ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปีเตอร์ คาร์ล แฟเบอร์เช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 9:
ในบรรดาเหล่าช่างทอง แฟเบอร์เชกลายเป็นชื่อที่ผู้คนจะสนใจอันดับแรกๆนอกจากนั้นเขายังได้จ้างมิคาอิล เพอร์ชิน (Michael Perchin) ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องทองและเครื่องเคลือบที่มาช่วยและแนะนำวิธีการ ด้วยความใส่ใจและการทดสอบวิธีการในงานศิลป์ และเขายังร่วมกันศึกษาพยายามทดลองจำลองเทคนิคงานในศิลปะช่วงต้น และเขาก็ได้รับความสำเร็จถึงขนาดที่พระเจ้าซาร์ไม่สามารถตัดสินพระทัยแยกแยะได้ในชิ้นกล่องบรรจุยานัตถุ์ ระหว่างชิ้นต้นแบบ กับชิ้นที่เลียนแบบที่เฟอร์เบอร์เช่สร้างขึ้น และในที่สุดแฟเบอร์เชก็กลายเป็นช่างของราชสำนักโรมานอฟโดยความไว้วางพระทัยของพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่3 ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19
[[ไฟล์:Equestrian Egg.jpg|thumb|200px|ไข่อัญมณีแฟเบอร์เช]]
โรงงาน (Workshop) ของแฟเบอร์เชนั้นก็ล้วนเต็มไปด้วยช่างทองและช่างอัญมณีที่มีฝีมือดีสุดเท่าที่หาได้ในเวลานั้น แฟเบอร์เชไม่ได้ทำเพียงแค่พวกงานไข่อีสเตอร์ที่เป็นตัวสร้างชื่อเสียงแก่ชื่อผลิตภัณฑ์ของเขาเท่านั้น ธุริกิจของเขายังแยกออกเป็นส่วนงานเล็กๆ อีกอย่างเช่น เครื่องโต๊ะเงิน อัญมณีประดับ ของกระจุกกระจิกเล็กๆ สไตล์ยุโรป งานแกะสลักสไตล์รัสเซีย โดยงานอัญมณีของแฟเบอร์เชนั้นก็ได้รับการออกแบบอย่างวิจิตรหรูหราประดับด้วยสิ่งมีค่าและสิ่งที่มีค่าค่อนข้างสูงอย่าง ทอง เงิน มาลาไคต์ ลาพิซ เลซูลี และเพชร โดยได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะในการตกแต่งสมัย[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส]] และพระเจ้าหลุยส์ที่16 ศิลปะแบบคลาสสิคคลาสสิก เรเนสซองค์ [[ศิลปะบาโรก|บาโรก]] [[ศิลปะโรโคโค|โรโคโค]] และ อาร์ทนูโว รวมทั้งอิทธิพลจาศิลปะของรัสเซียด้วย ซึ่งลวยลายในงานของแฟเบอร์เชจะแบ่งออกเป็นทั้งกลุ่มลวดลายดอกไม้ กลุ่มลวดลายสลัก และกลุ่มลวดลายสัตว์ นอกจากนั้นแล้วผลงานเลื่องชื่ออย่างไข่อีสเตอร์ก็เป็นที่หมายปองของเหล่างราชวงศ์โรมานอฟ รวมทั้งราชวงศ์ในยุโรปและเอเชีย โดยมีช่างระดับชั้นครูอย่างมิคาอิล อีวลามพีเยวิช เพอร์ชิน (Michael Evlampievich Perchin) และเฮนริค วิคสโตรม (Henrik Wigström) มารับผิดชอบด้วย โดยตัวงานของแฟเบอร์เชที่รับผิดชอบโดยมิคาอิล เพอร์ชิน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1886 จนถึงค.ศ. 1903 จะได้รับการประทับตราMP ส่วนงานที่รับผิดชอบโดย เฮนริค วิคสโตรม จะได้รับการประทับตราHW ในตัวงานเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางชิ้นในงานไข่อีสเตอร์ที่ไม่ได้รับการประทับตรา ซึ่งธุรกิจของแฟเบอร์เชนั้นเติบโตเป็นอย่างมาก กิจการของฟาเปอร์เช่ขยายไปอย่างรวดเร็วจากสาขาเดียวที่เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ก็ขยายไปยังมอสโกในปีค.ศ. 1887 และขยายกิจการไปยังเมืองเคียฟ โอเดซซา และลอนดอนในปีค.ศ. 1906
ผลงานที่งดงามที่ออกมาราวกับร่ายด้วยเวทมนตร์ก็ได้ยุติลงเมื่อมีการปฏิวัติเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1917 รัฐก็ยึดงานและโรงงานกลับคืนมาเป็นของรัฐในช่วงต้นค.ศ. 1918 แฟเบอร์เชนั้นก็ได้ลี้ภัยออกไปยังฟินด์แลนด์โดยการช่วยเหลือของคนในสถานทูตอังกฤษ และย้ายมาสู่เมืองวิย์สบาเดน ในเยอรมนีในปีค.ศ. 1920 ในปีเดียวกันนั้นเอง ปีเตอร์ คาร์ล แฟเบอร์เช ก็ได้เสียชีวิตที่เมืองลูเซิน ในสวิตเซอร์แลนด์ ภายหลังศพของเขาได้ฝังไว้เคียงข้างออกุสตา อกาธอน แฟเบอร์เช (Augusta Agathon Faberge) ภรรยาอันเป็นที่รักที่หนีรอดออกมาจากสหภาพโซเวียตได้ในปี 1928 โดยฝังไว้ที่ Cimetière du Grand Jas ที่เมืองคาร์ล ในฝรั่งเศสด้วยวัย 74 ปี