ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มัชฌิมาปฏิปทา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''มัชฌิมาปฏิปทา'''ในทางพุทธศาสนาหมายถึงทางสายกลาง คือ การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ '''อัตตกิลมถานุโยค''' คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป '''กามสุขัลลิกานุโยค''' คือ การพัวพันในกามในความสบาย ที่ไม่ใช่ทางสายกลาง คือ สักแต่ว่ากลาง โดยเป็นแต่เพียงโวหารไม่ได้กำหนดวิธีที่ถูกต้องไว้เลย แต่พระพุทธองเจ้าได้ทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้อย่างชัดเจน คือ [[อริยมรรค]]มีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียกว่า "ไตรสิกขา" ได้แก่ [[ศีล]] [[สมาธิ]] [[ปัญญา]]
 
'''มัชฌิมาปฏิปทา'''หมายถึงการปฏิบัติสายกลาง ซึ่งหลักปฏิบัติย่อมต้องคู่กับหลักการอันเป็นสายการกลางเช่นกัน โดยที่หลักการอันเป็นสายกลางนี้เรียกว่า'''มัชเฌนธรรม''' หรือหลักการที่ว่าด้วยความ'''สมดุล''' ([[สมตา]])อันเป็นลักษณะอันเป็นสากลของสรรพสิ่งอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับ [[ไตรลักษณ์]] [[อิทัปปัจจยตา]] [[สุญญตา]] [[ ตถตา]]อันเป็นกฎธรรมชาติอันเป็นหลักการสากลของสรรพสิ่งเหมือนกันอย่างหนึ่ง
 
'''มัชฌิมาปฏิปทา'''ใช้ในความความหมายถึง[[ความพอเพียง]] หรือการใช้ชีวิตที่ถูกต้องตามหลัก [[สัมมาอาชีวะ]] คือใช้ชีวิตอย่างรู้ประมาณในการบริโภค คือใช้ปัจจัยสี่เท่าที่'''จำเป็น''' ไม่ใช่ใช้ตามความ'''ต้องการ'''เพื่อสนองความอยาก
 
'''มัชฌิมาปฏิปทา''' แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย