ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิลเฮ็ล์ม เรินท์เกิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
HiW-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: bar:Wilhelm Conrad Röntgen
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต เพิ่ม: af:Wilhelm Röntgen; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:Wilhelm Conrad Röntgen (1845--1923).jpg|thumbnail|วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน]]
 
'''วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน''' (Wilhelm Conrad Röntgen - [[27 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2388]] — [[10 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2466]]) [[ฟิสิกส์|นักฟิสิกส์]]ชาว[[เยอรมัน]] ประจำ[[มหาวิทยาลัยเวิร์ซแบร์ก]] ผู้ค้นพบและสร้าง [[รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า]] ที่มี [[ช่วงคลื่น]] ขนาดที่รู้จักในปัจจุบันว่า [[รังสีเอกซ์]] (x-rays) หรือ รังสีเรนต์เกน เมื่อวันที่ [[8 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2438]]ความสำเร็จที่ทำให้เรินต์เกนได้รับรางวัลโนเบลรางวัลแรก เมื่อ พ.ศ. 2444
 
'''เรินต์เกน''' ที่สะกดใน[[ภาษาเยอรมัน]]ว่า "Röntgen" มักสะกดเป็นภาษา[[อังกฤษ]]โดยทั่วไปว่า "Roentgen" ดังนั้น ในเอกสารวิชาการและการแพทย์เกือบทั้งหมดจึงใช้คำสะกดว่า "Roentgen"
บรรทัด 19:
== การค้นพบเอกซ์เรย์ ==
ในช่วงปี พ.ศ. 2438 เรินต์เกนได้ใช้อุปกรณ์ที่พัฒนาโดยเพื่อนร่วมงานผู้มีชื่อเสียงคือ '''อีวาน พัลยูอิ''' (Ivan Palyui)
นำมาให้ คือหลอดไฟที่เรียกว่า "หลอดพัลยูอิ" ซึ่งเรินต์เกนพร้อมกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ได้แก่ [[ไฮริช รูดอล์ฟ เฮิร์ทซ์]], [[วิลเลียม ครูกส์]], [[นิโคลา เทสลา]] และ[[ฟิลิบ ฟอน เลนาร์ด]] ต่างทำการทดลองและทดสอบผลกระทบของการปล่อยประจุไฟฟ้าแรงดึงสูงในหลอดแก้วสุญญากาศนี้ จนถึงปลายปี [[พ.ศ. 2408]] บรรดานักค้นคว้าเหล่านี้จึงได้เริ่มทดลองค้นคว้าหาคุณสมบัติของ[[รังสีแคโทด]]ข้างนอกหลอด ในต้นเดือนพฤศจิกายน เรินต์เกนได้ทดลองซ้ำโดยใช้หลอดของเลนาร์ดโดยทำช่องหน้าต่างด้วยอลูมเนียมบางๆ เพื่อให้รังสีผ่านออกและใช้กระดาษแข็งปิดทับเพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นอะลูมิเนียมเสียหายจาก[[ไฟฟ้าสถิตย์]]กำลังแรงที่จะเป็นในการสร้างรังสีแคโทด เรินต์เกนรู้ว่ากระดาษแข็งจะช่วยป้องกันไม่ให้แสงหนีออก แต่เขาได้สังเกตเป็นว่ากระดาษแข็งที่ทาด้วย'''แบเรียม ปลาติโนไซยาไนด์''' (barium platinocyanide) ที่อยู่ใกล้ขอบช่อง[[อะลูมิเนียม]]เกิดการเรืองแสง เรินต์เกนพบว่าหลอดของครูกส์ที่มีผนังหลอดหนาก็อาจเกิดการเรืองแสงในลักษณะเช่นนี้ได้
 
ในบ่ายวันที่ [[8 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2438]] เรินต์เกนตั้งใจแน่วแน่ว่าจะทดสอบความคิดนี้ เขาได้บรรจงทำแผ่นกระดาษแข็งอย่างระมัดระวังให้เหมือนกับที่ใช้กับหลอดของเลนาร์ด โดยปิดหลอดฮิททอร์ฟ-ครูกส์ด้วยกระดาษแข็งแล้วต่อขั้วจาก[[ขดลวดเหนี่ยวนำ]]ของรุห์มคอร์ฟเพื่อสร้างประจุไฟฟ้าสถิตย์ แต่ก่อนที่เรินต์เกนจะตั้งจอที่ทาด้วยแบเรียมปลาติโนไซยาไนด์เพื่อทดสอบความคิด เขาได้ปิดม่านปิดไฟให้ห้องมืดลงเพื่อดูว่าแผ่นกระดาษแข็งปิดแสงได้มิดหรือไม่ ในขณะที่ปล่อยกระแสจากขดลวดเหนี่ยวนำขยับกระดาษแข็งให้แน่นแล้วหันไปเตรียมการขั้นถัดไป เรินต์เกนได้พบว่า ณ จุดนี้เองที่เกิดมีแสงเรืองๆ ขนาดอ่อนๆ ปรากฏที่ปลายโต๊ะที่ห่างออกไป 1 เมตร เพื่อให้แน่ใจ เรินต์เกนได้ปล่อยกระแสจากขดลวดเหนี่ยวนำอีกหลายครั้ง แสงเรืองๆ ก็ยังเกิดขึ้นเหมือนเดิม เขาจุดไม้ขีดไฟดูจึงได้เห็นสิ่งที่อยู่ปลายโต๊ะนั้นแท้จริงก็คือแผ่นกระดาษแข็งทาสารแบเรียมฯ ที่เตรียมไว้สำหรับการทดลองขั้นต่อไปมั่นเอง
บรรทัด 31:
ณ จุดหนึ่ง ในขณะที่กำลังทดลองขีดความสามารถของวัสดุต่างๆ ในการปิดกั้นรังสี เรินต์เกนได้เอาแผ่น[[ตะกั่ว]]ชิ้นเล็กๆ วางขวางทางรังสีได้สังเกตเห็นภาพลางของโครงกระดูกตัวเองปรากฏบนแผ่นจอแบเรียมฯ ซึ่งเขาได้เขียนรายงานในเวลาต่อมาว่า ตรงจุดนี้เองที่ตนเองตัดสินใจรักษาการทดลองไว้เป็นความลับด้วยเกรงว่าการทดลองนี้อาจเกิดจากคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาด
 
บทความรายงานชิ้นแรกของเรินต์เกน คือ "'''ว่าด้วยสิ่งใหม่ของรังสีเอกซ์'''" (On A New Kind Of X-Rays) ตีพิมพ์ใน 50 วันต่อมาคือวันที่ [[28 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2438]] และในวันที่ [[5 มกราคม]] [[พ.ศ. 2439]] หนังสือพิมพ์ของ[[ประเทศออสเตรีย]]ได้รายงานการค้นพบรังสีชนิดใหม่ของเรินต์เกน เรินต์เกนได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์สาขาการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวิร์ซเบิร์กหลังการค้นพบครั้งนี้ เรินต์เกนได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับรังสีเอกซ์รวม 3 เรื่อง ระหว่างปี พ.ศ. 2438 - 2440 ข้อสรุปทั้งหมดของเรินต์เกนได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้องทั้งหมด เรินต์เกนได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งการวินิจฉัยทาง[[รังสีวิทยา]] เป็นสาขาเชี่ยวชาญเฉพาะที่ใช้ภาพ[[วินิจฉัยโรค]]
 
ในปี พ.ศ. 2444 เรินต์เกนได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์]]ซึ่งเป็นรางวัลแรกสุด รางวัลนี้ให้อย่างเป็นทางการเพื่อ "''เป็นการรับรู้และยกย่องในความวิริยอุตสาหะที่เขาได้ค้นพบรังสีที่มีความสำคัญและได้รับการตั้งชื่อตามเขานี้''" เรินต์เกนได้บริจาครางวัลทีได้รับให้แก่มหาวิทยาลัยที่เขาสังกัด และได้ทำเช่นเดียวกับที่ [[ปิแอร์ คูรี]] ได้ทำบ้างในหลายปีต่อมา คือการปฏิเสธไม่ถือ[[ลิขสิทธิ์]]ในสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่สืบเนื่องมาจากผลงานที่เขาค้นพบด้วยเหตูผลทาง[[จริยธรรม]] เรินต์เกนไม่ยอมแม้แต่จะให้ใช้ชื่อเขาเรียงรังสีที่เขาเป็นผู้ค้นพบ อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2547 [[IUPAC]] ได้ตั้งชื่อธาตุใหม่ว่า "[[เรินต์เกนเนียม]]" (Roentgenium) เพื่อเป็นเกียรติแก่เรินต์เกน
บรรทัด 61:
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์]]
[[หมวดหมู่:เสียชีวิตจากมะเร็ง]]
 
{{Link GA|de}}
 
[[af:Wilhelm Röntgen]]
[[an:Wilhelm Röntgen]]
[[ar:فيلهلم كونراد رونتغن]]