ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วสันตฤดู (บอตตีเชลลี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aavindraa (คุย | ส่วนร่วม)
Automatically replacing Sandro Botticelli 038.jpg with superior quality file, Botticelli-primavera.jpg
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 14:
ซานโดร บอตติเชลลีเขียนภาพ “ฤดูใบไม้ผลิ” ราวปี [[ค.ศ. 1482]] ในปี ค.ศ. 1551 [[จอร์โจ วาซารี]]กล่าวถึงภาพนี้ว่าเป็นการประกาศถึงการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ ({{lang-it|“Primavera”}}) ที่เป็นภาพที่อยู่ในคฤหาสน์[[เมดิชิ]]ในคาสเตลโลไม่ไกลจาก “คฤหาสน์เพตราเอีย” [[ลอเรนโซ ดิ ปิแอร์ฟรานเชสโค เดอ เมดิชิ]] (Lorenzo di Pierfrancesco de' Medici) ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของ[[ลอเรนโซ เดอ เมดิชิ]]ซื้อคฤหาสน์นี้ในปี ค.ศ. 1477 ซึ่งทำให้สรุปว่าภาพ “ฤดูใบไม้ผลิ” เป็นภาพที่เขียนให้ปิแอร์ฟรานเชสโคเมื่อมีอายุ 14 ปีเมื่อซื้อคฤหาสน์ จากการสำรวจทรัพย์สินของปิแอร์ฟรานเชสโคและน้องชาย[[จิโอวานนิ เดอ เมดิชิ อิล โพโพลาโน|จิโอวานนิ]] (Giovanni il Popolano) ในปี ค.ศ. 1499 กล่าวถึง ภาพ “ฤดูใบไม้ผลิ” ว่าตั้งแสดงอยู่ที่วังในเมืองฟลอเรนซ์ในห้องรอที่ติดกับห้องของปิแอร์ฟรานเชสโค
 
ภาพเขียนขนาดใหญ่เช่นนี้เป็นเรื่องปกติสำหรับครอบครัวที่มีฐานะมั่งคั่ง แต่ภาพ “ฤดูใบไม้ผลิ” เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงการเขียนรูปสัญลักษณ์คลาสสิคคลาสสิกและการวางรูปแบบของงานเขียนแบบเรอเนซองส์ ภาพ “ฤดูใบไม้ผลิ” เป็นภาพของเทพีวีนัสขนาดเท่าตัวคนยืนกึ่งเปลือยอยู่กลางภาพ ภาพนี้เป็นภาพที่ผู้ชมจะเข้าใจความหมายของภาพได้ก็ด้วยการมีความรู้อันลึกซึ้งในวรรณกรรมของยุคเรอเนซองส์และความสามารถในการ[[ประสานทัศน์]]ต่างๆ เข้าด้วยกัน (syncretism) ขณะที่ตัวแบบบางตัวในภาพมาจากแรงบันดาลใจจากประติมากรรมโบราณแต่มิใช่เป็นงานก็อปปีงานโดยตรงแต่เป็นการเขียนแบบตีความหมายตามความคิดของบอตติเชลลี ที่ตัวแบบมีลักษณะเพรียว, รูปทรงที่เป็นแบบอุดมคติอันสูงส่ง และ มีลักษณะการวางท่าแบบราชสำนักของคริสต์ศตวรรษที่ 16 แบบ[[แมนเนอริสม์]]
 
[[วีนัส]]ยืนอยู่กลางภาพห่างจากตัวแบบอื่นๆ โดยมี[[คิวปิด]]เล็งศรแห่งความรักไปยัง[[เทพีชาริทีส]] (Charites) หรือ “ไตรเทพี” ผู้ที่กำลังเต้นรำอยู่เป็นกลุ่มอยู่ทางด้านซ้ายของภาพ เทพีองค์ไกลไปทางขวาเป็นใบหน้าของ[[คาเทอรินา สฟอร์ซา]] (Caterina Sforza) ที่บอตติเชลลีเขียนเป็นภาพเหมือนต่างหากในภาพ “แคทเธอรินแห่งอเล็กซานเดรีย” สวนของวีนัสผู้เป็นเทพีแห่งความรักได้รับการอารักขาโดย[[เทพเมอร์คิวรี]]ผู้กำลังเอื้อมมืออกไปแตะผลไม้ เมอร์คิวรีแต่งตัวด้วยเสื้อสีแดงอย่างหลวมๆ สวมหมวกเหล็กและห้อยดาบที่เป็นการแสดงว่าเป็นผู้อารักขาสวน การเป็นผู้สื่อข่าวจากพระเจ้าก็บอกได้จากรองเท้าที่มีปีกและ[[คทางูเดี่ยว]]ที่เมอร์คิวรีใช้ในการแยกงูสองตัวและรักษาความสงบ บอตติเชลลีเขียนภาพงูเป็นมังกรมีปีก จากทางด้านขวา[[เซไฟรัส]]เทพเจ้าแห่งลมพยายามออกมาไล่นิมฟ์[[คลอริส]] ทางซ้ายของคลอริสคือ[[เทพีฟลอรา]]เทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิผู้กำลังโปรยดอกไม้ที่อาจจะเป็นภาพของ[[ซิโมเนตตา เวสพุชชิ]] (Simonetta Vespucci)
บรรทัด 22:
ภาพนี้ได้รับการตีความหมายกันไปต่างๆ ที่รวมทั้งความหมายทางการเมืองว่าความรักคือ[[โรม]], [[เทพีชาริทีส|ไตรเทพี]] (three Graces) คือ[[ปิซา]] [[เนเปิลส์]] และ [[เจนัว]], เมอร์คิวรีคือ[[มิลาน]], ฟลอราคือ[[ฟลอเรนซ์]], เมย์คือ[[มานตัว]], คลอริสและเซพไฟร์คือ[[เวนิส]]และ[[โบลซาโน]] (หรือ[[อเร็ซโซ]]และ[[ฟอร์ลิ]])
 
นอกจากความหมายต่างๆ ที่ว่าแล้วภาพนี้ก็ยังแสดงถึงธรรมชาติของความเป็นมนุษยชาติอย่างลึกซึ้ง เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมร่วมสมัยและเป็นการแสดงออกของเนื้อหาของวรรณกรรมคลาสสิคคลาสสิก
 
แหล่งข้อมูลหนึ่งของฉากที่เขียนอาจจะมาจากกวีนิพนธ์ “Fasti” โดย[[โอวิด]] ที่เป็นโคลงที่บรรยายปฏิทินเทศกาลของ[[โรมันโบราณ]] สำหรับเดือนพฤษภาคมฟลอราเล่าว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นนิมฟ์[[คลอริส]]และหายใจออกมาเป็นดอกไม้ พระพายเซพไฟร์หลงไหลในความงามของ[[คลอริส]]ก็ติดตามและเอาเป็นภรรยา และประทานสวนที่งดงามที่เป็นสวนแห่งฤดูใบไม้ผลิตลอดกาลให้
 
บอตติเชลลีเขียนภาพนี้เป็นสองฉากจากคำบรรยายของโอวิด ฉากแรกเป็นพระพายเซพไฟร์ไล่ตามคลอริสและการแปลงของคลอริสเป็นฟลอรา ที่ทำให้เสื้อผ้าของเทพีทั้งสองค์ที่ดูเหมือนจะไม่เห็นกันถูกโบกไปคนละทาง ฟลอรายืนอยู่ข้างวีนัสโปรยกลีบกุหลาบที่เป็นดอกไม้ของเทพีแห่งความรัก นักเขียนคลาสสิคคลาสสิก[[ลูเครเชียส]]บรรยายไว้ในโคลงคำสอนปรัชญา “De Rerum Natura” ที่สรรเสริญเทพีทั้งสององค์ในฉากฤดูใบไม้ผลิฉากเดียว โคลงนี้บรรยายถึงวีนัส, คิวปิด, เซพไฟร์, ฟลอรา ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในภาพที่บอตติเชลลีวาด ซึ่งทำให้สันนิษฐานกันว่าโคลงนี้เป็นแหล่งข้อมูลหลักของภาพ
 
[[เอิร์นสต์ กอมบริค]] (Ernst Gombrich) ค้านความสัมพันธ์ระหว่างโคลงของ[[ลูเครเชียส]]กับภาพนี้ว่าเป็นงานของ[[ลูเครเชียส]]เป็นงานที่หนักไปทางปรัชญาที่ไม่น่าจะดึงดูดจิตรกรให้ใช้เป็นแหล่งข้อมูล และสนับสนุนว่า “The Golden Ass” โดย[[อพูเลียส]] (Apuleius) ว่าน่าจะเป็นแหล่งข้อมูลของภาพมากกว่า ที่เป็นโคลงที่บรรยายภาพเขียนที่หายไปอย่างละเอียด และเป็นงานนี้ก็เป็นที่นิยมใช้เป็นแรงบันดาลใจในบรรดาศิลปินยุคเรอเนซองส์กันมาก โคลงของ[[อพูเลียส]]เป็นสัญลักษณ์ของทางเลือกของวีนัสในฐานะเทพีผู้มีความงามที่สุด ทางเลือกที่นำไปสู่[[สงครามเมืองทรอย]]ที่บรรยายโดย [[โฮเมอร์]] ใน “[[อีเลียด]]” สำหรับ[[มาร์ซิลิโอ ฟิชีโน]]ครูของโลเรนโซแล้ววีนัสเป็นสัญลักษณ์ของ “Humanitas” ฉะนั้นภาพเขียนจึงเป็นการเชิญชวนให้เลือกคุณค่าของ[[ลัทธิมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์]]