ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: มีรับสั่ง
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: พระราชทาน
บรรทัด 3:
[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]ทรงโปรดการเล่น[[กีฬา]]มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อประทับอยู่ ณ [[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]] ทรงโปรดกีฬาหลายประเภท เช่น [[สกีน้ำแข็ง]], ยิง[[ปืน]], [[กอล์ฟ]]เล็ก, การแข่งขันรถเล็ก, [[เทนนิส]], [[แบดมินตัน]], [[เครื่องร่อน]] โดยทรงเล่นกีฬาเหล่านี้มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยทรงศึกษาข้อมูลของกีฬาแต่ละประเภทอย่างละเอียด และทรงฝึกฝนจนปฏิบัติได้ดี นับเป็นแบบอย่างที่ดีของนักกีฬา น่าสังเกตว่ากีฬาที่โปรด มักเป็นกีฬาที่ไม่ได้ใช้แต่พละกำลังเพียงอย่างเดียว คือ ต้องอาศัย ความรู้รอบตัวและเทคนิคไหวพริบ ผนวกกับความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในกีฬานั้น ๆ ซึ่งทรงพอพระทัยกับการเผชิญความท้าทายในเกมกีฬาเป็นอย่างมาก เช่น เทนนิส, [[เรือใบ]] เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเคารพกฎกติกาของการกีฬาที่ทรงเล่น และมักจะทรงเน้นย้ำให้นักกีฬาทั้งหลายมีวินัยตลอดเวลา ทรงให้ความสำคัญต่อการฝึกซ้อมเป็นอันมาก ทรงสนพระทัยกีฬาที่มีโอกาสได้ฝึกซ้อม ด้วยทรงเห็นว่าการจะเป็นนักกีฬาที่ดีนั้น ต้องให้ความสนใจในการฝึกซ้อม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงตนเอง มีประสบการณ์เพิ่มขึ้นถ้านักกีฬาคนใดไม่ฝึกซ้อมก็จะเป็นนักกีฬาที่ดีไม่ได้ แต่ด้วยพระราชภารกิจ อันมากมายของพระองค์ กีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนั้น ส่วนมากจะทรงเป็นระยะๆ บางช่วง ด้วยไม่สะดวกที่จะทรงฝึกซ้อมเป็นประจำ นอกจากกีฬาแข่งขันแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังสนพระทัยในการออกกำลังพระวรกายเพื่อสุขภาพอีกด้วย เช่น วิ่งเหยาะ และเดินเร็ว การออกกำลังพระวรกายสม่ำเสมออย่างถูกหลักวิชาการ คือ มีการบันทึกพระชีพจร ความดันพระโลหิตทั้งก่อนและหลังการทรงออกกำลังพระวรกาย รวมทั้งทรงกระตุ้นให้เกิดความอบอุ่นแก่พระวรกายก่อนเริ่ม และผ่อนคลายความตึงเครียดของพระกล้ามเนื้อ หลังจากการออกกำลังพระวรกาย โดยทรงปฏิบัติเช่นนี้เป็นกิจวัตร เป็นแบบฉบับของนักกีฬาที่ดี ถึงแม้ในช่วงแปรพระราชฐานไปในที่ต่าง ๆ ในเวลากลางวันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะอุทิศเวลาเพื่อราษฎรของพระองค์ กว่าจะเสร็จสิ้นพระวรกายด้วยการทรงพระดำเนินแล้ว เป็นระยะทางนับเป็นหลายร้อยเมตร เพื่อให้พระวรกายของพระองค์แข็งแรง พร้อมที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปในที่ต่าง ๆ เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์ได้เสมอ
 
โดยทรงพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการกีฬาไว้ว่า '''''"การกีฬามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตของแต่ละคนและชีวิตบ้านเมือง"'' ''' พระราชดำรัสนี้แสดงให้เห็นถึงพระราชปณิธานในเรื่องการ
ส่งเสริมการกีฬาว่าเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาบุคคลและประเทศชาติ จึงทรงส่งเสริมกีฬา
ทุกประเภท พร้อมทั้งทรงกีฬามากมายหลายประเภทเช่นกัน
บรรทัด 44:
 
== วงการมวย ==
สำหรับนักกีฬาไทยแล้ว กีฬา[[มวย]]นับเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่นักกีฬาไทยสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศได้มากมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับวงการมวยมาโดยตลอด โดยจะเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานทอดพระเนตรการชกของนักมวยไทยกับนักมวยต่างชาติหลายต่อหลายครั้ง เช่น การชกระหว่าง [[โผน กิ่งเพชร]] กับ [[ปาสคาล เปเรซ]] นักมวยชาว[[อาร์เจนตินา]] เมื่อค่ำ[[วันเสาร์]]ที่ [[16 เมษายน]] [[พ.ศ. 2503]] ณ [[สนามมวยเวทีลุมพินี]] ซึ่งผลการชก โผนสามารถเอาชนะคะแนนเปเรซไปอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ ได้ครองตำแหน่งแชมป์โลกเป็นคนแรกของไทย หรือการชกระหว่าง [[ชาติชาย เชี่ยวน้อย]] กับ [[แอฟเฟรน ทอร์เรส]] นักมวยชาว[[เม็กซิโก|เม็กซิกัน]] เมื่อค่ำ[[วันศุกร์]]ที่ [[20 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2513]] ณ สนามกีฬากิตติขจร (ปัจจุบันคือ [[อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก]]) ผลการชก ชาติชายเป็นฝ่ายคะแนน ได้ครองแชมป์โลกเป็นสมัยที่ 2 เป็นต้น ซึ่งหลังจากการชกทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นักมวยเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด และทรงมีพระราชปฏิสันธานอย่างเป็นกันเองและห่วงใย และจะทรงพระราชทานเข็มขัดแชมป์โลกให้ด้วย
 
และเมื่อครั้งที่ [[แสน ส.เพลินจิต]] เดินทางไปป้องกันตำแหน่งแชมป์โลก ณ [[เมืองโอซากา]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] กับ [[ฮิโรกิ อิโอกะ]] เมื่อวันที่ [[17 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2538]] ผลการชกแสนเอาชนะน็อกไปได้ในยกที่ 10 หลังการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงส่งพระราชสาสน์ผ่านทางกงศุลไทย ณ เมืองโอซากา ความว่า พระองค์ทรงทอดพระเนตรการชกของแสนอยู่ผ่านทาง[[โทรทัศน์]] ทรงชมว่าแสนชกได้ดี ยังความปลาบปลื้มแก่แสนและคณะเป็นอย่างยิ่ง