ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดธาตุทอง (กรุงเทพมหานคร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nathabkk (คุย | ส่วนร่วม)
Nathabkk (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 85:
 
'''วัดธาตุทอง พระอารามหลวง'''ในอดีต อารามแห่งนี้เดิมมี ๒ วัด คือวัดหน้าพระธาตุ และวัดทองล่าง วัดหน้าพระธาตุตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร เป็นวัดเก่าที่สร้างขึ้นในสมัยอโยธยา (กรุงศรีอยุธยา) หน้าวัดมีพระพุทธเจดีย์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถาปนาโดย พระเจ้าสายน้ำผึ้งหรือพระเจ้าดวงกฤษณราช กษัตริย์แห่งอโยธยา (ปรากฏในพงศาวดารเมืองเหนือ-อยุธยามรดกโลก) ส่วนวัดทองล่างนี้เล่ากันมาว่า สถานที่ตรงนั้นเป็นสวนผลไม้ของ ปู่ ย่า ตา ยาย ของนายทอง โดยได้รับมรดกจากวงศ์สกุล นัยว่า กลางสวนนั้นมีต้นโพธิ์ใหญ่โตมาก นายทองจึงเป็นกังวลเพราะเห็นว่าต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ในวัด ไม่สมควรจะให้อยู่ในบ้าน จะโค่นทิ้งเสียก็กลัวว่า จะเป็นอันตรายแก่ตนและครอบครัว จึงบริจาคที่ส่วนนั้นสร้างเป็นวัดเล็กๆขึ้น พอเป็นที่อยู่ของพระพอสมควร วัดนั้นยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ดี แต่ก็ยังมีสมภารชาวรามัญรูปหนึ่งชื่อว่า "กะทอ" กะทอเป็นภาษารามัญ กะ แปลว่า ปลาตะเพียน ทอ แปลว่า ทอง กะทอ จึงแปลว่า ปลาตะเพียนทอง ส่วนชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่า สมภารทอง สมภารกับนายทองเจ้าของวัดต่างร่วมกันทำนุบำรุงวัดจัดสร้างอุโบสถเสนาราม ต่อมาท่านทั้ง ๒ เล็งถึงนิมิตหมาย ๓ ประการ คือ

๑. ที่เดิมมีต้นโพธิ์อยู่

๒. เจ้าของที่ชื่อนายทอง

๓. สมภารชื่อทอง

จึงตั้งชื่อวัดนี้ขึ้นว่า "วัดโพธิ์สุวรรณาราม" หรือวัดโพธิ์ทอง ครั้นนายทองถึงแก่กรรม ผู้เป็นบุตรจึงได้ปฏิสังขรณ์วัดเป็นลำดับมา ในชั้นหลังๆวัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดทอง" ภายหลังวัดทอง มีหลายแห่งตามแม่น้ำเจ้าพระยา มีทั้งด้านบนและล่างจึงเพิ่มอักษรท้ายชื่อนี้ว่า "วัดทองล่าง" คู่กับวัดทองบน ที่ตั้งของวัดทองล่างนี้ อยู่ใกล้กับฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองพระโขนง
 
เส้น 98 ⟶ 106:
 
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธุ์ ๒๕๕๐ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณารับวัดธาตุทองไว้ในพระอุปถัมภ์ และประทานตราสัญลักษณ์ใหม่ให้แก่วัด เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดธาตุทอง เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ในวันที่ ๒๙ พฤษาภาคม ๒๕๕๕ จวบจนปัจจุบัน
 
 
== พระมหาเจดีย์ ๘๔ พรรษา ราชนครินทร์ ==