ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศมอนเตเนโกร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 67:
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กษัตริย์มอนเตเนโกร โดยพระเจ้านิโคลัสที่ 1 แห่ง[[ราชวงศ์นีเยกอช]] ทรงพยายามปลดแอกประเทศจากการอยู่ใต้อำนาจการปกครองของจักรวรรดิออตโตมันหลายครั้ง ซึ่งในที่สุดแล้วเมื่อปี [[พ.ศ. 2421]] (ค.ศ. 1878) รัสเซียซึ่งได้ทำสงครามกับ[[จักรวรรดิออตโตมัน]]ได้รับชัยชนะและส่งผลให้มีการตกลง[[สนธิสัญญาซานสเตฟาโน]] ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้รัสเซียมีอิทธิพลมากขึ้นในกลุ่มรัฐบอลข่าน อังกฤษและ[[ออสเตรีย-ฮังการี]]จึงคัดค้านและนำไปสู่[[การประชุมใหญ่แห่งเบอร์ลิน]] เพื่อทบทวนสนธิสัญญาซานสเตฟาโนและจัดทำ[[สนธิสัญญาเบอร์ลิน]]ขึ้นแทน ซึ่งสนธิสัญญฉบับนี้ส่งผลให้มอนเตเนโกรได้รับดินแดนเพิ่มเติมพร้อมเป็นเอกราชจากออตโตมัน
 
[[Image:Montenegro1913.png|thumb|left]]
ความผันผวนทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน และกระแสชาตินิยมจากการเคลื่อนไหวของขบวนการอุดมการณ์รวมกลุ่มสลาฟ (Pan-Slavism) ได้นำไปสู่การเกิด[[สงครามบอลข่าน]]สองครั้ง ระหว่างปี ค.ศ. 1912-1913 สงครามบอลข่านครั้งแรกเป็นสงครามระหว่างสันนิบาตบอลข่านซึ่งประกอบด้วยประเทศกรีซ บัลแกเรีย เซอร์เบีย และมอนเตเนโกร กับจักรวรรดิออตโตมันซึ่งผลที่ออกมาคือชัยชนะของสันนิบาต ส่งผลให้ทางออตโตมันต้องสูญเสียดินแดนในยุโรปเกือบทั้งหมด พร้อมยอมให้มีการจัดตั้งประเทศแอลเบเนียขึ้น แต่เนื่องด้วยความไม่พอใจของเซอร์เบียและมอนเตเนโกรเพราะต้องการผนวกดินแดนชายฝั่งของแอบเบเนียเพื่อเป็นทางออกทะเล และความไม่พอใจของบัลแกเรียที่ได้เห็นว่าเซอร์เบียได้รับผลประโยชน์มากกว่า บัลแกเรียจึงเปิดฉากสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1913 แต่ผลออกมาคือการพ่ายแพ้ของบัลแกเรีย ส่งผลให้เซอร์เบียและมอนเตเนโกรได้รับดินแดนเพิ่มเติมอีกประมาณหนึ่งเท่าของพื้นที่เดิมของประเทศ
 
[[Image:Montenegro1913.png|thumb|left]]
ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] มอนเตเนโกรได้เข้าสนับสนุน[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]]ในการทำสงครามกับ[[ฝ่ายมหาอำนาจกลาง]] แต่ด้วยกองกำลังที่เล็กเพียงประมาณ 5 พันคน กองกำลังมอนเตเนโกรจึงประสบความพ่ายแพ้ต่อกองทัพออสเตรีย-ฮังการี
 
เมื่อวันที่ [[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2461]] (ค.ศ. 1918) มอนเตเนโกรได้ตัดสินใจรวมประเทศเข้ากับ[[ราชอาณาจักรเซอร์เบีย]] ซึ่งในขณะนั้นเป็นแกนนำสำคัญในการรวมชนเชื้อสายสลาฟใต้เข้าด้วยกันหลังสงครามยุติและสถาปนา "[[ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน]]" ขึ้น โดยมี[[สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย]] แห่งราชวงส์คาราจอร์เจวิชเป็นประมุขแห่งรัฐ แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1924 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ทรงประกาศยุบสภาและปกครองด้วยระบอบเผด็จการ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ''"ยูโกสลาเวีย"'' แต่ด้วยความไม่พอใจของชนชาติต่าง ๆ ในการปกครองแบบเผด็จการของพระองค์ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 จึงถูกลอบปลงพระชนม์โดยพวกโครแอตชาตินิยมในขณะที่เสด็จฯเยือน ประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1934 เจ้าชายปีเตอร์ที่ 2 พระราชโอรสวัย 11 ชันษาจึงเสด็จขึ้นครองบัลลังก์แทน
 
[[ไฟล์:Kralj aleksandar1.jpg|พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 |thumb|200px|leftright]]
ระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ยูโกสลาเวียถูกนานาประเทศเข้ายึดครอง [[ยอซีป บรอซ ตีโต|ยอซีป บรอซ]] (Josip Broz) หรือตีโต (Tito) ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวียจึงได้ก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติเพื่อปลดปล่อยประเทศออกจากการยึดครอง ซึ่งในที่สุดก็สามารถปลดแอกตนเองออกมาได้ ส่วนตีโตนั้นได้รับการสนับสนุนให้เป็นผู้นำประเทศ ซึ่งเขาก็ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบ[[สังคมนิยม]]แบบ[[สหภาพโซเวียต]]วันที่ [[31 มกราคม]] [[พ.ศ. 2489]] (ค.ศ. 1946) และเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่เป็น ''“สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย”'' ซึ่งประกอบด้วย 6 รัฐ กล่าวคือ สโลวีเนีย โครเอเชีย เซอร์เบีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร และมาซิโดเนีย และอีก 2 จังหวัดปกครองตนเอง คือ [[คอซอวอ]]และ[[วอยวอดีนา]] และถึงแม้ว่ามอนเตเนโกรจะรวมตัวอยู่กับยูโกสลาเวียซึ่งมีการปกครองในระบอบสังคมนิยม แต่มอนเตเนโกรก็มีอำนาจการปกครองภายในอย่างสมบูรณ์