ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เครื่องกระทบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต ลบ: zh,pl,qu,ko,fr,he,es,hu,it,gl,et,id,de,ja,bn,el,simple,sh,nl,ar,sv,pt,is,eo,sk,ru,en,sr,tr,fy,no,ca,fi,uk,nn,sl,cs,bg,fa,ka,hr,lt (strongly connected to th:เพอร์คัชชัน)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 43:
 
เครื่องกระทบที่นิยมนำมาใช้ในวงโยธวาทิต ได้แก่ กลองสแนร์ กลองเทเนอร์ เบสดรัม(กลองใหญ่) ฉาบ เป็นต้น ในวงโยธวาทิตมักมีการใช้เบสดรัม 4-5 ใบ โดยจะเรียกรวมกันว่า กลองคอร์ด ส่วนกลองสแนร์จะใช้ 3 ใบขึ้นไป เพื่อให้เสียงดัง และมีความหนักแน่น นอกจากนั้นยังมีการนำเฉพาะเครื่องกระทบที่อยู่วงโยธวาทิตมารวมวงรู้จักกันในชื่อ[[ดรัมไลน์]]
ไซโลโฟน (Xylophone)
ไซโลโฟน หรือ ระนาดสากล เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ(Percussion Instruments)ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดไม้ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตก ใช้บรรเลงในวง Orchestra ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับมาริมบา หรือไวบราโฟน แต่ขนาดเล็กกว่า ลูกระนาดทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง
ไซโลโฟน Xylophone เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ(Percussion Instruments) ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดไม้ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตก ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับมาริมบา หรือไวบราโฟน แต่ไวบราโฟนทำจากโลหะ และมีขนาดใหญ่กว่าไซโลโฟน ลูกระนาดของไซโลโฟนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น โร้สวูด เป็นต้น จัดเรียงลำดับเสียงตามบันไดเสียงโครมาติก (Chromatic) เช่นเดียวกับเปียโนหรือออร์แกน ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา และเอเชีย
ไม้ 2 อันที่ใช้ตีเรียกว่า ลูกค้อน ลักษณะตรงปลายเป็นหัวกลม ความกว้างของช่วงเสียงขึ้นอยู่กับขนาดของไซโลโฟน ซึ่งมีด้วยกัน 3 ลักษณะคือ เล็ก กลาง ใหญ่
เสียงของไซโลโฟน คล้ายเสียงระนาดของบ้านเรา คือ แกร่ง คม สั้นห้วน และชัดเจน ใช้เล่นไล่เสียง และเล่น “กลิสซานโต” ได้ดีเป็นพิเศษ และเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องดนตรีเล่นเดี่ยวทำนองเพลงหรือเพิ่มสีสันของวงดุริยางค์ให้งดงามขึ้น แซงท์-ซองส์ได้นำมาใช้ในวงดุริยางค์เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1874 ในเพลง “danse macabre” บรรยายถึงโครงกระดูกผีกระทบกัน
ประวัติของ ไซโลโฟน
ไซโลโฟน (จากภาษากรีกคำว่า ξύλον - xylon, "ไม้" [1] + φωνή-PHONE, "เสียง" เมื่อนำมารวมกันหมายถึง"เสียงไม้") เป็นเครื่องดนตรีในประเภทเครื่องกระทบที่ประกอบด้วยไม้ และท่อโลหะเพื่อทำให้เกิดการขยายเสียง จัดเรียงตามบันไดเสียงแบบโครมาติก อยู่ในประเภทเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอน เกิดเสียงโดยการตีกระทบ ส่วนใหญ่ตีกระทบเป็นทำนองเพลงได้ ลักษณะคล้ายกับระนาดของไทย คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา และเอเชีย
 
ช่วงเสียงของไซโลโฟน
 
 
 
ประวัติไซโลโฟนตะวันตก
ใช้งานครั้งแรกในยุโรปในยุค 1860 ครั้งแรกที่ใช้ในยุโรปเป็นยุค คามิลล์ Saint-Saëns '"เต้นระบำดาว" ในปี 1874 ได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ 28 บาร์ ในรูปแบบเสียงแบบครึ่งเสียง semitones ในรูปแบบของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ถูกนำไปร่วมเล่นในคอนเสิร์ตสวนวิพิธทัศนาและเป็นสิ่งแปลกใหม่ในการแสดงคอนเสิร์ตซิมโฟนี เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่กับการดนตรีพื้นบ้านของยุโรปตะวันออก ไซโลโฟนถูกใช้โดยวงดนตรีแจ๊สในช่วงต้น และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ประวัติศาสตร์ไซโลโฟนเอเชีย
 
ตามบันทึกเก่าแก่ของชนชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาพบว่า เมื่อกลุ่มของประชาชนที่พูดภาษามาลาโย-โปลีนีเซียอพยพไปยังทวีปแอฟริกา มีหลักฐานชิ้นหนึ่งพบว่า รูปแบบของไซโลโฟนหรือระนาดมีความคล้ายคลึงกันระหว่างแอฟริกากับเอเชียตะวันออกและออเคสตร้าระนาดชวาและออเคสตร้าแบบบาหลีมโหรี
 
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของระนาดมาจากศตวรรษที่ 9 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่ามีรูปแบบของเครื่องดนตรีที่คล้ายกัน ในจีนไซโลโฟนถูกนำมาใช้ในศาสนาฮินดูเพื่อประกอบในศาสนพิธี แถบชวาและบาหลีและ ส่วนต่างๆจะพบเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม เช่น แอฟริกา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ไทย, และอเมริกา จนเครื่องดนตรีถูกนำไปพัฒนาจนกลายเป็นสภาพสมบรูณ์ที่เป็นสากลในปัจจุบัน
 
มาริมบา (Marimba)
มาริมบา คือ เครื่องตีกระทบที่มีระดับเสียงแน่นอนเป็นระนาดของดนตรี
ตะวันตก ลักษณะทั่ว ๆ ไปเหมือนกับไซโลโฟนหรือไวปราโฟนเป็นระนาดไม้ขนาดใหญ่ ลูกระนาดทำด้วยไม้ที่มีชื่อว่า “โรสวู้ด” ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง
marimba เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ ประกอบด้วยแท่งไม้ที่เทียบเสียงหรือบาร์ แล้วจัดเรียงคล้ายเปียโน โดยมีท่อกลวงหรือท่อขยายเสียง ซื่งเป็นตัวทำเสียงกัอง อยู่ใต้แท่งไม้แต่ละแท่ง ใช้ตีด้วยไม้ รูปค้อน ส่วนหัวของไม้ ถ้าสร้างจากวัสดุต่างกันเสียงที่เกิดจากการตีก็จะต่างกันออกไป มาริมบ้ามีแหล่งกำเนิดมาจากทวีปแอฟริกา ในปัจจุบันนี้เป็นที่นิยมกันทั่วใปในทวีปอเมริกา มีรูปร่างคล้ายไซโลโฟน แต่เสียงทุ้มต่ำกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า ช่วงเสียงประมาณ 5 octave และมีช่วงเสียงที่กว้างและต่ำ รูปแบบเสียงจัดในรูปแบบเสียง แบบโครมาติก มาริมบาได้รับการพัฒนาในภาคใต้ของเม็กซิโก และทางภาคเหนือ ในเมืองกัวเตมาลา ส่วนประกอบส่วนมากจะทำจากไม้หรือวัสดุสังเคราะห์
แต่ส่วนมากไม้ rosewood เป็นที่นิยมมากที่สุด ส่วนบาร์ที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพของเสียง เสียงของบาร์ไม้ rosewood จะมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่า ส่วนบาร์วัสดุสังเคราะห์มีความคงทนและทนต่อสภาพอากาศ แต่มักมีราคาสูง สำหรับบาร์วัสดุสังเคราะห์เหมาะสำหรับการบรรเลงในที่โล่งแจ้ง เนื่องจากมีผลต่อสภาพภูมิอากาศน้อย ส่วนบาร์ไม้เหมาะสำหรับการบรรเลงภายใน เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงในด้านคุณภาพของเสียง เนื่องมาจากสภาพอากาศ
 
 
Resonators ท่อขยายเสียง
ท่อขยายเสียงของ มาริมบา มีอยู่สองแบบ คือ แบบ pvc และแบบโลหะ ท่อที่ให้เสียงแบบสมบรูณ์คือ แบบโลหะ ท่อขยายเสียงจะแขวนอยู่ข้างล่างของแต่ละบาร์ ความถี่ของท่อขึ้นอยู่กับบาร์ เสียงกระทบจากบาร์ทำให้เกิดเสียงผ่านท่อขยายจนเกิดเสียงกังวาลขึ้น ซึ่งขยายเสียงในลักษณะที่คล้ายคลึงกับกีต้าร์และไวโอลิน
 
 
 
ช่วงเสียงของ มาริมบา
 
Mallets มาริมบา
 
ไม้ตี มีลักษณะทั้งแบบหวายและแบบไฟเบอร์กลาส แบบหวายจะมีความยืดหยุ่นสูงกว่า รูปแบบการใช้ไม้ตีแบบต่างๆขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน แบบไฟเบอร์กลาสจะให้เสียงที่มีความดังกังวาน ส่วนแบบหวายจะให้เสียงที่นุ่มนวล วัสดุที่ปลายของไม้มักจะเป็นยางห่อหุ้มด้วยไหมพรม ส่วนไม้ที่มีความหนักเกินไปอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อบาร์ได้ ส่วนบาร์ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ไม้ที่มีความหนักพอสมควรในการตี ทั้งนี้การเลือกลักษณะของไม้ตีต้องคำนึงถึงการใช้งานด้วย
กลอคเค็นชปิล Glockenspiel
 
 
กลอคเค็นชปิล เป็นดนตรีประเภทตีกระทบ มีระดับเสียงที่แน่นอน ลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องดนตรีประเภท ไซโลโฟน บาร์หรือลูกระนาด ทำจากแผ่นโลหะ มีขนาดเล็ก ส่วนมากใช้บรรเลงในการเดิน ของทหาร ถือในแนวตั้งแล้วเอียงเล็กน้อย และแบบแนวนอน ไม้ที่ใช้ตีมีลักษณะเป็นพลาสติก ส่วนหัวมีลักษณะกลม มีช่วงเสียงกว้าง 2 คู่แปดเศษ ตั้งแต่ c กลางขั้นไป ไม้ที่ใช้ตีเรียก “mallet”มีหัวที่ทำด้วยวัสดุต่าง เช่น ไม้ ยาง โลหะ หรือพันหุ้มด้วยเส้นด้าย โดยปกติผู้เล่นจะถือไม้ตีข้างละอัน แต่ในบางครั้งเขาจะถือข้างละ 2 ถึง 3 อัน เพื่อเล่นคอร์ด
กลอคเค็นชปิล เหมาะอย่างยิ่งที่จะเล่นเสียงสูงของทำนองเพราะมีเสียงใส คล้ายระฆังเล็กๆ แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า เมื่อเวลาเครื่องดนตรีนี้บรรเลงยากที่จะบอกได้ว่าเสียงที่ดังอยู่ออกมาจากคู่แปดไหน ถ้าเล่นโน้ตต่างๆให้เร็วกระชั้นถี่เสียงอันกังวาน แต่ละเสียงซึ่งทอดยาวจะเหลี่อมซ้อนกันทำให้เสียงพร่า เฮนเดลได้ใช้ กลอคเค็นชปิล เป็นครั้งแรกในออระตอริโอ “saul” เมื่อ ค.ศ 1738
 
 
 
เบลล์ –ไลลา
 
กลอดเค็นชปิลอีกชนิดหนึ่งที่ถือเล่นในวงโยธวาธิตและแตรวงเรียกว่า “เบลล์ไลลา
หรือไลลา กลอคเค็นชปิล Lyra Glockenspiel ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะมีรูปร่างเลียนแบบไลร์ของชาวกรีกโบราณ
 
 
 
ระฆังราว (Orchestral Bells)
ระฆังราว (Tubular Bells) ในภาษาอังกฤษเรียกระฆังราวว่า "Orchestral Bells" และ "Chimes" เครื่องดนตรีชนิดนี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเลียนเสียงระฆังจริงๆ ทำด้วยท่อโลหะแขวนเรียงตามลำดับเสียงต่ำไปยังเสียงสูง ท่อโลหะที่มีขนาดสั้นจะเป็นเสียงสูง ส่วนท่อยาวจะเป็นเสียงต่ำ แขวนกับโครงโลหะในแนวดิ่ง ใช้ไม้ตีที่ปลายท่อด้านหัวจะเกิดเป็นเสียงเหมือนเสียงระฆัง ลักษณะเป็นท่อเส้นผ่าศูนย์กลาง30-38มิลลิเมตร ความแตกต่างของระดับเสียงของมันขึ้นอยู่กับความยาวของตัวท่อที่แขวนเรียงกันในแนวดิ่ง ระฆังท่อได้รับความนิยมในวัฒนธรรมตะวันตก ใช้บรรเลงในวงออเคสตร้า
รูปร่างของระฆังราวประกอบขึ้นด้วยท่อโลหะคล้ายท่อน้ำ ขว้างเรียงลำดับจากเสียงต่ำซึ่งเป็นท่อยาวไปหาเสียงสูง ซึ่งเป็นท่อสั้นในบันไดเสียงโครมาติก ท่อทั้งหมดนี้แขวนห้อยอยู่ในแนวดิ่งกับกรอบโลหะหรือกรอบไม้ เวลาเล่นผู้เล่นจะใช้ไม่ตี แต่ระฆังอีกชนิดหนึ่งมีลิ่มนิ้วให้ผู้เล่นกด เมื่อผู้เล่นกดลิ่มนิ้วจะมีกลไกไปบังคับ ลูกค้อนให้เคาะโลหะ การเล่นโดยกดลิ่มนิ้วเช่นนี้เหมาะที่จะให้เกิดเสียงดัง สับสนวุ่นวาย แต่ถ้าจะให้เสียงไม่ดังมาก ควรเล่นโดยใช้ตีจากมือโดยตรงจะทำได้ดีกว่า เพราะสามารถกะน้ำหนักของการตีได้ตามต้องการ
 
เสียงของระฆังราวเหมือนเสียงระฆังทั่วไป เมเยอร์แบร์เป็นผู้นำมาใช้เป็นคนแรก ในอุปรากรเรื่อง “Les Huguenots” เมื่อ ค.ศ. 1836 ปุชชินีได้บรรยายฉากในโบสถ์ในอุปรากรเรื่อง “Tosta”และไชคอฟสกีใช้ใน “1812 Overture”
 
 
 
 
 
ไวปราโฟน (Vibraphone)
 
ไวบราโฟน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ(Percussion Instruments)ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดโลหะขนาดใหญ่ ลักษณะทั่วไปคล้ายกับมาริมบาหรือไซโลโฟน ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะเพื่อเป็นตัวขยายเสียง มีแกนใบพัดเล็กๆ ประจำอยู่แต่ละท่อ ใช้ระบบมอร์เตอร์หมุนใบพัดทำให้เกิดคลื่นเสียงสั่นรัว ดังก้องกังวาลอย่างต่อเนื่อง vibraphone ผลิตขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ในปี 1921 ลักษณะคล้ายคลึงกับ ไซโลโฟนและมาริมบา แต่ละบาร์คู่กับหลอดขยายเสียง หลอดขยายมักทำจากอลูมิเนียม ลักษณะเฉพาะของ ไวปราโฟน มีใบพัดเล็กๆหมุนอยู่ มีสายพานเชื่อมต่อไปยังมอเตอร์ไฟฟ้า สามารถทำให้เกิดเสียงสั่น
 
ช่วงเสียงของ ไวปราโฟน (Vibraphone)
 
 
 
 
Crotales
 
Crotales บางครั้งเรียกว่า ฉาบโบราณ มีลักษณะเป็นฉาบใบเล็ก เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ ประกอบด้วยราวสำหรับ วางแผ่นทองแดง หรือ ทองเหลือง ใเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว ตีด้วยไม้ที่มีความหนักพอสมควร เพื่อให้ได้เสียงที่กังวาล ใช้บรรเลงในวงออเคสตร้า
ฉาบโบราณที่ใช้ในปัจจุบันนี้ได้ประดิษฐ์เลียนแบบขึ้นจากเครื่องดนตรีของชาวกรีกโบราณ ตัวฉาบที่ทำด้วยทองเหลืองมีขนาดไม่โตไปกว่าฝ่ามือ แต่มีความหนากว่า ฉาบธรรมดา ฉาบเหล่านี้แต่ละคู่จะแขวนห้อยกับกรอบโลหะหรือกรอบไม้ โดยตัวฉาบอยู่ในแนวนอนเรียงกันจากเสียงต่ำอยู่ทางซ้ายมือของผู้เล่น ไปหาเสียงสูงเวลาเล่นผู้เล่นจะถือฉาบข้างละอัน และกระทบกันแต่เพียงเบาๆ ถ้าต้องการให้เกิดเสียงสองเสียงที่แตกต่างในเวลากัน หรือกระชั้นกันด้วยแล้วจะต้องใช้ผู้เล่นสองคนเสียงของฉาบโบราณนี้ใสบริสุทธิ์ กระจุ๋มกระจิ๋มคล้ายกระดิ่งหรือลูกระฆังน้อยๆ
เชเลสตา Celesta
เชเลสตาเป็นเครื่องดนตรีที่มีลิ่มนิ้วเหมือนเปียโนใช้สำหรับนิ้วกด ถ้ามองเผินๆจะคล้ายออร์แกนเล็กๆ หรือฮาร์โมเนียมมาก โอกูสต์ มุสเตล แห่งนครปารีสได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรี นี้จากกลอคเค็นชปิล สำเร็จเมื่อ ค.ศ. 1886 หลักการใหญ่ๆ ของเครื่องดนตรีทั้งสองนี้เหมือนกัน คือ มีแผ่นเหล็กเรียงเป็นลูกระนาด ทำให้เกิดเสียงโดยการเคาะลูกค้อน แต่เชเลสตาได้ประดิษฐ์ขึ้นจนมีระบบกลไกภายใน สลับซับซ้อน คือ ใต้แผ่นเหล็กหรือลูกระนาด จะมีกล่องไม้ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวขยายเสียงและตัวที่ช่วยให้เสียงเบาและนุ่มนวลลง ที่แผ่นเหล็กแต่ละแผ่นมีลูกค้อนประจำเพื่อเคาะ ลูกค้อนแต่ละอันจะมีกลไกเชื่อมโยงกับลิ่มนิ้วแต่ละอันที่อยู่ภายนอก ด้วยเหตุนี้ เชเลสตาจึงทำให้การเล่นคอร์ดและเทคนิคอาร์เปจโจ สะดวกกว่ากลอคชปิลมาก
เสียงของเชเลสตาใสแจ๋ว บริสุทธิ์ เป็นเสียงที่เย็นไพเราะนุ่มหู คล้ายกับเสียงจากกระดิ่งตามชายคาโบสถ์ลอยมาตามลม เมื่อเชเลสตาเล่นเดี่ยวโดยมีเครื่องดนตรีอื่นๆ คลอเป็นฉากหลังแต่เพียงเบาๆ จะสร้างภาพของฟ้าราตรีที่ดาดาษด้วยละอองดาว กะพริบระยิบระยับ หรือไม่ก็หยอดฝนที่หยดหยาดจากปลายใบไม้ เป็นประกายแวววาวเมื่อต้องกับแสงแดด ไชคอฟกีได้นำเชเลสตามาใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1892