ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้านรสีหบดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
cleanup
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 14:
:พระเจ้านรสีหบดีเป็นกษัตริย์ผู้ไร้ความสามารถอย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเรื่องการปกครองบริหารภายในราชอาณาจักรหรือกิจการกับต่างชาติ เฉกเช่นพระราชบิดาและพระอัยกาบุพกษัตริย์ทั้งสองก่อนหน้าพระองค์ พระองค์ล้มเหลวในการจัดการพระราชทรัพย์และบริหารท้องพระคลังซึ่งร่อยหรอลงทุกปีๆ สืบเนื่องมาจากการยกเว้นภาษีที่ดินให้แก่ธรณีสงฆ์ นอกจากนี้เมื่อเปรียบกับพระอัยกา คือ พระเจ้ากะยอชวา([http://en.wikipedia.org/wiki/Kyaswa Kyawsawa]) ที่มักโปรดสร้างพระเจดีย์ขนาดเล็กมากกว่าที่จะบังคับเกณฑ์แรงงานมากมายแล้ว พระเจ้านรสีหบดีกลับมักโปรดที่จะสร้างพระเจดีย์อย่างหรูหราฟุ่มเฟือย เช่น มิงคละเจดีย์ ([http://en.wikipedia.org/wiki/Mingalazedi_Pagoda Mingalazedi Pagoda]) ที่บังคับเกณฑ์แรงงานจำนวนมาก จนผู้คนต่างก่นด่าสาปแช่ง โดยมีเสียงร่ำลือว่า "วันที่เจดีย์สร้างสำเร็จสิ้นนั้น จักเป็นวันถึงฆาตของกษัตริย์"<br />
 
:แต่เงาทมิฬที่แท้จริงของราชวงศ์พุกามและพระเจ้านรสีหบดีนั้นมิใช่เงาของเจดีย์ แต่คือเงาของผืนธงกองทัพมองโกลจากทางเหนือ ในช่วงเวลานั้นทัพมองโกลได้เข้ายึดมณฑล[[ยูนนาน]]ได้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1253 เมื่อมาถึงปีค.ศ. 1271 แม่ทัพเขตยูนนานภายใต้การนำของ[[กุบไลข่าน]]จักรพรรดิมองโกลในขณะนั้นได้ส่งทูตมาเจรจาเรียกร้องเครื่องบรรณาการกับพระเจ้านรสีหบดี แต่พระองค์ปฎิเสธปฏิเสธ แม้ทางมองโกลจะส่งทูตมาอีกครั้งในปีค.ศ. 1273 พระองค์ก็ยังทรงยืนกรานปฎิเสธปฏิเสธพร้อมกับสั่งประหารทูตมองโกลผู้นั้นเป็นเครื่องยืนยัน<br />
 
:ปีค.ศ. 1277 ทัพมองโกลได้เริ่มบุกเข้ามายังอาณาจักรพุกามเป็นครั้งแรก ฝ่ายพุกามได้พ่ายแพ้อย่างราบคาบในสมรภูมิ ศึกงาสะอองยาน ([http://en.wikipedia.org/wiki/Battle_of_Ngasaunggyan Battle of Ngasaunggyan]) สงครามได้ดำเนินต่อไปอีกหลายปี แม้ในปีค.ศ. 1284 จะมีการพยายามเจรจาทางการทูตจากฝ่ายพุกามโดยส่งราชทูตติสาปะโมกกะ (Dithapamoukka) ไปยังราชสำนักมองโกลของกุบไลข่านก็ตาม ก็ไม่เป็นผลแต่อย่างใด เมื่อล่วงเข้าปีค.ศ. 1287 กองทัพมองโกลภายใต้การนำโดยพระนัดดาของกุบไลข่าน บุกตะลุยยึดครองทั้งหมดของใจกลางอาณาจักรพุกาม พระเจ้านรสีหบดีเสด็จลี้ภัยไปทางใต้สู่เมืองแปรที่มีราชโอรสพระองค์รองสีหสุปกครองอยู่ แต่พระองค์ทรงเหลือจะคาดคิดได้ว่า สีหสุได้จับกุมตัวพระองค์ไว้และถวายโอสถพิษให้่ เพื่อที่จะมิต้องหลั่งพระโลหิตถึงธรณีด้วยคมดาบ <br />