ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บาศกนิยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Toeytoey28 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Toeytoey28 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
ระยะที่ 3 คิวบิสม์แบบสังเคราะห์ (อังกฤษ : Synthetic Cubism) ระหว่าง ค.ศ. 1912-1914 คิวบิสม์แบบสังเคราะห์มีพัฒนาการล้ำหน้า เกินกว่าคิวบิสม์ที่ผ่านมามาก ศิลปินแสดงออกด้วยการจัดองค์ประกอบมากขึ้น และหยิบเอาเรื่องราวที่ง่ายและใกล้ตัวมาเป็นเนื้อหาแสดงออก เช่น แผ่นกระจก วัตถุที่ปรากฏนห้องทำงาน อาทิ แก้วเหล้า กล่องยาสูบ บุหรี่ ขวดเหล้า ไพ่ เศษผ้า เครื่องดนตรี หนังสือพิมพ์ โดยการใช้เทคนิคการปะติด (Collage) เข้ามาช่วย หรือที่เรียกว่า "Flat-Pattern Cubism" จัดวางลงบนผิวระนาบด้านตั้งและนอนในลักษณะแบนราบ ด้วยโครงสรา้งของสีที่เข้ากันในลักษณะลึกลับน่าอัศจรรย์ จิตรกรรมคิวบิสม์ในระยะหลังนี้ จะแสดงรูปทรงต่างๆ ของวัตถุด้วยการแบ่งแยกออกจากกัน และวางทับ ซ้อนกันด้วยผิวระนาบ(overlapping Planes) และเส้น มีค่าของสีและลักษณะผิวพื้นที่แตกต่างกัน ดังเช่น ภาพหญิงสาวกับกีต้าร์ ของ จอร์จ บาร์ค และภาพคนเล่นไพ่ ของปิกัสโซ ซึ่งศิลปินทั้งสองมีเป้าหมายด้านการแสดงออกมากกว่าคำนึงถึงเนื้อหา
===จุดมุ่งหมายและการตีความ===
กระแสคิวบิสม์มีความเชื่อทางศิลปะว่า การแสดงออกทางศิลปะนอกจากจะต้องไม่แสดงเชิงการถ่ายทอดตามความเป็นจริงตามตาเห็นแล้ว ศิลปินยังจะต้องกลั่นกรองรูปทรงด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปทรงให้เหลือเพียงแก่นแกนที่แท้จริงและมั่นคงแข็งแรงด้วยปริมาตรของรูปทรงที่แข็งแรงอัดแน่น ส่วนมิติแห่งความลึกถูกทำให้ปรากฏด้วยการใช้เหลี่ยมมุมประดุจเพชรที่ถูกเจียระไน ทำให้เกิดเงาทับซ้อนและเล่นแง่มุมด้วยขอบเขตของภาพ ที่ประสานสัมผัสกันอย่างเป็นจังหวะภายใต้การให้สีที่ไม่ฉูดฉาดรุนแรง เปลี่ยนแปลงรูปทรงธรรมชาติ มาสู่การจัดองค์ประกอบแบบนามธรรมทางเรขาคณิต ในลักษณะทับซ้อนกันบ้าง หรือมีรูปทรงบางใสซ้อนสลับกันบ้าง ใช้สีแบนราบปราศจากแสงและเงา มีความกลมกลืนหรือตัดกัน [[ไฟล์:ARCHIPENKO (Woman Combing.jpg|237*264px|thumbnail|default|'''ARCHIPENKO (Woman Combing Her Hair),''' 1914 or 1915 Bronze, (35.9 x 9.2 x 8.1 cm.)Raymond and Patsy Nasher Collection, Dallas, Texas 1984.A.40]]
หากพิจารณารูปแบบศิลปะของกระแสคิวบิสม์โดยภาพรวม จะเห็นมีลักษณะเป็นลูกบาศก์ ดังนั้นผลงานดังกล่าวจึงถูกเรียกว่าลัทธิหลายมุม หรือ Cubism อย่างไรก็ตามลักษณะเฉพาะประการแรกของควิบิสม์ประการสำคัญคือ การแสดงออกด้านการสร้างสรรค์ของศิลปินจะอยู่ภายใต้การควบคุมขอบเขตของผลงาน และความรู้สึกของศิลปินให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์และหลักการเสมอ ศิลปินคำนึงถึงความมีระยะใกล้ไกลในภาพ ด้วยรูปทรงขนาด การทับซ้อน การบัง และความโปร่งใสเหมือนภาพเอ๊กซเรย์ จะคำนึงถึงการตัดทอน การย่อและขยายส่วน และการบิดเบือนรูปทรง ให้อิสรเสรีแก่ผู้ชม และการสร้างสรรค์งานศิลปะจะคำนึงถึงหลังการจัดองค์ประกอบศิลป์
 
[[ไฟล์:ARCHIPENKO (Woman Combing.jpg|237*264px|thumbnail|default|'''ARCHIPENKO (Woman Combing Her Hair),''' 1914 or 1915 Bronze, (35.9 x 9.2 x 8.1 cm.)Raymond and Patsy Nasher Collection, Dallas, Texas 1984.A.40]]
===ประติมากรรมคิวบิสม์===
ผลพลอยได้จากจิตรกรรมกระแสคิวบิสม์ไปมีอิทธิพลต่อประติมากรรมอย่างเด่นชัดด้วยตัวของปีกัสโซ เคยสร้างประติมากรรมเพื่อเพิ่มพูนการค้นคว้าของกระแสนี้ควบคู่ไปกับจิตรกรรมด้วย เพราะบางอย่างในประติมากรรมแสดงออกเป็นรูปธรรมได้มากกว่าจิตรกรรม นอกจากได้มีการปั้นรุปด้วยดินเหนียวและหล่อด้วยโลหะแล้ว ปิกัสโซยังได้พัฒนาสร้างงานด้วยไม้ระบายสีด้วย เขาริเริ่มนำเศษโลหะมาเชื่อมต่อกันเป็นรูป โดยนำเศษชิ้นส่วนของเครื่องจักรซึ่งมีรูปร่างต่างๆ แต่ละชิ้นมีรูปทรงสำเร็จรูปอยู่แล้ว นำชิ้นสำเร็จรุปเหล่านั้นเข้ามารวมกันอยู่ในรูปเดียว ซึ่งก่อให้เกิดความคิดแก่พวกดาดาในภายหลัง อย่างไรก็ตาม มีประติมากรแท้ๆหลายคนทำงานตามแนวอุดมคติของกระแสคิวบิสม์อย่างสัมฤทธิผล