]]ของ[[ครัสเตเชียน]], [[Copepod|โคพีพอด]] หรือไข่ของ[[หอยสองฝา]] เป็นต้น และสำหรับ[[ห่วงโซ่อาหาร]]ในทะเล ปลากะตักก็เป็นอาหารสำคัญของปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่กว่า เช่น [[แมวน้ำ]], [[สิงโตทะเล]], [[โลมา]], [[วาฬ]] และ[[ปลาฉลาม]]
 
ปลากะตัก พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตน่านน้ำของ[[อินโด-แปซิฟิก]] ในน่านน้ำไทยพบ 11 [[species|ชนิด]] จากการศึกษาของ [[ทศพร วงศ์รัตน์]] ในปี [[ค.ศ. 1985]] จากทั้งหมด 20 ชนิด (เดิมมีอยู่ 18 ชนิด)<ref name="itis">[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=161866 จาก itis.gov]</ref> เป็น[[ปลาเศรษฐกิจ]]ที่สำคัญต่อมนุษย์ โดยสามารถนำไปแปรรูปต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น [[น้ำปลา]], [[ปลาป่น]], [[ปลาแห้ง]], [[บูดู]] รวมทั้งการบริโภคสด