ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25:
 
==ภาวะแทรกซ้อน==
การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพเป็นทางเลือกสุดท้ายของการช่วยชีวิตซึ่งหากไม่ได้ทำแล้วผู้ป่วยที่ไม่มีชีพจรจะเสียชีวิตอย่างแน่นอน ธรรมชาติของลักษณะการกดหน้าอกเพื่อช่วยกู้ชีพย่อมนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขภายหลัง ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ [[Rib fracture|ซี่โครงหัก]] [[Sternal fracture|กระดูกสันอกหัก]] เลือดออกใน[[Anterior mediastinum|ช่องอกด้านหน้า]] ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับ[[Upper respiratory tract|ทางเดินหายใจส่วนบน]] การบาดเจ็บต่อ[[อวัยวะในช่องท้อง]] และภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับเนื้อเยื่อ[[ปอด]] เป็นต้น
 
การบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดจากการช่วยกู้ชีพคือกระดูกซี่โครงหัก จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีโอกาสเกิดประมาณ 13-97% และกระดูกสันอกหักซึ่งมีโอกาสเกิดประมาณ 1-43% ภาวะเหล่านี้ถือเป็น[[Iatrogenesis|ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการให้การรักษา]] (iatrogenic) และอาจทำให้จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม (หากผู้ป่วยรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดได้) แต่ภาวะเหล่านี้เพียง 0.5% เท่านั้นที่เป็นมากจนถือว่าเป็นอันตรายต่อชีวิต
 
โอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บชนิดใดหรือเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่นเพศและอายุ เช่น ผู้หญิงมีโอกาสเกิดกระดูกสันอกหักมากกว่าผู้ชาย ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดกระดูกซี่โครงหักมากกว่าคนอายุน้อย เป็นต้น ผู้ป่วยเด็กและทารกมีโอกาสเกิดกระดูกซี่โครงหักน้อยโดยมีโอกาสประมาณ 0-2% ซึ่งหากเกิดมักเป็นกระดูกซี่โครงด้านหน้าหักและหักหลายชิ้น
 
ในกรณีที่มีการกดหน้าอกเพื่อกู้ชีพในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีภาวะหัวใจหยุด มีผู้ได้รับบาดเจ็บดังกล่าวเพียงประมาณ 2% (แต่มีความรู้สึกเจ็บหรือไม่สบายตัวประมาณ 12%)
 
==วิทยาการระบาด==
===โอกาสของการได้รับการช่วยกู้ชีพ===