ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: nds-nl:Bertrand Russell
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 39:
เขาได้เขียนบทความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The Tribunel ซึ่งออกโดยสมาคมดังกล่าว โดยได้กล่าวประณามรัฐบาลอย่างรุนแรง ในกรณีที่ได้นำประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม ด้วยการประกาศตัวเป็นปรปักษ์และทำสงครามกับประเทศเยอรมนี ผลปรากฏว่าเขาถูกจับไปกุมขังเป็นเวลาร่วม 6 เดือนเศษ แต่การที่เขาถูกจับไปกุมขังคราวนี้กลับเป็นผลดีต่อการศึกษาอย่างมาก เพราะรัสเซลล์ได้ใช้เวลาทั้งหมดในคุก เขียนตำราชื่อ Introduction of Mathematical Philosophy จนสำเร็จ และตำราเล่มนี้เองที่ถือว่าเป็นบรมครูของวิชาตรรกวิทยา ที่บรรดานักการศึกษาและนักศึกษาในปัจจุบันอาศัยเรียนและอ้างอิงอยู่มิได้ขาด ต่อจากนั้นรัสเซลก็ได้เริ่มงานเขียนขึ้นใหม่ชื่อ The Analysis of Mind (ค.ศ. 1921) เมื่อได้อิสรภาพแล้วรัสเซลก็ได้พบรักครั้งใหม่กับ Dora Black และได้ตัดสินใจแต่งงานกันในปี ค.ศ. 1921 ระหว่างนั้นรัสเซลได้ผลิตผลงานเขียนออกมามิได้หยุดทั้งด้านปรัชญา ตรรกวิทยา คณิตศาสตร์ จริยศาสตร์และการปกครอง
 
จนกระทั่งถึงปี [[พ.ศ. 2470]] (ค.ศ. 1927) รัสเซลกับภรรยาได้เปิดโรงเรียนทดลองขึ้นแห่งหนึ่งที่ Telegraph Houst ใกล้ ๆ กับเมืองปีเตอร์สฟิลด์ โดยทำการสอนเด็กเล็กตามแนวความคิดของเขา ปีเดียวกันนี้เองเขาได้สร้างผลงานเขียนอีกเล่มหนึ่ง ชื่อ ''ทำไมฉันถึงไม่ใช่คริสเตียน'' (Why I am not a Christian) ซึ่งเป็นหนังสือต่อต้านความเชื่อเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า เรื่องนรกสวรรค์ใน คริสตศานา โดยใช้ถ้อยคำที่รุนแรง ตรงไปตรงมา จนทำให้เหล่า[[อนุรักษ์นิยมอนุรักษนิยม]]และนักวิจารณ์ประณามว่าเขาเป็นคนนอกศาสนา ไร้ศีลธรรม เป็นคน[[ต่อต้านพระเจ้า]] (Anti Christ) แต่เขาไม่แยแสกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น
 
ปี [[พ.ศ. 2472]] (ค.ศ. 1929) รัสเซลล์ได้เขียนหนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อ Marriage and Moral นอกจากจะเขียนวิจารณ์สตรีเพศแล้ว เขายังได้แสดงความคิดเห็นที่ค่อนข้างจะล้ำยุค และอีกเช่นเคยที่เขาจะหลีกเลี่ยงนิสัยส่วนตัวมิได้ คือใช้ถ้อยคำรุนแรง ตรงไปตรงมาอย่างที่สุด ทั้งยังได้แทรกแง่คิดทางด้านจริยศึกษาและทางสังคม ไว้อย่างละเอียด โดยเฉพาะในเรื่องกามารมณ์ ความตอนหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ เขาเขียนไว้ว่า ''“ตัณหาของมนุษย์จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายผู้นั้น แต่ในขณะเดียวกันสภาพสังคมที่เขาอาศัยอยู่นั้น ก็ย่อมมีส่วนอย่างมากทีเดียว ที่จะช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศให้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในสมัย[[พระนางเจ้าวิกตอเรีย]]นั้น ผู้ชายอังกฤษเพียงแต่เห็นหัวเข่าของสตรี ก็เกิดความรู้สึกทางเพศแล้ว แต่สำหรับปัจจุบัน ดูเหมือนจะไม่รู้สึกอะไรเลย ทั้งนี้เป็นผลมาจากแฟชั่นการแต่งกายของสตรีที่ล้ำยุคอยู่เสมอ นี่ถ้าหากเปลือยกายล่อนจ้อนเป็นแฟชั่นขึ้นมา มันอาจจะไม่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศของผู้ชายเลยซักนิดเดียวก็ได้ และถ้าถึงเวลานั้นอาจจะต้องมีการออกกฎหมายบังคับให้ผู้หญิงสวมเสื้อผ้าอาภรณ์ เพื่อล่อใจผู้ชายขึ้นก็ได้ เหมือนคนป่าบางจำพวก เก้าในสิบของแรงกระตุ้นจากนวนิยายประเภทยั่วยุกามารมณ์ (Porrography) นั้นเกิดขึ้นเนื่องจากความรู้สึกหื่นกระหายที่จะเสพกาม ส่วนที่เหลืออีก 1 ส่วนนั้นเกิดจากด้านสรีรวิทยา ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ แม้หลายคนจะไม่เห็นด้วยกับข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าก็เห็นว่ารัฐบาลไม่ควรออกกฎหมายห้ามตีพิมพ์สิ่งยั่วยุกามารมณ์”''