ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยไดมารู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sasakubo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ไทยไดมารู''' เป็น[[ห้างสรรพสินค้า]]จาก[[ญี่ปุ่น]] ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้าประสงค์ (เซ็นทรัลเวิลด์ในปัจจุบัน) ต่อมา ห้างก็ได้ย้ายไปอยู่ที่ราชดำริอาเขต ที่ตั้งปัจจุบันคือบริเวณ[[บิ๊กซี]] ราชประสงค์ เปิดเมื่อวันที่ [[10 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2507]] โดยบริษัทไทยไดมารู จำกัด มีทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท ถือเป็นห้างสรรพสินค้าที่ประสบความสำเร็จแห่งหนึ่งในสมัยนั้น มีแนวความคิดแบบห้างสรรพสินค้าจากญี่ปุ่นที่เปิดขึ้นเพื่อรองรับคนญี่ปุ่น ที่เข้ามาทำงานใน[[ประเทศไทย]]เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ในบริเวณ[[ราชดำริ]]ที่มีสำนักงานบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นจำนวนมาก ไทยไดมารูยังเป็นห้างสรรพสินค้าที่มีบันไดเลื่อนแห่งแรกของไทย
 
ในวงการเมือง ห้างไทยไดมารู เคยเป็นจุดที่นิสิตนักศึกษา ใช้เป็นจุดรณรงค์ต่อต้านสินค้าจากต่างประเทศในช่วงปี 2516 ก่อนที่จะขยายตัวเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย จนเกิดความรุนแรงใน[[วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม]]
 
ในปี 2537 เมื่อไทยไดมารู ที่อยู่บริเวณศูนย์การค้าราชดำริ อาเขต หมดสัญญาลงได้ย้ายมาอยู่ที่ศูนย์การค้า[[เสรีเซ็นเตอร์]] [[ถนนศรีนครินทร์]] (ปัจจุบันคือ [[พาราไดซ์ พาร์ค]]) ดำเนินการในนาม บริษัทไทยดีเอ็มอาร์ รีเทล จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท มีบริษัทไดมารู อิงค์ จากญี่ปุ่น เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ถึงแม้ว่าเสรีเซ็นเตอร์จะอยู่ใกล้กับโครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ หลายโครงการ และเป็นย่าน ที่มีกำลังซื้อสูง แต่ไม่ตรงกับความคิดที่รองรับคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ และยังมีคู่แข่งจำนวนมาก โดยเฉพาะ[[ซีคอนสแควร์]]และ[[เซ็นทรัลพลาซา บางนา|เซ็นทรัลซิตี้ บางนา]] ซึ่งสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าชาวไทย ให้เข้าไปจับจ่ายได้มากกว่า ห้างไทยไดมารูที่[[เสรีเซ็นเตอร์]] จึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
 
หลังจากที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาเศรษฐกิจ จากการลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 ในปี 2541 ไดมารู อิงค์ จากญี่ปุ่นตัดสินใจขายหุ้นนบริษัทบริษัทไทยดีเอ็มอาร์ รีเทล ให้กับผู้ลงทุนชาวไทย คือ กลุ่มพรีเมียร์ ในเครือโอสถานุเคราะห์ แต่ให้สิทธิ์ชุดผู้บริหารให้ใช้ชื่อ ไดมารู ได้ แต่หลังจากนั้น 2 ปี การดำเนินการยังไม่ดี กลุ่มพรีเมียร์จึงตัดสินใจไม่ต่อสัญญาอีกต่อไป เพื่อเปิดห้างสรรพสินค้าใหม่ ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 จึงไม่มีชื่อ ไทยไดมารู อยู่ในประเทศไทย<ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=467 "ไดมารู" ชื่อนี้เหลือเพียงประวัติศาสตร์]</ref>
 
== อ้างอิง ==