ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตรีมูรติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZéroBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: ro:Trimurti
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
บรรทัด 10:
พระตรีมูรติ ตำนานของการกำเนิดแห่งของตรีมูรติมีกล่าวกันไว้หลายตำนานแตกต่างกัน และส่วนใหญ่มักเข้าใจกันว่าพระตรีมูรติเป็นภาครวมเทพเจ้าทั้งสามพระองค์ในร่างเดียวกัน เรียกว่า ทัตตาเตรยะ (Dattatreya) ทัตตา (Datta) แปลว่า การมอบให้พระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ ส่วน เตรยะ (treya) แปลว่า ผู้เป็นบุตรแห่งฤาษีอัตริหรือเตรยะ ซึ่งเป็นภาคอวตารของมหาเทพทั้งสาม หรือบางตำนานกล่าวว่าเป็นพระนารายณ์
ในตำนานนี้กล่าวว่า ณ เวลาหนึ่งมีฤาษีชื่อว่า อณิมาณฑวย (อะ-นิ-มาน-ดับ-วยะ) ฤาษีตนนี้กำลังนั่งสมาธิบำเพ็ญตบะอยู่ ขณะนั้นได้มีกลุ่มโจรกลุ่มหนึ่ง กำลังหนีเจ้าหน้าที่ของฝ่ายบ้านเมืองผ่านมาทางนั้นพอดี ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ตามมาอย่างกระชั้นชิดและเห็นฤาษีนั่งบำเพ็ญอยู่ สอบถามเรื่องใดๆฤาษีซึ่งกำลังอยู่ในฌานสมาธิจึงไม่ได้ปริปากพูดใดๆออกมาเลย จนฝ่ายเจ้าหน้าที่คิดว่าฤาษีตนนี้อาจเป็นโจร จึงได้จับตัวมาฤาษีลงโทษและถูกเจ้าเมืองแห่งนั้นสั่งให้ต้องโทษประหารชีวิต โดยเสียบด้วย[[ตรีศูล]]ไว้บนยอดเขาแต่ฤาษีซึ่งขณะนั้นยังไม่ตาย ได้มีสตรีชื่อว่า นางศีลวตี มีสามีชื่อ "อุครศรวัส" กำลังแบกสามีให้โดยให้ขี่คอของตน และเดินทางผ่านมาบริเวณเขาลูกนั้นโดยมีจุดหมายปลายคือหานาง อนุสูรยา อันเป็นเพื่อนรัก บังเอิญมีฝนตกหนักจนเป็นผลทำให้เดินทางยากลำบาก ฝ่ายสามีได้กล่าวโทษฤาษี (อณิมาณฑวย) ว่าเป็นต้นเหตุทำให้ฝนตกหนัก ฤาษีซึ่งยังไม่ตายได้ยินเข้า เกิดความไม่พอใจ แม้ฤาษีอยู่ภาวะใกล้ตาย แต่ก็แข็งใจสาปแช่งให้ศีรษะของอุครศรวัส (สามี) แตกเป็นเจ็ดเสี่ยงเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น แต่นางศีลวตีได้ยินคำสาปแช่งนั้นเข้า เกิความคิดไม่ยอมให้สามีเป็นเช่นคำสาปนั้น และได้ตั้งจิตอธิษฐานขออย่าให้พระอาทิตย์ขึ้นอีกเลย ซึ่งคำอธิษฐานนั้นได้ผล ทำให้[[พระอาทิตย์]]ไม่ขึ้นอีกเลย จึงเดือดร้อนกันไปทั่วทั้ง[[สามโลก]] เหตุการณ์ดังกล่าวล่วงไปถึง [[พระพรหม]] [[พระศิวะ]] [[พระนารายณ์]] แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ แต่แนวทางแก้มีอยู่ว่าต้องให้นางศีลวตีถอนคำอธิษฐาน เมื่อเป็นเช่นนั้นมหาเทพทั้งสามพระองค์จึงได้รีบเสด็จไปหานางอนุสูยาทันใด เพื่อบอกกล่าวให้นางไปอ้อนวอนนางศีลวตีเพื่อถอนคำอธิษฐานนั้น ในระหว่างที่มหาเทพทั้งสามไปพบนางอนุสูยา สามีของนางคือ "อรตี" ไม่อยู่ จากนั้นจึงได้ออกอุบายทำทีว่าขออาหารจากนาง ซึ่งนางยอมทำตามแต่โดยดี และฝ่ายมหาเทพทั้งสามมีเงื่อนไขว่านางจะต้องจัดอาหารไปให้โดยปราศจากเสื้อผ้าอาภรณ์ ซึ่งในสมัยนั้นเชื่อกันว่าหญิงใดเปลื้องเสื้อผ้าอาภรณ์ต่อหน้าผู้อื่นที่ไม่ใช่สามีตน จะถูกกล่าวหาเป็นผู้ภรรยาผู้ไม่มีความซื่อสัตย์ แต่นางก็ไม่อยากผิดคำสัญญาที่ให้ไว้แต่ต้น และคำอ้อนวอนหรือขอร้องนี้ดูแปลกประหลาดย่อมมิใช่คนธรรมดาแน่นอน หรืออาจเป็นกลลวง เมื่อคิดได้เช่นนั้นนางจึงนึกถึงสามีตน และตั้งจิตอธิษฐานว่าสิ่งที่นางได้กระทำไปนั้น ไม่ใช่ทำเพื่อการยั่วยวนหรือฝักใฝ่กามราคะ เมื่อทั้งมหาเทพทั้งสามพระองค์ร้องขอออกมาว่า "โอ้มาตา โปรดให้อาหารแก่เราเถอะ" ทำให้นางตัดสินใจคิดเสียว่าทั้งมหาเทพทั้งสามพระองค์คือ บุตรของนาง ด้วยมีใจเมตตานางจึงถอดเสื้อผ้าออก ทันใดนั้นมหาเทพทั้งสามพระองค์ ก็กลายร่างเป็นทารกน้อยทั้งสามพระองค์ นางอนุสูยาจึงได้ให้ให้น้ำนมและอาหารแก่ทารกน้อยนั้นจนอิ่มแล้วหลับในที่สุด ฝ่ายสามีของนางอนุสูยาเมื่อกลับมาและรับทราบเรื่องราวแล้วจึงเข้าไปดูและปลุกทารกเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อชื่นชม ทันใดนั้นทารกน้อยทั้งสามก็กลายร่างเป็นมหาเทพทั้งสามเหมือนเดิม และทั้งสามพระองค์ได้ทรงชื่นชมนางที่มีจิตใจเมตตา และขอร้องให้นางอนุสูยาไปบอกกล่าวแก่นางศีลวตี เพื่อให้ถอนคำอธิษฐานไม่ให้พระอาทิตย์ขึ้นนั้น และสามีของนาง (อุครศรวัส) ก็จะไม่ตายตามคำสาปแช่งของฤาษีตนนั้น ฝ่ายนางศีลวตีเมื่อได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้วได้ยินยอมถอนคำอธิษฐานนั้น เมื่อเสร็จภาระกิจภารกิจแล้วมหาเทพทั้งสาม ได้ถามแก่นางอนุสูยาว่าต้องการขอพรสิ่งใดจากพระองค์ ซึ่งนางได้ทูลขอให้มหาเทพทั้งสามพระองค์มาเกิดเป็นบุตรของนางในภายภาคหน้า แล้วนางก็ได้รับพรนั้นตามคำขอ หลังจากนั้น[[พระนารายณ์]]ได้มาเกิดเป็นพระทัตตาเตรยะ [[พระศิวะ]]มาเกิดเป็นทุรวาสัส ส่วน[[พระพรหม]]ได้เกิดเป็นพระจันทร์<ref name = tumnandd/><ref name="tungsaan">[http://www.tungsaan.com/index.php?option=com_content&view=article&id=157:%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81&catid=90 พระตรีมูรติเทพแห่งความรัก]</ref>
 
== ความเชื่อในประเทศไทย ==