ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมู่บ้านฮอลันดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rangsanee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Rangsanee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร (พ.ศ. 2133 – 2148) มีนายคอร์เนลิซ สเปกซ์ เป็นผู้อำนวยการโดยอยู่ในความควบคุมของรัฐบาลฮอลันดา เมื่อตั้งบริษัททำการค้าที่กรุงศรีอยุธยาทำให้ฮอลันดาและกรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันตามมา ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148 – 2154) ราชทูตกรุงศรีอยุธยาคณะแรกได้เดินทางไปกรุงเฮก ใน พ.ศ. 2151 เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้ามอริส แห่งราชวงศ์ออเรนจ์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2172 – 2199) บริษัทได้กำไรมากจึงได้สร้างถังเก็บน้ำอย่างดี และคลังสินค้าเพิ่มเติม ในปี พ.ศ. 2185 โดยมีนายโยสต์ สเคาเต็น เป็นหัวหน้าสถานีการค้าขณะนั้น ได้บรรยายไว้ว่า
“ประเทศนี้มีการผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ก็จริง แต่ไมตรีจิตมิตรภาพระหว่างพระมหากษัตริย์ และบริษัทของเราก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม...นั้นเพื่อประโยชน์แก่บริษัทที่จะรักษามิตรภาพนั้นให้สนิทแน่นแฟ้นต่อไป...เมื่อบริษัทการค้าของเราได้กำไรมา ทำการเปิดสำนักงานขึ้นอีกครั้งเมื่อ ค.ศ. 1631 (พ.ศ. 2174)...ข้าหลวงใหญ่และกรรมการบริษัทแห่งอินเดียจึงได้อนุมัติให้ข้าพเจ้าสร้างตึกอันหรูหราขึ้น ณ กรุงศรีอยุธยา นี้ใน ค.ศ. 1634 (พ.ศ. 2177) ตึกหลังนี้ประกอบด้วยโรงเก็บสินค้า ห้องอยู่อาศัย ห้องโถงต่างๆ และให้ขุดคลองแยกจากแม่น้ำเข้ามายังที่ของบริษัทด้วยสำนักงานของเราเวลานี้จึงเป็นที่เหมาะด้วยประการทั้งปวงในการค้าขาย ข้าพเจ้าเชื่อว่าบริษัทของเราไม่มีที่เหมาะสมๆ เช่นนี้อีกทั้งภาคตะวันออก” จากจดหมายเหตุของนายโยสต์ สเคาเต็น <ref>http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/content/view/149/32/</ref>(๔๐๐ ปี สัมพันธไมตรีไทย – เนเธอร์แลนด์ ๒๑๔๗ – ๒๕๔๗, สถาบันอยุธยาศึกษา)