ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไลพ์ซิช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 227:
** ''พิพิธภัณฑ์ศิลปประยุกต์'' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]:The GRASSI Museum of Applied Art of Leipzig หรือ [[ภาษาเยอรมัน|เยอรมัน]]:Kunstgewerbemuseum Leipzig) เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1874 และเป็นพิพิธภัณฑ์[[ศิลปประยุกต์]]ที่เก่าแก่เป็นอันดับสองในประเทศ[[เยอรมนี]]<ref>http://www.grassimuseum.de/info_en.html</ref> ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผลงานศิลปร่วมสมัยจากนานาชาติ และรวมไปถึงพื้นที่จัดแสดงที่นำผลงานศิลปประยุกต์จากพิพิธภัณฑ์อื่น ๆ หมุนเวียนมาจัดแสดงร่วมอีกด้วย
** ''พิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรี'' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]:the Museum of Musical Instruments หรือ [[ภาษาเยอรมัน|เยอรมัน]]:Museum für Musikinstrumente der Universität Leipzig) พิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรี เปิดแสดงครั้งแรกในปี [[ค.ศ. 1886]] ซึ่งดำเนินการโดยเอกชน ต่อมาในปี ค.ศ. 1905 เจ้าของเดิมพยายามขายพิพิธภัณฑ์นี้ให้แก่เมืองไลพ์ซิจ แต่การเจรจาไม่สำเร็จ จึงขายให้แก่ [[วิลเฮ็ลม เฮเยอร์]] (Wilhelm Heyer) ต่อมาภายหลังวิลเฮ็ลม เฮเยอร์ เสียชีวิต บุตรหลานของเขาจึงได้จำหน่ายพิพิธภัณฑ์นี้ให้แก่[[มหาวิทยาลัยไลพ์ซิจ]] ในปี ค.ศ. 1926 โดยในครั้งนั้นได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสหพันธรัฐ[[แซกโซนี]] และคหบดีของเมือง แต่ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] พิพิธภัณฑ์ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ของสะสมจำนวนมากทรุดโทรม และถูกขโมยไป จนกระทั่งในปี [[ค.ศ. 1950]] จึงได้มีการบูรณะอาคารพิพิธภัณฑ์ และรวบรวมของสะสมต่าง ๆ เพื่อเปิดดำเนินการพิพิธภัณฑ์อีกครั้ง<ref>http://mfm.uni-leipzig.de/_eng/WelcomeHome.php?navid=1</ref> ภายในพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องดนตรีของนักดนตรีชื่อดังของเมืองหลายท่าน และยังได้ยจัดแสดงองค์ประกอบของเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ อีกด้วย
** ''พิพิธภัณฑ์มนุษยวิทยามานุษยวิทยา'' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]:the Museum of Ethnographischen of Leipzig หรือ [[ภาษาเยอรมัน|เยอรมัน]]:Museum für Völkerkunde zu Leipzig) เริ่มดำเนินการในปี [[ค.ศ. 1869]] โดยรับซื้อของสะสมจำพวกเสื้อผ้า และเครื่องประดับจากนักสะสม เพื่อนำมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ หลังจากของสะสมกว่าหนึ่งในห้าถูกทำลายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมได้อีกครั้งในปี [[ค.ศ. 2005]] ณ พิพิธภัณฑ์กราสซี<ref>http://www.mvl-grassimuseum.de/site.php?g=start&css=fc&lang=en&zoom=0</ref> ในพิพิธภัณฑ์ส่วนนี้ จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ ทั่วโลก ผ่านเสื้อผ้า เครื่องประดับ การใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ และผลงานทางศิลปะ ที่แตกต่างกันของแต่ละชนชาติ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เนื้อที่มากที่สุดในพิพิธภัณฑ์กราสซีแห่งนี้
 
* '''โรงงานปั่นด้าย''' (Spinnerei) โรงปั่นด้ายเก่าของเมือง ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1863 ในยุคที่ค่าแรงในเยอรมันต่ำมาก และยังไม่มีการกำหนดชั่วโมงทำงานของแรงงาน เนื่องจากความต้องการผ้าฝ้ายในทวีปยุโรปมีอัตราการขยายตัวสูงมากในช่วงนั้น โรงงานปั่นด้านแห่งนี้จึงได้เติบโตอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1902 ได้กลายเป็นโรงงานปั่นด้ายผ้าฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป มีการนำวัตถุดิบ ได้แก่ ฝ้าย เข้ามาจากทวีปแอฟริกา โดยมีโรงงานปั่นด้ายกว่า 6 โรงงาน มีกำลังการผลิตสูงถึง 240,000 แกนด้ายต่อปี และยังมีอาคารที่พักสำหรับคนงาน อาคารโรงเรียน โรงรับเลี้ยงเด็ก สนามเด็กเล่น โรงอาหาร ไว้บริการพนักงานอีกด้วย โรงงานดังกล่าวดำเนินงานมาจนกระทั่งช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสหภาพโซเวียตเข้าปกครองเยอมรมนีตะวันออก ได้มีการนำเครื่องจักรบางส่วนออกไป แต่ตัวโรงงานยังคงดำเนินงานจนกระทั่งทศวรรษที่ 1980 จึงได้เลิกการผลิตไปทั้งหมด เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างมาก ต่อมาจึงได้พัฒนาพื้นที่นี้เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปะร่วมสมัย และปัจจุบันได้ดัดแปลงเป็นอาคารที่พักอาศัย สำนักงานสำหรับศิลปิน สถาปนิก สถาบันสอนเต้นรำ และสถานที่จัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยแขนงต่าง ๆ มีการจัดเทศกาลเปิดแสดงผลงานของศิลปินในพื้นที่โครงการให้นักท่องเที่ยว และผู้สนใจเข้าชมฟรี ปีละ 3 ครั้ง