ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซาลาแมนเดอร์ไฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถปล่อยสารพิษประเภท[[อัลคาลอยด์]] ในรูปแบบของต่อมพิษที่ผิวหนังเพื่อป้องกันตัวได้ด้วย มีผลทำให้กล้ามเนื้อชักเกร็ง, ความดันโลหิตสูง โดยต่อมพิษนี้กระจายอยู่ทั่วตัว และกระจุกในพื้นผิวบางส่วนของร่างกายเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนหัว และผิวหลังส่วนผิวหนังมักจะตรงกับต่อมเหล่านี้ ซึ่งสารประกอบในการหลั่งผิวหนังอาจจะมีผลต่อการติืดเชื้อ[[แบคทีเรีย]] และ[[เชื้อรา]]ของผิวหนังชั้นนอก
 
พบกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำที่สะอาดต่าง ๆ ในป่าประเภท ป่าผลัดใบ หรือภูเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นป่าที่มีพืชชั้นต่ำประเภท[[มอสมอสส์]]ปกคลุม ในหลายประเทศของทวีปยุโรป ตั้งแต่[[ประเทศแอลเบเนีย]], [[ออสเตรีย]], [[เบลเยี่ยม]], [[บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา]], [[บัลแกเรีย]], [[ฮังการี]], [[โครเอเชีย]], [[สาธารณรัฐเช็ก]], [[ฝรั่งเศส]], [[เยอรมนี]], [[กรีซ]], [[อิตาลี]], [[ลักเซมเบิร์ก]], [[มอนเตเนโกร]], [[ยูโกสลาเวีย]], [[เนเธอร์แลนด์]], [[โปแลนด์]], [[โปรตุเกส]], [[โรมาเนีย]], [[สเปน]], [[สวิสเซอร์แลนด์]] โดยพบไปได้ไกลถึงภูมิภาค[[ตะวันออกกลาง]] เช่น [[ตุรกี]] และ[[อิหร่าน]]
 
มีพฤติกรรมหากินในเวลา[[กลางคืน]] กินสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น [[แมลง]], [[กุ้ง]], [[ปู]], [[ทาก]] หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำด้วยกันขนาดเล็ก โดยปกติในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวตามโขดหินและขอนไม้ จะออกมาหากินในเวลากลางวันบ้างก็ต่อเมื่อมี[[ฝน]]ตก ความชื้นในอากาศมีสูง ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะสามารถเห็นถึงความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจนที่สุด คือ ต่อมบวมรอบ ๆ ระบายชายของตัวผู้ ต่อมนี้มีหน้าที่ผลิตถุงเก็บสเปิร์ม ซึ่งประกอบด้วยสเปิร์มจำนวนมากที่ตอนปลาย เืมื่อซาลาแมนเดอร์ตัวเมียขึ้นมาบนบก ตัวผู้หลังจากปล่อยถุงสเปิร์มลงบนพื้นดินแล้วพยายามที่จะให้ตัวเมียรับเข้าไป[[ผสมพันธุ์]] หากประสบความสำเร็จทั้งไข่และสเปิร์มมีการปฏิสนธิกัน ซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวของตัวเมีย ตัวอ่อนจะได้รับการเพาะฟักในแหล่งน้ำที่สะอาดต่อไป<ref>หน้า 78-81 ''Salamandra เจ้าซาลาแมนเดอร์ไฟ'' โดย สุริศา ซอมาดี, คอลัมน์ Aqua Survey. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 29: [[พฤศจิกายน]] [[ค.ศ. 2012|2012]]</ref>